Executive Summary
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน พ.ย. 62 ขยายตัวร้อยละ 0.21 และ 0.47 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ต.ค. 62 เกินดุล 2,905.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ต.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ต.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ย. 62 หดตัวร้อยละ -3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน พ.ย. 62 หดตัวที่ร้อยละ -6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน
- ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมของ ม.หอการค้าไทย ในเดือน พ.ย. 62 ปรับตัวลดลงจากระดับ 57.9 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 56.4
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ต.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 41.0 ของ GDP
- GDP ของเกาหลีใต้ ในไตรมาสที่ 3 ปี 62 (ปรับปรุง) ขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ของออสเตรเลีย ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน พ.ย. 62 สูงขึ้นร้อยละ 0.21 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากราคาในหมวดพลังงาน ที่หดตัวร้อยละ -4.7 หดตัวลดลงจากเดือนก่อนที่หดตัว ร้อยละ -7.5 ขณะที่ราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอร์ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 1.5 จากราคาข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ ไข่ และผลิตภัณฑ์นม ที่ปรับตัวสูงขึ้น เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ขยายตัวที่ร้อยละ 0.47 ทั้งนี้ เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 11 เดือนแรกของปี 2562 สูงขึ้นร้อยละ 0.69
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ต.ค. 62 เกินดุล 2,905.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนที่เกินดุล 3,530.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลการค้า (ตามระบบ BOP) เกินดุลลดลงมาอยู่ที่ 2,090.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่ามูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุลที่ 815.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า ตามรายรับจากภาคการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 10 เดือนแรกของปี 62 เกินดุลรวม 29,312.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ต.ค. 62 มียอดคงค้าง 18.1 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) โดยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์และสินเชื่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อ พบว่าสินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ 0.7 และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ต.ค. 62 มียอดคงค้าง 20.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.05 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 4.3 ขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ย. 62 เท่ากับ 104.7 หดตัวร้อยละ -3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการหดตัวของดัชนีหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ร้อยละ -16.5 ต่อปี จากราคาวัตถุดิบที่ปรับลดลงทั้งภายในและภายนอกประเทศ ประกอบกับความต้องการใช้งานลดลง โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างของภาครัฐในปีงบประมาณ 2563 ที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณางบประมาณ ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์ซีเมนต์หดตัวร้อยละ -0.2 ต่อปี จากความต้องการลดลง สอดคล้องกับยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 ทำให้ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 62 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างหดตัวร้อยละ -1.2 ต่อปี
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนพ.ย. 62 กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวที่ร้อยละ -9.0 โดยเป็นการหดตัวในเขตภูมิภาคร้อยละ -8.4 เป็นสำคัญ ขณะที่เขต กทม. หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -1.7 ทั้งนี้ ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาส 4 ปี 62 ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ หดตัวที่ร้อยละ -2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมของ ม.หอการค้าไทย ในเดือน พ.ย. 62 ปรับตัวลดลงจากระดับ 57.9 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 56.4 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 และเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่จัดเก็บข้อมูลในปี 2551 โดยปัจจัยบวกที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ได้แก่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนลง ขณะที่ปัจจัยลบ ได้แก่ การหดตัวของส่งออกไทย การประกาศตัวเลข GDP ที่ต่ำกว่าคาด ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ และความกังวลในสงครามการค้าและปัญหา Brexit
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ต.ค. 62 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,880.1 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.0 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างลดลงสุทธิ 21.7 พันล้านบาท ทั้งนี้สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาวโดยแบ่งตามอายุคงเหลือ คิดเป็นร้อยละ 91.2 ของยอดหนี้สาธารณะ และเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 97.2 ของยอดหนี้สาธารณะ
Global Economic Indicators: This Week
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 48.1 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า จากดัชนีหมวดย่อยด้านการเปลี่ยนแปลงของสินค้า คงคลังและการสั่งซื้อใหม่สำหรับการส่งออกที่ลดลงเป็นสำคัญ ด้าน PMI ภาคบริการ เดือน พ.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 53.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเช่นกัน จากดัชนีหมวดย่อยด้านกิจกรรมทางธุรกิจที่ลดลงเป็นสำคัญนอกจากนี้ มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 62 หดตัวร้อยละ -3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ต.ค. 62 หดตัวสูงถึงร้อยละ -7.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ระดับจากการนำเข้าสินค้าจากจีนที่หดตัวถึง -23.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าในเดือน ต.ค. ที่ -4.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนีฯ (PMI)ภาคอุตสาหกรรม(Caixin) เดือน พ.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 51.8 จุด ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า จากดัชนีย่อยในหมวดธุรกิจใหม่ขยายตัวดีขึ้น ในขณะที่ ดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการ (Caixin) เดือน พ.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 53.2 จุด ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เร่งขึ้นในอัตราสูง เนื่องจากยอดสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น
PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 46.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 45.9 จากปัจจัยความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นเป็น.สำคัญ ด้าน PMI ภาคบริการ เดือน พ.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 51.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 52.2 จากการบริการภาคการส่งออกที่ลดลง ด้านยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากสินค้าทุกประเภทยกเว้นหมวดอาหารที่ขยายตัวชะลอลง
มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ -6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -8.7 หดตัวตัวต่ำเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 ทำให้เกินดุลการค้าที่ 4.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 62 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 โดยราคาสินค้าเกือบทุกหมวดลดลงยกเว้นหมวดอาหารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 48.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 49.6 จากผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ลดลง ด้าน PMI ภาคบริการ เดือน พ.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 49.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 50.0 จากอุปสงค์ต่างประเทศที่ลดลง
ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 62 หดตัวร้อยละ -24.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -18.2 โดยดัชนีย่อยหมวดเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่งหดตัวถึง ร้อยละ -36.9 ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 38.5 จุดปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 39.3 โดยดัชนีย่อยหมวดยอดขายใหม่หดตัวสูงที่สุดในรอบ 11 ปี
ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 62 ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 48.9 จุด ดัชนีย่อยหมวดผลผลิตและยอดคำสั่งซื้อสินค้าใหม่หดตัวลงเล็กน้อย อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 62 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.4 โดยราคาสินค้าหมวดอาหารปรับตัวสูงขึ้น
GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 62 (ปรับปรุง) ขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 62 อยุ่ที่ระดับ 49.4 จุด เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจากดัชนีย่อยในหมวดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เร่งขึ้น ขณะที่ยอดสั่งซื้อใหม่ชะลอลง อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 62 อยู่ที่ร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 62 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 โดยราคาสินค้าส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น ยกเว้นประเภทอาหาร การขนส่ง และไฟฟ้าที่ลดลง ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 62 หดตัวร้อยละ -4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าจากการผลิตเครื่องดื่ม และเครื่องจักรไฟฟ้าที่หดตัว
GDP ณ ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 48.1 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 51.6 จุด ด้านดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน พ.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 53.7 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 54.2 จุด นอกจากนี้มูลค่าส่งออก เดือน พ.ย. 62 หดตัวร้อยละ -5.1 จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่มูลค่านำเข้าทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้เกินดุลการค้า 4.5 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ซึ่งลดลงร้อยละ 34.2 จากเดือนก่อนหน้า และเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 62 ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.75 ต่อปี ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 51.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 50.6 จากดัชนีในหมวดยอดสั่งซื้อใหม่และผลิตภัณฑ์ที่เร่งขึ้น ด้านดัชนีPMI ภาคบริการ เดือน พ.ย. 62 อยู่ที่ระดับ 52.7 จุด เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 49.2 จุด จากดัชนีในหมวดธุรกิจใหม่และยอดการส่งออกที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ และธนาคารกลางอินเดียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 5.15 ต่อปี
ดัชนี SET ในสัปดาห์นี้โดยรวมปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ ดัชนี SET ณ วันที่ 4 ธ.ค. 62 ปิดที่ระดับ 1,565.45 จุด ด้วยมูลค่า ซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 2 - 4 ธ.ค. 62 ที่ 47,955 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์และนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนทั่วไปในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ สำหรับในสัปดาห์หน้ายังคงต้องติดตามผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ ในวันที่ 10-11 ธ.ค. 62 ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือไม่ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 2 - 4 ธ.ค. 62 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -5,125 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทุกช่วงอายุปรับลดลง 3-10 bps จากสัปดาห์ก่อน โดยในสัปดาห์นี้มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 15 ปี และ 30 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจถึง 2.31 และ 3.22 เท่าของวงเงินประมูล ตามลำดับ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 2-4 ธ.ค. 62 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 7,604 ล้านบาท
เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 4 ธ.ค. 62 เงินบาทปิดที่ 30.29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.19 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ อาทิ เงินวอนและเงินหยวน ขณะที่สวนทางกับเงินสกุลหลักหลายสกุล อาทิ เงินเยน ยูโร ริงกิต และดอลลาร์สิงคโปร์ ที่แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ หลายสกุล ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.30
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง