Executive Summary
- ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมของม.หอการค้าไทย ในเดือน ม.ค. 63 ปรับตัวลดลงจากระดับ 56.0 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 54.9
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 41.2 ของ GDP
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ม.ค. 62 สูงขึ้นร้อยละ 1.05 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือน ม.ค. 63 สูงขึ้นร้อยละ 0.47 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ม.ค. 63 หดตัวที่ ร้อยละ -2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ธ.ค. 62 เกินดุล 4,108.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ธ.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ธ.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ม.ค. 63 หดตัวร้อยละ -1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- GDP ของฮ่องกง ไตรมาสที่ 4 ปี 62 (เบื้องต้น) หดตัวร้อยละ -3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมของ ม.หอการค้าไทย ในเดือน ม.ค. 63 ปรับตัวลดลงจากระดับ 56.0 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 54.9 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 โดยผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาจากจีน อาจส่งผลกระทบในเชิงลบอย่างมากต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในอนาคต ทั้งภาคการท่องเที่ยวภาคการส่งออก และกำลังซื้อภายในประเทศ นอกจากนี้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ล่าช้าออกไป และปัญหาภัยแล้งอาจเป็นปัจจัยลบที่ซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยในอนาคต ประกอบกับราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ยังคงเป็นตัวบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวม และความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางการเมืองไทยในอนาคตยิ่งบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 62 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,953,937 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.2 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 8,588 ล้านบาท ทั้งนี้สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาวโดยแบ่งตามอายุคงเหลือ คิดเป็นร้อยละ 92.0 ของยอดหนี้สาธารณะ และเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 97.3 ของยอดหนี้สาธารณะ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือน ม.ค. 62 สูงขึ้นร้อยละ 1.05 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันในอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 8 เดือน และกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของประเทศอีกครั้ง โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของหมวดอาหารสด เช่น ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ และการกลับมาขยายตัวอีกครั้งในรอบ 9 เดือน ของหมวดพลังงาน โดยราคาน้ำมันดิบดูไบในเดือน ม.ค. 63 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ เมื่อหักราคาอาหารสดและพลังงาน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือน ม.ค. 63 สูงขึ้นร้อยละ 0.47
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนม.ค. 63 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 9.2 โดยเป็นการหดตัวทั้งในเขตภูมิภาคร้อยละ -2.1 และเขต กทม. หดตัวที่ร้อยละ -1.7 เนื่องจากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ธ.ค. 62 เกินดุล 4,108.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุล 3,375.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุลที่ 2,219.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP) เกินดุลลดลงมาอยู่ที่ 1,889.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่าการส่งออกที่ลดลงมากกว่ามูลค่าการนำเข้าที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 62 เกินดุลรวม 37,307.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ธ.ค. 62 มียอดคงค้าง 18.3 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหดตัวร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) โดยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ในขณะที่สินเชื่อในสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้น เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อ พบว่าสินเชื่อเพื่อธุรกิจหดตัวที่ร้อยละ -0.8 และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ธ.ค. 62 มียอดคงค้าง 20.4 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.1 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 4.1 และเงินฝากสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ม.ค. 63 เท่ากับ 105.4 หดตัวร้อยละ -1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 โดยมีสาเหตุสำคัญ มาจากการหดตัวของดัชนีหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ที่หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 ร้อยละ -8.5 ต่อปี จากราคาวัตถุดิบที่ปรับลดลง และมีการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศมาจำหน่ายเป็นปริมาณมาก ทั้งนี้ สถานการณ์ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในช่วงต้นปี 2563 ยังคงหดตัวตามแรงกดดันของเศรษฐกิจในประเทศ และความล่าช้าของการเบิกจ่ายงบประมาณ พ.ศ. 2563 อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะเริ่ม มีสัญญาณที่ดีขึ้นจากการส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรามาตรการผ่อนคลายการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Loan To Value : LTV) น่าจะเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยสนับสนุนภาคการก่อสร้างในประเทศให้ดี
Global Economic Indicators: This Week
มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 62 กลับมาขยายตัวร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากการส่งออกสินค้าในหมวดวัสดุอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น ขณะที่มูลค่าการนำเข้า ยังหดตัวที่ร้อยละ -2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวน้อยลงจากเดือนก่อนหน้า จากการนำเข้าสินค้าในทุกหมวดที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะหมวดวัสดุอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้ขาดดุลการค้าที่ 6.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ด้านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม (ISM) เดือน ม.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 45.7 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 43.3 จุด จากดัชนีย่อยในหมวดคำสั่งซื้อใหม่และหมวดการส่งออกที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 49.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อนจากดัชนีย่อยหมวดยอดคำสั่งซื้อใหม่และการส่งออกที่ลดลง
GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากอัตราการขยายตัวในไตรมาสที่ 3 ปี 62 โดยเป็นการชะลอลงจากการส่งออก ส่งผลให้ทั้งปี 62 เศรษฐกิจอินโดนีเซียขยายตัวร้อยละ 5.02 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ม.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 121.7 จุด ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 126.4 จุด จากความเชื่อมั่นที่ลดลงทั้งหมด โดยเฉพาะความเชื่อมั่นในเรื่องการจ้างงาน และรายได้
ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 47.9 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 46.3 จุด จากความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้น ด้านยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากหมวดอาหารและเครื่องดื่ม คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เป็นสำคัญ
ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 50.0 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 47.5 จุด จากคำสั่งซื้อใหม่และความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้น ด้านดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการ เดือน ม.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 53.9 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.0 จุด จากคำสั่งซื้อใหม่ทีเพิ่มมากขึ้น
มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 62 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากสินค้าประเภทสินแร่โลหะ แร่ธาตุ และเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันปีกอ่น จากสินค้าประเภท อุปกรณ์ขนส่งอุตสาหกรรมและอุปกรณ์ขนส่งที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกินดุลการค้า 5.2 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 63 ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.75 ต่อปี ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3
ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 49.8 จุด ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 50.1 จุด โดยการผลิตปรับตัวลดลงเล็กน้อย
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.7
GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 62(เบื้องต้น) หดตัวร้อยละ -3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 63 หดตัวร้อยละ -19.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยยอดขายสินค้าหมวดเสื้อผ้าและรองเท้าหดตัวชะลอลง
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการเดือน ม.ค. 63 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 55.3 จุด และ 55.5 จุด ตามลำดับ ส่งผลให้ดัชนี PMI รวมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 56.3 จุด เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 63 ธนาคารกลางอินเดียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 5.15 ต่อปี ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2
ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 51.8 จุด ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 50.8 จุด โดยการผลิตและคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ขยายตัวเร่งขึ้น
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยราคาสินค้าหมวดเสื้อผ้าปรับตัวสูงขึ้น
ดัชนี PMI เดือน ม.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 50.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 50.8 จากยอดผลผลิตที่ลดลง
ดัชนี PMI เดือน ม.ค. 62 อยู่ที่ระดับ 47.9 จุด ยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องจากยอดคำสั่งซื้อและผลผลิตที่ลดลง มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกเกือบทุกหมวดที่เพิ่มขึ้โดยเฉพาะเครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่งขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 0.9 เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -3.6 ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากการผลิตเหมืองแร่ และไฟฟ้าที่ลดลง
ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 63 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ระดับ 52.1 จุด จากผลผลิต และยอดคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยระดับราคาในหมวดอาหาร ไฟฟ้า ก๊าซ และเชื้อเพลิงอื่นๆที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 62 หดตัวร้อยละ -9.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลงจากเดือนก่อนหน้า จากสินค้าจากน้ำมัน และอาหารที่ลดลง เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 63 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.75 ต่อปี ถือเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 ตั้งแต่มีนโยบายผ่อนคลายด้านการเงิน
ดัชนี SET ในสัปดาห์นี้โดยรวมปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน ดัชนี SET ณ วันที่ 6 ก.พ. 63 ปิดที่ระดับ 1535.79 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 3 - 6 ก.พ. 63 ที่ 62,174.94 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนทั่วไปในประเทศเป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 3 - 6 ก.พ. 63 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -5,300 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเกือบทุกช่วงอายุปรับลดลง 6-12 bps จากสัปดาห์ก่อน โดยในสัปดาห์นี้ไม่มีการประมูลตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 3 - 6 ก.พ. 63 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 765.18ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 6 ก.พ. 63 เงินบาทปิดที่ 31.08 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.38 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สวนทางกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ อาทิ เงินเยน เงินยูโร ริงกิต วอน และดอลลาร์สิงคโปร์ที่อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.04
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง