Executive Summary
- ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ธ.ค. 62 คิดเป็น 1.88 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ม.ค. 63 หดตัวร้อยละ -5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- GDP ของสหราชอาณาจักร ไตรมาสที่ 4 (เบื้องต้น) อยู่ที่ร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- GDP ของมาเลเซีย ไตรมาสที่ 4 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ธ.ค. 62 คิดเป็น 1.88 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือนดังกล่าวอยู่ที่ 4.1 ล้านล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศใน เดือน ม.ค. 63 หดตัวร้อยละ -5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 ตามความต้องการใช้งานปูนซีเมนต์ในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวนัก และหากปรับผลทางฤดูกาลพบว่าหดตัวร้อยละ -0.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า อันเป็นผลจากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังคงหดตัว ความเชื่อมั่นของภาคเอกชนที่ยังคงไม่ฟื้นตัว และความล่าช้าของ พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 63 อย่างไรก็ตาม การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล จะเป็นตัวผลักดันให้การลงทุนด้านการก่อสร้างยังคงเติบโตได้
Global Economic Indicators: This Week
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.3 จากราคาในหมวดการคมนาคมที่ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 2.8 จากร้อยละ 1.9 ในเดือนก่อนหน้า
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.5 มาจากราคาสินค้าหมวดอาหารปรับตัวสูงขึ้น
ด้านผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ -3.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากสินค้ากึ่งสำเร็จรูป พลังงาน และสินค้าทุนเป็นสำคัญ
มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 62 ขยายตัวที่ร้อยละ 16.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากทุกหมวดสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ด้านมูลค่าการนำเข้า หดตัวที่ร้อยละ -5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากหมวดน้ำมันและภาคบริการเป็นสำคัญ ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 7.7 พันล้านปอนด์ด้านผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ -1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากสินค้ากึ่งสำเร็จรูปและสินค้าทุนเป็นสำคัญ ด้าน GDP ไตรมาสที่ 4 (เบื้องต้น) อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า
ยอดค้าปลีกเดือน ธ.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ -0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 โดยยอดขายสินค้าทุกหมวดลดลง ยกเว้นหมวดเชื้อเพลิงที่หดตัวน้อยลง
อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 จากกำลังแรงงานรวม เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
ยอดค้าปลีกเดือน ธ.ค. 62 หดตัวที่ร้อยละ -3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าจากสินค้าเกือบทุกประเภทที่ขยายตัวขึ้นยกเว้นสินค้าหมวดคอมพิวเตอร์ และรถจักรยานยนต์ที่ชะลอตัวลง
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 7.59 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยราคาสินค้าหมวด เชื้อเพลิงและแสงไฟและสินค้าเบ็ดเตล็ดปรับตัวสูงขึ้น ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 62 หดตัวร้อยละ -0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อน จากการผลิตคอมพิวเตอร์ และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดลง
GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 62 ขยายตัวร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) ขยายชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากการมูลค่าการส่งออกที่หดตัวส่งผลให้ทั้งปี 62 เศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัวร้อยละ 4.3 ชะลอลงมากจากปีก่อนยอดค้าปลีกเดือน ธ.ค. 62 ขยายตัวร้อยละ 7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อน โดยมียอดค้าส่งและจักรยานยนต์ที่ขยายตัวเร่งขึ้น
มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 62 ขยายตัวที่ร้อยละ 21.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยมูลค่าส่งออกสินค้าประเภทอาหาร และเครื่องดื่ม และผลไม้ประเภทมะพร้าวขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่มูลค่าการนำเข้า หดตัวร้อยละ -7.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยมูลค่านำเข้าสินค้าทุกหมวดหดตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ขาดดุลการค้าลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ -2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนี SET ในสัปดาห์นี้โดยรวมปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน ดัชนี SET ณ วันที่ 13 ก.พ. 63 ปิดที่ระดับ 1,532.77 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 11 - 13 ก.พ. 63 ที่ 53,590.77 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนทั่วไปในประเทศเป็น ผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 11 - 13 ก.พ. 63 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -2,337.97 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเกือบทุกช่วงอายุปรับลดลง 1-6 bps จากสัปดาห์ก่อน โดยในสัปดาห์นี้มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 15 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.32 เท่าของวงเงินประมูลทั้งนี้ระหว่างวันที่ 11 - 13 ก.พ. 63 มีกระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าจากตลาดพันธบัตรสุทธิ 3,072.16 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 13 ก.พ. 63 เงินบาทปิดที่ 31.15 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ 0.22 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สวนทางกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ อาทิ เงินเยน วอน และหยวนที่แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลง ร้อยละ 0.13
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง