Executive Summary
- ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมของ ม.หอการค้าไทย ในเดือน ก.พ. 63 ปรับตัวลดลงจากระดับ 54.9 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 52.5
- ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ม.ค. 63 คิดเป็น 1.80 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.พ. 63 หดตัวร้อยละ -1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- GDP ญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวร้อยละ -0.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมของ ม.หอการค้าไทย ในเดือน ก.พ. 63 ปรับตัวลดลงจากระดับ 54.9 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 52.5 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 20 ปี 11 เดือน นับตั้งแต่เดือน เม.ย. 42 เป็นต้นมา โดยผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบในเชิงลบอย่างมากต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในอนาคต ทั้งภาคการท่องเที่ยว การส่งออก และกำลังซื้อในประเทศ ขณะที่งบประมาณรายจ่ายปี 63 ที่ล่าช้า รวมทั้งปัญหาภัยแล้ง ยังเป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจไทย ขณะที่ปัจจัยบวก ได้แก่ การส่งออกกลับมาขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 6 เดือน และราคาน้ำมันในประเทศปรับตัวลดลง
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ม.ค. 63 คิดเป็น 1.80 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือนดังกล่าวอยู่ที่ 4.0 ล้านล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศใน เดือน ก.พ. 63 หดตัวร้อยละ -1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หากปรับผลทางฤดูกาล พบว่าขยายตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล รวมถึง พ.ร.บ.งบประมาณ ปีงบประมาณ 63 ที่มีผลบังคับใช้แล้ว ทำให้ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 63 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์หดตัวร้อยละ -3.5 ต่อปี
Global Economic Indicators: This Week
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 63 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า จากราคาในหมวดการขนส่งที่ลดลง
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 63 อยู่ที่ร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 63 หดตัวร้อยละ -1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากอุตสาหกรรมโลหะและถ่านหิน อาหารและเครื่องดื่มเป็นสำคัญ ธนาคารกลางยุโรปมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคาร อัตราดอกเบี้ยข้ามคืนที่ให้สถาบันการเงินกู้ยืม และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ใช้สำหรับการปล่อยสภาพคล่องให้ระบบธนาคาร ไว้ที่ร้อยละ -0.5 ร้อยละ 0.25 และร้อยละ 0.0 ตามลำดับ
GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 2562 (ตัวเลขปรับปรุง) หดตัวลงร้อยละ -0.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มาจากภาคการบริโภคที่หดตัวร้อยละ -1.8 และภาคการส่งออกที่หดตัวร้อยละ -2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นปี 2563 .ขยายตัวที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี
อัตราการว่างงาน เดือน ก.พ. 63 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นการปรับลดต่ำสุดในรอบ 6 เดือน
มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 11.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 16.6 มูลค่าการนำเข้าเดือน ม.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -7.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.8 จากทุกหมวดยกเว้นภาคบริการที่ลดลงเช่นเดียวกัน ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 4.2 พันล้านปอนด์ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 63 หดตัวร้อยละ -2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.9 จากหมวดพลังงานและสินค้าไม่คงทนที่หดตัวเร่งขึ้น GDP ปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 1.4 เร่งขึ้นจากปี 2561 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.3 ธนาคารกลางอังกฤษประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 0.75 ต่อปี
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.พ. 63 อยู่ที่ระดับ 117.7 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 121.7 จุดขณะที่ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.5 โดยสินค้าหมวดเสื้อผ้าที่ลดลงเป็นสำคัญ
อัตราการว่างงาน ไตรมาสที่ 4 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 ทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 เดือน ปัจจัยจากการขยายตัวของการผลิตวัตถุดิบขั้นต้นและเฟอร์นิเจอร์เป็นสำคัญ อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 63 อยู่ที่ร้อยละ 6.6 เป็นการปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าหมวดสิ่งทอ เครื่องแต่งกาย และเครื่องแต่งกาย ที่ลดลงเป็นสำคัญ ขณะที่ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าหมวดเชื้อเพลิงยานยนต์ที่ลดลงเป็นสำคัญ
มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อนลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายร้อยละ 22 มูลค่าการนำเข้า เดือน ม.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -8 ส่งผลให้ขาดดุลการค้าที่ 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 63 ขยายตัวร้อยละ 24.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 44.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ดัชนี SET โดยรวมปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน โดยวันที่ 12 มี.ค. 63 ปิดที่ระดับ 1,114.91 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 9 - 12 มี.ค. 63 ที่ 88,049.61 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และสถาบันในประเทศเป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 9 - 12 มี.ค. 63 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -17,088 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นปรับลดลง 4-7 bps ระยะกลางส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 3-8 bps ระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้น 5 - 17 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 และ 50 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.27 และ 2.22 เท่าของวงเงินประมูล ตามลำดับ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 9 - 12 มี.ค. กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -17,778 ล้านบาท
เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 12 มี.ค. 62 เงินบาทปิดที่ 31.57 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.33 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ อาทิ เงินหยวน เงินวอน ริงกิต และดอลลาร์สิงคโปร์ ขณะที่เงินเยน และเงินยูโร แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.30
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง