นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งจัดเก็บได้ 113,538 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 4,589 ล้านบาท ซึ่งส่งผลให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 - กุมภาพันธ์ 2551) สูงกว่าประมาณการ 6,243 ล้านบาท สรุปได้ ดังนี้
1. เดือนกุมภาพันธ์ 2551 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 113,538 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 4,589 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.2 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.5) เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และอากรขาเข้าสูงกว่าเป้าหมาย 1,901 1,166 และ 893 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.0 28.3 และ 13.5 ตามลำดับ อีกทั้งรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าเป้าหมายถึง 1,856 ล้านบาท หรือร้อยละ 41.5 เนื่องจากโรงงานยาสูบได้มีการทยอยส่งรายได้บางส่วน (ประมาณการนำส่งเดือนมีนาคม 2551) รวมทั้งได้รับผลตอบแทนจากกองทุนวายุภักษ์สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ด้วย
ในเดือนนี้กรมจัดเก็บภาษีทั้ง 3 กรมสามารถจัดเก็บรายได้ได้เกินเป้า อย่างไรก็ดี ภาษีน้ำมัน ภาษียาสูบ และภาษีธุรกิจเฉพาะ จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ จำนวน 752 747 และ 675 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.2 17.9 และ 21.5 ตามลำดับ
2. ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — กุมภาพันธ์ 2551) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 534,199 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 6,243 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.2 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.2) เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีกรมสรรพากรและกรมศุลกากรสูงกว่าเป้าหมายเป็นสาเหตุหลัก
ผลการจัดเก็บรายได้แยกตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 393,154 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 8,411
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.2 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.5) ภาษีที่เก็บได้สูงกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม โดยจัดเก็บได้สูงกว่า
ประมาณการ 9,121 3,839 และ 960 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.9 2.0 และ 12.8 ตามลำดับ (โดยภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.8 11.2 ตามลำดับ แต่ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.2) ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมายเนื่องจากบริษัทต่างชาติส่งค่าบริการและจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศมากขึ้นเพราะได้รับประโยชน์มากขึ้นจากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่า สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการเป็นผลจากการบริโภคที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องประกอบกับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนการนำเข้าสินค้าก็มีการขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 3,175 และ 2,393 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.7 และ 14.3 ตามลำดับ เป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้อยู่ในระดับที่ต่ำ ประกอบกับมาตรการทางภาษีที่ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากธุรกรรมบางประเภทของสถาบันการเงินที่มีผลมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 120,287 ล้านบาท ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยต่ำกว่าเพียง 588 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.5 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.6 แต่ถ้าหักรายได้จากภาษีกิจการโทรคมนาคมของปีที่แล้วออก จะสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 2,992 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 2.6) โดยภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีสรรพสามิตรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 1,583 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.4 ซึ่งเป็นผลจากการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่งทุกประเภทที่สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 (E 20) ลงร้อยละ 5 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ทำให้รถยนต์นั่งประเภทดังกล่าวมีราคาลดลง จึงส่งผลให้ประชาชนชะลอการซื้อรถยนต์นั่งเพื่อรอรถยนต์ในราคาใหม่ในช่วงที่ผ่านมา แต่ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2551 ผลการจัดเก็บเริ่มดีขึ้น
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 40,946 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3,626 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.1) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 3,270 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.9 เนื่องจากมูลค่านำเข้าทั้งในรูปดอลลาร์สหรัฐ และรูปเงินบาทยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องและสูงกว่าที่ประมาณการไว้ โดยใน 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — มกราคม 2551) มูลค่านำเข้าในรูปเงินดอลดาร์สหรัฐและเงินบาทสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึง ร้อยละ 23.2 และ 13.8 ตามลำดับ
2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้รวม 40,610 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2,340 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.4 (แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.1) เนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งยังไม่ได้นำส่งรายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
2.5 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 33,205 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2,459 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.9 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.7) เป็นผลจากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ที่ตั้งไว้
3. คาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2551
ถึงแม้ว่าผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 จะสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 6,243 ล้านบาท แต่รัฐบาลได้ออกมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 ซึ่งคาดว่าผลของมาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ในบางส่วนสำหรับช่วงระยะเวลาที่เหลืออยู่ของปีงบประมาณ 2551 อย่างไรก็ดี เชื่อว่าผลของมาตรการจะมีส่วนช่วยเพิ่ม
อำนาจในการใช้จ่ายของประชาชนมากขึ้น รวมทั้งมีการเร่งรัดการลงทุนของภาคเอกชน ส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีในส่วนอื่นมาทดแทนได้ ดังนั้น กระทรวงการคลังคาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2551 นี้ น่าจะอยู่ในวิสัยจัดเก็บได้ใกล้เคียงเป้าหมายที่ตั้งไว้ (1.495 ล้านล้านบาท) นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไปด้วย เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
สำนักนโยบายการคลัง
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 02 273 9020 ต่อ 3728 และ 3545
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 15/2551 12 มีนาคม 51--
1. เดือนกุมภาพันธ์ 2551 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 113,538 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 4,589 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.2 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.5) เนื่องจากการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และอากรขาเข้าสูงกว่าเป้าหมาย 1,901 1,166 และ 893 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.0 28.3 และ 13.5 ตามลำดับ อีกทั้งรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าเป้าหมายถึง 1,856 ล้านบาท หรือร้อยละ 41.5 เนื่องจากโรงงานยาสูบได้มีการทยอยส่งรายได้บางส่วน (ประมาณการนำส่งเดือนมีนาคม 2551) รวมทั้งได้รับผลตอบแทนจากกองทุนวายุภักษ์สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ด้วย
ในเดือนนี้กรมจัดเก็บภาษีทั้ง 3 กรมสามารถจัดเก็บรายได้ได้เกินเป้า อย่างไรก็ดี ภาษีน้ำมัน ภาษียาสูบ และภาษีธุรกิจเฉพาะ จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ จำนวน 752 747 และ 675 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.2 17.9 และ 21.5 ตามลำดับ
2. ในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — กุมภาพันธ์ 2551) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 534,199 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 6,243 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.2 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.2) เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีกรมสรรพากรและกรมศุลกากรสูงกว่าเป้าหมายเป็นสาเหตุหลัก
ผลการจัดเก็บรายได้แยกตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 393,154 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 8,411
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.2 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.5) ภาษีที่เก็บได้สูงกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม โดยจัดเก็บได้สูงกว่า
ประมาณการ 9,121 3,839 และ 960 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.9 2.0 และ 12.8 ตามลำดับ (โดยภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.8 11.2 ตามลำดับ แต่ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.2) ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมายเนื่องจากบริษัทต่างชาติส่งค่าบริการและจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศมากขึ้นเพราะได้รับประโยชน์มากขึ้นจากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่า สำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการเป็นผลจากการบริโภคที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องประกอบกับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ตลอดจนการนำเข้าสินค้าก็มีการขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 3,175 และ 2,393 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.7 และ 14.3 ตามลำดับ เป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้อยู่ในระดับที่ต่ำ ประกอบกับมาตรการทางภาษีที่ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากธุรกรรมบางประเภทของสถาบันการเงินที่มีผลมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 120,287 ล้านบาท ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยต่ำกว่าเพียง 588 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.5 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.6 แต่ถ้าหักรายได้จากภาษีกิจการโทรคมนาคมของปีที่แล้วออก จะสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 2,992 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 2.6) โดยภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีสรรพสามิตรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 1,583 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.4 ซึ่งเป็นผลจากการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่งทุกประเภทที่สามารถใช้เชื้อเพลิงประเภทเอทานอลเป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 (E 20) ลงร้อยละ 5 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ทำให้รถยนต์นั่งประเภทดังกล่าวมีราคาลดลง จึงส่งผลให้ประชาชนชะลอการซื้อรถยนต์นั่งเพื่อรอรถยนต์ในราคาใหม่ในช่วงที่ผ่านมา แต่ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2551 ผลการจัดเก็บเริ่มดีขึ้น
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 40,946 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3,626 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.7 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.1) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 3,270 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.9 เนื่องจากมูลค่านำเข้าทั้งในรูปดอลลาร์สหรัฐ และรูปเงินบาทยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องและสูงกว่าที่ประมาณการไว้ โดยใน 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 (ตุลาคม 2550 — มกราคม 2551) มูลค่านำเข้าในรูปเงินดอลดาร์สหรัฐและเงินบาทสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วถึง ร้อยละ 23.2 และ 13.8 ตามลำดับ
2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้รวม 40,610 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2,340 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.4 (แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.1) เนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งยังไม่ได้นำส่งรายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
2.5 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 33,205 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2,459 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.9 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.7) เป็นผลจากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ที่ตั้งไว้
3. คาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2551
ถึงแม้ว่าผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2551 จะสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 6,243 ล้านบาท แต่รัฐบาลได้ออกมาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551 ซึ่งคาดว่าผลของมาตรการดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ในบางส่วนสำหรับช่วงระยะเวลาที่เหลืออยู่ของปีงบประมาณ 2551 อย่างไรก็ดี เชื่อว่าผลของมาตรการจะมีส่วนช่วยเพิ่ม
อำนาจในการใช้จ่ายของประชาชนมากขึ้น รวมทั้งมีการเร่งรัดการลงทุนของภาคเอกชน ส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จะทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีในส่วนอื่นมาทดแทนได้ ดังนั้น กระทรวงการคลังคาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2551 นี้ น่าจะอยู่ในวิสัยจัดเก็บได้ใกล้เคียงเป้าหมายที่ตั้งไว้ (1.495 ล้านล้านบาท) นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไปด้วย เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน ค่าเงินบาท และการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
สำนักนโยบายการคลัง
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร 02 273 9020 ต่อ 3728 และ 3545
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 15/2551 12 มีนาคม 51--