Executive Summary
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ก.พ. 63 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 90.2 จากระดับ 92.2 ในเดือนก่อนหน้า
- อัตราการว่างงานเดือน ก.พ. 63 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวม
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือนก.พ. 63 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 90.2 ต่ำสุดในรอบ 21 เดือน ซึ่งเกิดจากปัจจัยความกังวลของผู้ประกอบการต่อการชะลอตัวด้านอุปสงค์และกำลังซื้อที่ชะลอลงของทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 98.1 จากระดับ 99.4 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีแนวโน้มรุนแรงและกระจายไปทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งรวมถึงการบริโภคสินค้าอุตสาหกรรมที่ลดลงด้วย
ผู้มีงานทำเดือน ก.พ. 63 มีจำนวน 37.6 ล้านคน หดตัวร้อยละ -0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งเป็นการหดตัว 8 เดือนติดต่อกัน หากขจัดผลทางฤดูกาลขยายตัวที่ร้อยละ 1.2 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การหดตัวของผู้มีงานทำทั้งจากภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร โดยภาคเกษตรหดตัวที่ร้อยละ -0.6 และนอกภาคเกษตรหดตัวที่ร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ หากแยกเป็นอุตสาหกรรมนอกภาคเกษตร พบว่าภาคอุตสาหกรรมหดตัวที่ร้อยละ -2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ภาคบริการขยายตัวที่ร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านอัตราการว่างงานเดือน ก.พ. 63 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 ของกำลังแรงงานรวม
Global Economic Indicators: This Week
เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 63 ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้ออกมาตรการฉุกเฉินเพื่อพยุงเศรษฐกิจ โดยประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 1.0-1.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.0 - 0.25 ต่อปี ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 63 ขยายตัวร้อยละ 7.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 โดยที่หมวดการค้าปลีกอาหารขยายตัวสูงสุดที่ร้อยละ 9.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -1.2 จากหมวดเชื้อเพลิงที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด ระดับ63 หดตัวที่ร้อยละ -1.5 จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.4 จากยอดการก่อสร้างคอนโดมิเนี่ยมที่ลดลงมาก หดตัวที่ร้อยละ -17 ยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน ก.พ. 63 หดตัวที่ร้อยะละ -5.5 ชะลดลงค่อนข้างมากจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ ร้อยละ 9.2 จากยอดใบอนุญาตก่อสร้างประเภทคอนโดมิเนี่ยมที่หดตัวที่ร้อยละ -20.2 สอดคล้องกับยอดสร้างบ้านใหม่
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค.-ก.พ. 63 หดตัวร้อยละ -13.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.9 โดยเฉพาะกลุ่มอุปกรณ์ขนส่งหดตัวถึงร้อยละ -28.2 ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 63 หดตัวร้อยละ -20.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากที่ขยายตัวร้อยละ 8.0 ในเดือนก่อนหน้า .
มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากทุกหมวดสินค้า ด้านมูลค่าการนำเข้า เดือน ม.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากทุกหมวดสินค้า ยกเว้น สินค้าหมวดวัตถุดิบ ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 1.3 พันล้านยูโรอัตรา เงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 63 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า จากหมวดพลังงานเป็นสำคัญ
อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 3.9 ของกำลังแรงงานรวม เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 63 ธนาคารกลางอังกฤษมีมาตรการฉุกเฉินโดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาอยู่ที่ร้อยละ 0.1 ต่อปี ลดลงจากการประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.15 เพื่อลดผลกระทบที่ได้รับจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้วหดตัวตัวร้อยละ -2.4 จากเดือนก่อนหน้า จากการหดตัวของหมวดเครื่องจักรไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า โลหะประดิษฐ์ และผลิตภัรฑ์พลาสติก มูลค่าการส่งออกเดือน ก.พ. 63 หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -1.0 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการหดตัวจากการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป จีน สหรัฐ ที่ร้อยละ -23.9 ร้อยละ -0.4 และร้อยละ -2.6 ตามลำดับ มูลค่าการนำเข้าหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -14.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 1.1 ล้านล้านเยนอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 63 อยู่ที่ร้อยละ 0.4 ต่อปี
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 11.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มจากเดือนก่อนหน้า จากการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันและก๊าซที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 63 หดตัวที่ร้อยละ -5.11 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบที่ลดลง ส่งผลให้เกินดุลการค้าจากเดือนก่อนหน้าที่ 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 63 ธนาคารอินโดนีเซียปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี จากร้อย 4.75 ต่อปี
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากการส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าเบ็ดเตล็ด ส่งผลให้ขาดดุลการค้าลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 1.1 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
อัตราการว่างงาน เดือน ก.พ. 63 อยู่ที่ร้อยละ 5.1 ต่อกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.3 ต่อกำลังแรงงานรวม โดยจำนวนคนที่หางานประจำลดลง ขณะที่จำนวนคนที่หางาน Part Time เพิ่มขึ้น
อัตราการว่างงาน เดือน ก.พ. 63 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ของกำลังแรงงานรวม ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 63 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี จากร้อยละ 3.75 ต่อปี
เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 63 ธนาคารกลางไต้หวันปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.125 ต่อปี จากร้อยละ 1.375 ต่อปี เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19
ดัชนี SET โดยรวมปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน โดยเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 63 ปิดที่ระดับ 1,044.19 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 16 - 19 มี.ค. 63 ที่ 64,024.19 ล้านบาทต่อวัน ซึ่งสอดคล้องกับตลาดหลักทรัยพ์ทั่วโลก โดยนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ นักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนทั่วไปในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิสำหรับสัปดาห์หน้ายังต้องติดตามการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าและนโยบายพยุงเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆทั่วโลกจากผลกระทบของไวรัสโคโรน่า ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 16 - 19 มี.ค. 63 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -17,974.93 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทุกช่วงอายุ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 8-76 bps โดยในสัปดาห์นี้ไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 16 - 19 มี.ค. 63 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -28,982.64ล้านบาท
เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 19 มี.ค. 63 เงินบาทปิดที่ 31.65 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -3.43 จากสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะเดียวกันเงินสกุลหลักอื่น ๆ อ่อนค่าลงด้วยเช่นกัน อาทิ เงินหยวน เงินวอน ริงกิต และดอลลาร์สิงคโปร์ เงินเยน และเงินยูโร โดยรวมส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 0.20 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง