Executive Summary
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน มี.ค. 63 หดตัวร้อยละ -5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- GDP ของจีน ไตรมาสที่ 1 ปี 63 หดตัวร้อยละ -6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศใน เดือน มี.ค. 63 หดตัวร้อยละ -5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หากปรับผลทางฤดูกาล พบว่าหดตัวร้อยละ -5.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ผลจากความต้องการในการที่หดตัวลง จากการระบาดของโควิด-19 รวมถึงการหยุดชะงักโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐและเอกชน ถึงแม้รัฐบาลจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และภาคอสังหาริมทรัพย์แล้วก็ตาม แต่คาดการณ์ว่า หากปัจจัยกระทบด้านโรคระบาดหมดไป จะมีการปรับตัวสูงขึ้นจากผลของการกระจุกตัวของความต้องการที่อยู่ในช่วงชะลอตัวที่ผ่านมา ทำให้ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 63 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์หดตัวร้อยละ -4.3 ต่อปี
Global Economic Indicators: This Week
ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -7.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นขยายตัวที่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีครึ่ง โดยสินค้าเกือบทุกหมวดชะลอตัวลง ยกเว้นหมวดสินค้าเกี่ยวกับสุขภาพ และการค้าปลีกแบบไม่มี หน้าร้าน และ ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -5.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการหดตัวต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี 4 เดือน โดยผลผลิตสินค้าในทุกหมวดชะลอตัวลง ยกเว้นหมวดพลังงาน ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือนมี.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -22.3 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)หดตัวต่ำสุดในรอบกว่า 10 ปี จากยอดสร้างบ้านทุกประเภทที่หดตัวลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทคอนโดมิเนียม สอดคล้องกับยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ในเดือนเดียวกันที่หดตัวที่ร้อยละ -6.8 จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านเดี่ยวที่หดตัวลงอย่างมาก
มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 63 หดตัวร้อยละ -6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหดตัวชะลอลงจาก 2 เดือนก่อนหน้า มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -0.4 หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้เกินดุลการค้า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 63 หดตัวร้อยละ -6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการหดตัวครั้งแรกตั้งแต่ปี 35 และหดตัวร้อยละ -9.8 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผล.ทางฤดูกาลแล้ว) ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 63 หดตัวร้อยละ -15.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือน ม.ค. 63
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 63 หดตัวที่ร้อยละ -1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.7 จากหมวดสินค้าทุนและพลังงานเป็นสำคัญ
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 63 ลดลงที่ร้อยละ -4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า และเป็นการปรับลดติดต่อกัน 5 เดือน
อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 63 ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของกำลังแรงงานรวมปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า และเป็นค่าต่ำสุดในรอบ 6 เดือน
อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 5 เดือน ขณะที่ราคาในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่เดือน มี.ค. 63 ส่งออกลดลงที่ร้อยละ -34.57 ต่ำสุดในรอบ 40 เดือนนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 59 นำเข้าลดลงร้อยละ -28.72 ต่อปีส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลที่มูลค่า 9.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 63 อยู่ที่ร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าประเภท ปิโตรเลียม เคมี ยาง และพลาสติกที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญขณะที่อัตราว่างงาน เดือน ก.พ. 63 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ของกำลังแรงงาน จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.2
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ไตรมาสที่ 1 ปี 63 อยู่ที่ระดับ 1.26 จุด ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่ระดับ 1.3 จุด ขณะที่ธนาคารกลางฟิลิปปินส์มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงที่ร้อยละ 2.75 ต่อปี เพื่อพยุงเศรษฐกิจจากผลกระทบ COVID-19
ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี ขณะที่มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์จากน้ำมันและแก๊สที่ลดลงเป็นสำคัญ ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน มี.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -0.75 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันและแก็สที่ลดลงเป็นสำคัญ ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 743 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมูลค่าการส่งออกน้ำมันที่ลดลงเป็นสำคัญ ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน มี.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมทีเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 3.18 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
อัตราว่างงาน เดือน มี.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 5.2 ของกำลังแรงงานรวม ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ร้อยละ 5.1 ขณะที่คนหางานเต็มเวลาเพิ่มขึ้น แต่คนหางานพาร์ทไทม์ลดลง
ดัชนี SET โดยรวมปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน โดยเมื่อวันที่ 16 เม.ย. 63 ปิดที่ระดับ 1,200.15จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 13 - 16 เม.ย. 63 ที่ 63,735.20ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติและนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนทั่วไปในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 13 - 16 เม.ย. 63 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -95,445.28ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเกือบทุกช่วงอายุ ปรับตัวลดลง 2-21 bps โดยในสัปดาห์นี้ไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 13 - 16 เม.ย. 63 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -3,446.42 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 16 เม.ย. 63 เงินบาทปิดที่ 32.71 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.23 จากสัปดาห์ก่อนหน้า ในขณะที่เงินสกุลหลักอื่น ๆ อาทิ เยน ยูโร และหยวน แข็งค่าเช่นกัน ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ปรับตัวอ่อนลงร้อยละ -0.08 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง