รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 20 - 24 เมษายน 2563

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday April 28, 2020 15:00 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน มี.ค. 63 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 88.0 จากระดับ 90.2 ในเดือนก่อน
  • อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มี.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -48.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน มี.ค.63 หดตัวที่ร้อยละ -37.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • มูลค่าการส่งออกในเดือน ม.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าในเดือน มี.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
  • นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนมี.ค. 63 มีจำนวน 0.9 ล้านคน หดตัวที่ร้อยละ -76.4 ต่อปี
  • GDP เกาหลีใต้ ไตรมาส 1 ของปี 63 (เบื้องต้น) ขยายตัวที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

Fiscal Policy Office

Economic Indicators: This Week

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือนมี.ค. 63 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 88.0 จากปัจจัยความกังวลของผู้ประกอบการต่อสถานการณ์ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น ภาคธุรกิจประสบปัญหาด้านการผลิตและจำหน่ายสินค้าที่ลดลง ประกอบกับภัยแล้ง ส่งผลให้กำลังซื้อในภาคเกษตรลดลง สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 96.0 จากระดับ 98.1 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องและการฟื้นฟูกิจการ

ผู้มีงานทำเดือน มี.ค. 63 มีจำนวน 37.3 ล้านคน หดตัวร้อยละ -1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วหดที่ร้อยละ -0.3 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การหดตัวของผู้มีงานทำมาจากภาคเกษตรเป็นสำคัญ โดยภาคเกษตรหดตัวที่ร้อยละ -5.1 ขณะที่ผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม หากแยกเป็นอุตสาหกรรมและภาคบริการ พบว่าภาคอุตสาหกรรมหดตัวที่ร้อยละ -5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ภาคบริการขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ด้านอัตราการว่างงานเดือน มี.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน มี.ค. 63 มีจำนวน 20,698 คัน หดตัวที่ร้อยละ -48.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวที่ร้อยละ -34.9 จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งทำให้หลายบริษัทมีการชะลอการผลิตลง ส่งผลให้ในไตรมาสแรกของปี 63 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งหดตัวที่ร้อยละ -23.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนมี.ค.63 มีจำนวน 39,407 คัน หดตัวที่ร้อยละ -37.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ -23.2 เมื่อปรับผลทางฤดูกาล หดตัวตามปริมาณการจำหน่ายรถกระบะ 1 ตัน ที่หดตัวร้อยละ -41.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงตามการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจในประเทศ และสถาณการณ์ไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ทำให้ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 63 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ หดตัวที่ร้อยละ -24.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

Economic Indicators: This Week

มูลค่าการส่งออกในเดือน ม.ค. 63 มีมูลค่า 22,405 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวที่ร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เมื่อดูรายละเอียดมิติกลุ่มสินค้า พบว่า สินค้าส่งออกที่ยังขยายตัวดี อาทิ ทองคำ อากาศยาน ยานอวกาศ และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และยานพาหนะอื่นๆ และส่วนประกอบ น้ำตาลทราย ผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป และอาหารสัตว์เลี้ยง เป็นต้น ขณะที่ สินค้าส่งออกที่หดตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อัญมณีและเครื่องประดับไม่รวมทองคำ แผงวงจรไฟฟ้า ยางพารา ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น ด้านมิติตลาดคู่ค้า พบว่า ตลาดส่งออกส่วนใหญ่ยังคงมีสัญญาณหดตัว ขณะที่ การส่งออกไปยัง สหรัฐฯ อาเซียน(5) กลุ่มประเทศ CLMV และทวีปออสเตรเลีย ขยายตัวในเดือนดังกล่าว ทั้งนี้ การส่งออกในช่วงไตรมาสแรกของปี 63 ขยายตัวเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

มูลค่าการนำเข้าในเดือน มี.ค. 63 มีมูลค่า 20,813 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวที่ร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยกลุ่มสินค้านำเข้าที่ขยายตัว ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป และอาวุธยุทธปัจจัย ขณะที่ สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง หดตัวในเดือนดังกล่าว ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าในช่วงไตรมาสแรกของปี 63 ยังคง หดตัวเฉลี่ยร้อยละ -1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สำหรับดุลการค้าในเดือน มี.ค. 63 ยังคงเกินดุลมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในช่วงไตรมาสแรกของปี 63 ดุลการค้าของไทยเกินดุล 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ

นักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน มี.ค. 63 มีจำนวน 0.9 ล้านคน หดตัวที่ร้อยละ -76.4 ต่อปีและเมื่อขจัดผลทางฤดูกาล พบว่า หดตัวลดลงที่ร้อยละ -58.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื่อไวรัสโควิด-19 และการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในวันที่ 26 มี.ค. 63 เป็นต้นมา ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวในทุกตลาดลดลง โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดที่หดตัวสูงถึงร้อยละ -94.2 ต่อปี เป็นสำคัญ และนักท่องเที่ยวประเทศอื่นก็หดตัวสูงเช่นกัน ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวเกาหลีใต้ อินเดีย และญี่ปุ่นที่หดตัวร้อยละ -94.2 -90.5 และ -83.2 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวต่างชาติใน เดือน มี.ค. 63 มีมูลค่ารวม 39,551 ล้านบาท หดตัวที่ร้อยละ -77.6 ต่อปี โดยไตรมาส 1 ของปี 63 มีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมด 6.7 ล้านคน หดตัวร้อยละ -38.0 และมีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 332,013 ล้านบาท หดตัวที่ร้อยละ -40.4 ต่อปี

Global Economic Indicators: This Week

US: worsening economic trend

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) เดือน เม.ย. 63 อยู่ที่ระดับ 36.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 48.5 ด้าน PMI ภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน เม.ย. 63 อยู่ที่ระดับ 27.0 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 40.9

Eurozone: worsening economic trend

มูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 63 ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.1 จากสินค้าเคมีภัณฑ์เป็นสำคัญ มูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 63 หดตัวที่ร้อยละ -0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.5 จากอาหารและเครื่องดื่ม เชื้อเพลิง และสินค้าในภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) เดือน เม.ย. 63 อยู่ที่ระดับ -22.7 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ -11.6 จุด ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) เดือน เม.ย. 63 อยู่ที่ระดับ 33.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 44.5 และดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน เม.ย. 63 อยู่ที่ระดับ 11.7 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 26.4

Japan: worsening economic trend

การส่งออก เดือน มี.ค. 63 ลดลงถึงร้อยละ -11.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ -1.0 ขณะที่การนำเข้าหดตัวเช่นกันที่ร้อยละ -5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ดุลการค้าในเดือนมี.ค. เกินดุลที่ 4.95 พันล้านเยน อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 63 ทรงตัวที่ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

South Korea: worsening economic trend

GDP ไตรมาสที่1 ปี 63 (เบื้องต้น) ขยายตัวลดลงที่ร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลและหดตัวที่ร้อยละ -1.4 จากเดือนก่อนหน้า ถือเป็นการขยายตัวในระดับต่ำสุดในรอบ 11 ปี นับตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2009 ซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาด COVID-19

Hong Kong: worsening economic trend

อัตราการว่างงาน เดือน มี.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า

UK: worsening economic trend

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.5 ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) เดือน เม.ย. 63 อยู่ที่ระดับ 32.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 47.8 และดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน เม.ย. 63 อยู่ที่ระดับ 12.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 34.5

Malaysia: worsening economic trend

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า โดยราคาสินค้าในหมวดค่าขนส่งและต้นทุนในการผลิตเสื้อที่ลดลง

Singapore: improving economic trend

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 0.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.3 ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 16.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าในหมวดชีวการแพทย์และยาที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET โดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดยเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 63 ปิดที่ระดับ 1,272.53 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 20 - 23 เม.ย. 63 ที่ 68,014 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศ นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนทั่วไปในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 20 - 23 เม.ย. 63 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -13,453.58 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเกือบทุกช่วงอายุ ปรับตัวลดลง 1-17 bps โดยในสัปดาห์นี้มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลการประมูลพันธบัตรอายุ 5 และ 16 ปี โดยทั้งนี้ระหว่างวันที่ 20 - 23 เม.ย. 63 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้า จากตลาดพันธบัตรสุทธิ 7,356.52 ล้านบาท

เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 23 เม.ย. 63 เงินบาทปิดที่ 32.341 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.14 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ อาทิ เยน ริงกิต ดอลลาร์สิงคโปร์ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.25 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ