Executive Summary
- มูลค่าการส่งออกในเดือน พ.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -22.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -34.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน พ.ค. 63 หดตัวร้อยละ -1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมหดตัวร้อยละ -3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ในเดือน พ.ค. 63 ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทย คิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -100 ต่อปี
มูลค่าการส่งออกในเดือน พ.ค. 63 มีมูลค่า 16,278 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -22.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นการหดตัวในระดับต่ำสุดในรอบกว่า 10 ปี ทั้งนี้ เมื่อดูรายละเอียดมิติกลุ่มสินค้า พบว่า สินค้าส่งออกที่ยังขยายตัวดี อาทิ ทองคำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป ผลิตภัณณ์ มันสำปะหลัง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหาร สัตว์เลี้ยง และไก่สด แช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป เป็นต้น ขณะที่ สินค้าส่งออกที่หดตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อัญมณีและเครื่องประดับไม่รวมทองคำ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ยางพารา น้ำตาลทราย และข้าว เป็นต้น ด้านมิติตลาดคู่ค้า พบว่า ตลาดส่งออกส่วนใหญ่ยังคงมีสัญญาณหดตัว ขณะที่ การส่งออกไปยังจีน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ทั้งนี้ การส่งออกในช่วง 5 เดือนแรกของปี 63 หดตัวเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ -3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
มูลค่าการนำเข้าในเดือน พ.ค. 63 มีมูลค่า 13,584 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวที่ร้อยละ -34.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยกลุ่มสินค้านำเข้าที่หดตัว ได้แก่ สินค้าเชื้อเพลิง สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป อาวุธยุทธปัจจัย สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าในช่วง 5 เดือนแรกของปี 63 ยังคงหดตัวเฉลี่ยร้อยละ -11.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สำหรับดุลการค้าในเดือน พ.ค. 63 ยังคงเกินดุลมูลค่า 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 63 ดุลการค้าของไทยเกินดุล 9.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน พ.ค. 63 หดตัวร้อยละ -1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน พ.ค. 63 พบว่า ผลผลิตสินค้าเกษตรหดตัวในหมวดพืชผลสำคัญและหมวดประมงที่ร้อยละ -2.1 และ -19.3 ตามลำดับ ขณะที่ผลผลิตสินค้าในหมวดปศุสัตว์ขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 ทั้งนี้ สินค้าสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง กลุ่มไม้ผล สุกร ไก่ และ ไข่ไก่ ขณะที่สินค้าสำคัญที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และกุ้งขาว แวนนาไม
ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในเดือน พ.ค. 63 หดตัวร้อยละ -3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -5.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หากพิจารณารายหมวดราคาสินค้าเกษตรในเดือน พ.ค. 63 พบว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตร หดตัวในทุกหมวดสินค้า ได้แก่ หมวดพืชผลสำคัญ หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงหดตัวที่ร้อยละ -2.1 -6.1 และ -1.2 ตามลำดับ โดยสินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และไข่ไก่ ขณะที่สินค้า ที่ราคาลดลง ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง กลุ่มไม้ผล สุกร ไก่ และกุ้งขาวแวนนาไม
ในเดือน พ.ค. 63 ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทย คิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -100 ต่อปี ส่งผลให้รายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติหดตัวที่ร้อยละ -100 เช่นกัน โดยเป็นผลจากการแพร่ระบาดของเชื่อไวรัสโควิด-19 และการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค. 63 เป็นต้นมา โดยกำหนดให้ปิดด่านตรวจคนเข้าทั่วประเทศ และประกาศของสำนักการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) ที่ห้ามอากาศยานทำการบินเข้าสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 3) ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย. 63 ถึง 30 เม.ย. 63 และนอกจากนี้ยังมีประกาศฉบับที่ 4 และ 5 ที่ขยายระยะเวลาห้ามอากาศยานทำการบินเข้าสู่ประเทศไทย จึงทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวมีจำนวนเป็น 0 ต่อเนื่องจากเดือน เม.ย. 63
Global Economic Indicators: This Week
ยอดขายบ้านใหม่ เดือน พ.ค. 63 อยู่ที่ 6.76 แสนหลังต่อปี คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 16.6 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ซึ่งเป็นผลมาจากยอดขายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันตกที่ขยายตัวอย่างมาก ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) เดือน มิ.ย. 63 อยู่ที่ระดับ 49.6 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับ 39.8 เป็นผลจากยอดผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ลดลงในอัตราชะลอตัวลง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน มิ.ย. 63 อยู่ที่ระดับ 46.7 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับ 37.5 หลังจากมาตรการล็อคดาวน์มีการผ่อนปรนลง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) เดือน พ.ค. 63 อยู่ที่ระดับ -14.7 จุด. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ -18.8 ดัชนีฯ(pmi)ภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) เดือน มิ.ย. 63 อยู่ที่ระดับ 46.9 จุด สูงสุดในรอบ 4 เดือน โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 39.4 จุด ดัชนีฯ(pmi) ภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน มิ.ย. 63 อยู่ที่ระดับ 47.3 จุด สูงสุดในรอบ 4 เดือน โดยเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 30.5 จุด โดยมีสาเหตุจากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในสหภาพยุโรปทำให้กิจการต่าง ๆ กลับมาดำเนินการอีกครั้ง
อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ของกำลังแรงงานรวม ขยับขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.2 ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 63 หดตัวร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวถึงร้อยละ -10.2 โดยยอดขายสินค้าเครื่องนุ่งห่มหดตัวชะลอลง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มิ.ย. 63 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าจากระดับ 77.6 มาอยู่ที่ระดับ 81.8 หลังจากมาตรการ COVID-19 ผ่อนปรนมากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นที่สูงขึ้น ซึ่งดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นทุกด้าน ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจในประเทศ สภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน รวมถึงด้านรายได้ของครัวเรือน
ดัชนีฯ(PMI)ภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) เดือน มิ.ย. 63 ปรับตัวกลับมาอยู่ที่ระดับ 50.1 จุด และดัชนีฯ(PMI) ภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน มิ.ย. 63 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 47 จุด ต่ำกว่าระดับปกติเล็กน้อย เป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการปิดประเทศ เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 63 หลังวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และการใช้มาตรการปิดประเทศฉุดให้ดัชนีฯ (PMI) ตั้งแต่เดือน มี.ค. 63 ลดลง และลดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือน เม.ย. 63 ทั้งนี้ การปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีฯ(PMI) ทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 40.7 จุด และ 40 จุดตามลำดับ ซึ่งสะท้อนการเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตหลายรายยังคงเผชิญปัญหาคำสั่งซื้อใหม่ลดน้อยลง ขณะที่ภาคบริการยังคงชะลอตัวจากการที่ธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร และสถานบันเทิงต่างๆ ยังปิดอยู่ โดยจะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งหลังวันที่ 4 ก.ค. 63 เป็นต้นไป
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย โดยค่าไฟและราคาสินค้าเครื่องนุ่งห่มปรับตัวลดลง
เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 63 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอยู่ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน เม.ย. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.1
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวคงที่จากเดือนก่อนหน้า โดยราคาที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภคที่ลดลงเป็นสำคัญ
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยราคาเสื้อผ้าและรองเท้าที่ลดลงเป็นสำคัญ ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -7.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 13.6 โดยสินค้าหมวดปิโตรเลียมที่ลดลงเป็นสำคัญ
ดัชนี SET โดยรวมปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน โดยเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 63 ปิดที่ระดับ 1,325.88 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 22 - 25 มิ.ย. 63 ที่ 59,146 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 22 - 25 มิ.ย. 63 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ จำนวน 8,209 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเกือบทุกช่วงอายุปรับลดลง 0 ถึง -5 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 22 - 25 มิ.ย. 63 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ตลาดพันธบัตรสุทธิ มูลค่า 3,029 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 25 มิ.ย. 63 เงินบาทปิดที่ 30.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.71 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สวนทางกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ อาทิ เยน ยูโร ริงกิต และดอลลาร์สิงคโปร์ ที่อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ หลายสกุล ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 0.61 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง