Executive Summary
- ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน มิ.ย. 63 คิดเป็น 1.83 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
- GDP สหราชอาณาจักร ไตรมาสที่ 2 ปี 63 (เบืองต้น) หดตัวที่ ร้อยละ -21.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- GDP มาเลเซีย ไตรมาสที่ 2 ปี 63 หดตัวที่ร้อยละ -17.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- GDP สิงคโปร์ ไตรมาสที่ 2 ปี 63 หดตัวที่ร้อยละ -13.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน มิ.ย. 63 คิดเป็น 1.83 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือนดังกล่าวอยู่ที่ 4.8 ล้านล้านบาท ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์ สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59
Global Economic Indicators: This Week
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.6 โดยราคาหมวดคมนาคมขนส่ง การศึกษา และหมวดเครื่องนุ่งห่มขยายตัวสูงสุด
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.5 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 63 หดตัวร้อยละ -1.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากทุกหมวด โดยเครื่องประดับและรถยนต์เป็นหมวดที่เพิ่มขึ้น อัตราการว่างงาน เดือน ก.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 ของกำลังแรงงานรวม ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 63 หดตัวที่ร้อยละ -12.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -20.4 จากหมวดทุกหมวดที่ปรับตัวดีขึ้น
อัตราการว่างงาน เดือน ก.ค. 63 ปรับลดลงอยู่ที่ร้อยละ 4.2 ของกำลังแรงงานรวม ปรับตัวลดลง 3 เดือนติดต่อกัน จากร้อยละ 4.3 ในเดือนก่อนหน้า โดยจำนวนผู้ว่างงานลดลง 3.4 หมื่นคน ขณะที่ผู้มีงานทำปรับตัวเพิ่มขึ้น
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 63 หดตัวชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ -16.6 จากร้อยละ -33.9 ต่อปี ในเดือนก่อนหน้า และเป็นการหดตัว 4 เดือนติดต่อกัน นับตั้งแต่เม.ย. 63 ซึ่งมาจากภาคการผลิตที่หดตัว โดยเฉพาะในหมวดเหมืองแร่ และการผลิตไฟฟ้า หดตัวร้อยละ -19.8 และร้อยละ -10.0 ตามลำดับ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 63 ปรับตัวสูงขึนอยู่ที่ร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 63 (เบืองต้น) หดตัวอย่างรุนแรงมากกว่าไตรมาสที่ 1 ที่ร้อยละ -21.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำสถิติหดตัวมากที่สุดตั้งแต่ปี 2499 ขณะที่อัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย. 63 คงที่ต่อเนื่องจากเดือน มี.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 3.9 ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 จากการที่ผู้ตกงานจำนวนมากหยุดความพยามยามที่จะหางานทำ ส่งผลให้อัตราการว่างงานไตรมาสที่ 2 ปี 63 อยู่ที่ร้อยละ 3.9 ด้านดุลการค้า เดือน มิ.ย. 63 เกินดุลที่ 5.3 ล้านปอนด์ ลดลงจากเดือน พ.ค. 63 ที่ 7.7 พันล้านปอนด์ จากการนำเข้า เดือน มิ.ย. 63 ที่ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 21.9 มากกว่าการส่งออกที่ขยายตัวได้เพียงร้อยละ 13.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 2 ดุลการค้าเกินดุลที่ 18.8 พันล้านปอนด์ โดยในไตรมาสที่ 1 ดุลการค้าขาดดุลที่ 1.2 พันล้านปอนด์ และผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 63 หดตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือน เม.ย. 63 ที่ร้อยละ -12.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
อัตราการว่างงาน เดือน ก.ค. 63 เพิ่มสูงขึนต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ตังแต่เดือน ก.พ. 63 ทำสถิติใหม่ที่ร้อยละ 7.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 41 ขณะที่อัตราการว่างงานเดือน มิ.ย. 63 อยู่ที่ร้อยละ 7.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 63 หดตัวอย่างรุนแรงที่ร้อยละ -17.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็นการหดตัวแรงที่สุดในรอบ 20 ปี ขณะที่ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 63 หดตัวร้อยละ -9.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -16.2 โดยยอดค้าปลีกยานยนต์เป็นสำคัญ
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 63 หดตัวอย่างรุนแรงที่ร้อยละ -13.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 63 หดตัวร้อยละ -17.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -20.6 จากยอดค้าปลีกเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ
ดัชนี SET โดยรวมปรับตัวเพิ่มขึนจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย โดยเมื่อวันที่ 13 ส.ค. 63 ปิดที่ระดับ 1,346.69 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 10 - 13 ส.ค. 63 ที่ 62,405 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาตินักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ ทังนี ระหว่างวันที่ 10 - 13 ส.ค. 63 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ จำนวน 714 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสัน (ต่ำกว่า 1 ปี) ปรับเพิ่มขึนเล็กน้อย 0 - 1 bps ในระยะกลาง (1-10 ปี) ปรับตัวเพิ่มขึนในช่วง 0 ถึง 9 bps และระยะยาว (มากกว่า 10 ปี) ปรับตัวเพิ่มขึนในช่วง 7 ถึง 13 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทังนีระหว่างวันที่ 10 - 13 ส.ค. 63 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออก ตลาดพันธบัตรสุทธิ มูลค่า 2,216.92 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึนเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 13 ส.ค. 63 เงินบาทปิดที่ 31.05 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.07 จากสัปดาห์ก่อนหน้าสวนทางกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ อาทิ เยน ยูโร ริงกิต และดอลลาร์สิงคโปร์ ที่อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่สกุลเงินหลักอื่น ๆ อาทิ วอน และหยวน แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ หลายสกุล ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึนร้อยละ 0.37 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง