รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 17 - 21 สิงหาคม 2563

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 24, 2020 13:46 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 63 หดตัวที่ร้อยละ -12.2 ต่อปี
  • อัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 2 ปี 63 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 ของกำลังแรงงานรวม
  • ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -43.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -15.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • GDP ญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 2 ปี 63 (เบืองต้น) หดตัวที่ร้อยละ -9.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
Economic Indicators: This Week

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 63 หดตัวที่ร้อยละ -12.2 ต่อปี เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหดตัวเร่งขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2562 ที่หดตัวร้อยละ -2.0 ต่อปี และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทย ในไตรมาส 2 ปี 2563 ลดลงจากไตรมาส 1 ปี 2563 ร้อยละ -9.7 โดยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้การส่งออกสินค้าและบริการ การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวลดลง ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐและการลงทุนภาครัฐขยายตัว เมื่อพิจารณาในภาคการผลิต พบว่าสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาอุตสาหกรรม สาขาเกษตรกรรม สาขาขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า และสาขาไฟฟ้าและก๊าซปรับตัวลดลง ขณะที่การผลิตสาขาก่อสร้าง สาขาการเงินการประกันภัย และสาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารขยายตัวได้

ผู้มีงานทำในไตรมาสที่ 2 ปี 63 มีจำนวน 37.08 ล้านคน หดตัวร้อยละ -1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ การหดตัวของผู้มีงานทำมาจาก การหดตัวของทุกภาคการผลิต โดยภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ หดตัวที่ร้อยละ -0.3 -4.8 และ -1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ด้านอัตราการว่างงานในไตรมาสที่ 2 ปี 63 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 ของกำลังแรงงานรวม

ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ในเดือน ก.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หากปรับผลทางฤดูกาล พบว่าหดตัวร้อยละ -1.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับดัชนีราคาวัสุก่อสร้างในหมวดซีเมนต์ ที่ขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อปีจากแนวโน้มภาคการก่อสร้างเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้ความต้องการใช้งานปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง เช่น สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ หากไม่เกิดการระบาดรอบใหม่ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้ใกล้เคียงกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ขณะที่โครงการลงทุนก่อสร้างของภาครัฐ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ จะเป็นส่วนเสริมสำหรับการฟื้นฟูผลกระทบและสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี

Economic Indicators: This Week

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ค. 63 มีจำนวน 18,500 คัน หดตัวในระดับสูงที่ร้อยละ -43.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวเล็กน้อยที่ ร้อยละ -1.9 แม้ว่าโรงงานผลิตรถยนต์จะเริ่มกลับมา ทำการผลิตอีกครั้ง แต่ความต้องการรถยนต์ของตลาดยังคงลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว ส่งผลให้กำลังซื้อยังไม่กลับมาฟื้นตัวมากนัก อย่างไรก็ดี บริษัทรถยนต์หลายแห่งเริ่มเร่งทำการตลาดอย่างเต็มที่ด้วย การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ยานยนต์รุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ตลาดรถยนต์ในช่วงครึ่งหลังของปี 63 จะกลับฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนก.ค. 63 มีจำนวน 40,835 คัน หดตัวที่ร้อยละ -15.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 13.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล ตามปริมาณการจำหน่ายรถกระบะ 1 ตัน ที่หดตัวร้อยละ -15.9 ต่อปี ทั้งนี้ แม้การแพร่ระบาดของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะยังคงส่งผลกระทบต่อยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ แต่เริ่มมองเห็นการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 หลังจากจุดต่ำสุดในช่วงเดือน เม.ย. ที่หดตัวร้อยละ -58.4 ต่อปีจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ดีขึ้น ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของภาคครัวเรือน และภาคธุรกิจฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง ขณะที่ยอดจำหน่ายรถยนต์ จากการจัดงานมอเตอร์โชว์ครั้งที่ 41 จะช่วยสนับสนุน ยอดจำหน่ายรถยนต์ในช่วงถัดไปได้มากขึ้น

Global Economic Indicators: This Week

Japan: worsening economic trend

GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 63 เบืองต้น หดตัวที่ร้อยละ -9.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหดตัวมากกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.8 ต่อปี ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 63 หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -18.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวในอัตราชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -26.3 มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -19.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยคิดเป็นมูลค่า 5.37 ล้านล้านเยน มูลค่าการนำเข้าหดตัวที่ร้อยละ -22.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นมูลค่า 5.36 ล้านล้านเยน ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลเล็กน้อยอยู่ที่ 11.6 พันล้านเยน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 63 ปรับตัวสูงขึนอยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.1 ต่อปี

EU: improving economic trend

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.3 จากหมวดอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงหมวดการบริการ สอดคล้องกับธุรกิจภาคบริการของประเทศในสหภาพยุโรปส่วนใหญ่กลับมาให้บริการแบบเต็มรูปแบบ

Hong Kong: mixed signal

อัตราการว่างงาน เดือน ก.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 6.3 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ -2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า

UK: improving economic trend

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 63 เพิ่มขึนต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จากเดือน พ.ค. 63 มาอยู่ที่ร้อยละ 1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 4 เดือน นับตั้งแต่เดือน มี.ค. 63 ขณะที่เดือน มิ.ย. 63 อยู่ที่ร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ในเดือน มิ.ย. 63 ทำให้ราคาน้ำมัน เสื้อผ้า และของใช้ในบ้านเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นยังคงห่างจากเป้าหมายเงินเฟ้อที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้เมื่อเดือน เม.ย. 63 ที่ร้อยละ 2 ขณะที่ยอดค้าปลีกเดือน ก.ค. 63 กลับมาเป็นบวกอีกครังอยู่ที่ร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังจากที่เริ่มติดลบตั้งแต่เดือนมี.ค. 63 และต่ำที่สุดในเดือน เม.ย. 63 จากการใช้มาตรการเพื่อควบคุมแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

Malaysia: improving economic trend

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 63 หดตัวร้อยละ -1.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.9 จากราคาสินค้าในหมวดการศึกษาเป็นสำคัญ

Singapore: mixed signal

มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 63 หดตัวร้อยละ -7.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -4.3 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -9.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน คงที่จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -9.9 ส่วนดุลการค้ายังคงเกินดุลอยู่ที่ 3.3 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์

Indonesia: mixed signal

ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบียนโยบาย อยู่ที่ร้อยละ 4 ต่อปี ขณะที่มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 63 หดตัวร้อยละ -9.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นมูลค่า 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ในขณะที่เดือนก่อนหน้าขยายตัวร้อยละ 2.1 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -32.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน คิดเป็นมูลค่า 1.04 หมื่นล้านดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -6.4 ส่งผลให้เกินดุลอยู่ที่ 3.3 พันล้านดอลลาร์สรอ.

Philippines: mixed signal

ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศคงอัตราดอกเบียนโยบาย อยู่ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี

Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET โดยรวมปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย โดยเมื่อวันที่ 20 ส.ค. 63 ปิดที่ระดับ 1,296.79 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 17 - 20 ส.ค. 63 ที่ 51,259 ล้านบาทต่อวัน นักลงทุนทั่วไปในประเทศ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ขายสุทธิ ทังนี ระหว่างวันที่ 17 - 20 ส.ค. 63 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ จำนวน 5,345 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสัน (ต่ำกว่า 1 ปี) คงที่ ขณะที่ระยะกลาง และระยะยาว ปรับตัวเพิ่มขึนในช่วง 0 ถึง 3 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทังนีระหว่างวันที่ 17 - 20 ส.ค. 63 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ตลาดพันธบัตรสุทธิ มูลค่า 671 ล้านบาท

เงินบาทแข็งค่าขึนเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 13 ส.ค. 63 เงินบาทปิดที่ 31.05 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.07 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สวนทางกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ อาทิ เยน ยูโร ริงกิต และดอลลาร์สิงคโปร์ ที่อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่สกุลเงินหลักอื่น ๆ อาทิ วอน และหยวน แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ หลายสกุล ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึนร้อยละ 0.37 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ