Executive Summary
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ส.ค. 63 ลดลงร้อยละ -0.50 ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้นร้อยละ 0.30 ต่อปี
- ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ส.ค. 63 หดตัวร้อยละ -2.2 ต่อปี
- ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ส.ค. 63 หดตัวร้อยละ -2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.ค. 63 เกินดุล 1,787.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินเชื่อในสถาบันการเงินในเดือน ก.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- เงินฝากในสถาบันการเงินในเดือน ก.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 11.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 47.0 ของ GDP
- GDP เกาหลีใต้ ไตรมาสที่ 2 ปี 63 หดตัวที่ร้อยละ -2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP ออสเตรเลีย ไตรมาสที่ 2 ปี 63 หดตัวที่ร้อยละ -6.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP อินเดีย ไตรมาสที่ 2 ปี 63 หดตัวที่ร้อยละ -23.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ส.ค. 63 ลดลงร้อยละ -0.50 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และหดตัวในอัตราที่น้อยที่สุดในรอบ 6 เดือน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคากลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะเนื้อสุกร จากความต้องการที่ยังคงสูงต่อเนื่อง ทั้งจากตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ ขณะที่ราคากลุ่มพลังงานเริ่มทรงตัวแต่ยังต่ำกว่าปีก่อน สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคอื่น ๆ ยังเคลื่อนไหวสอดคล้องกับปริมาณสินค้า ความต้องการ และการส่งเสริมการขาย และเมื่อหักราคาอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.30 ต่อปี
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ส.ค. 63 หดตัวร้อยละ -2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการหดตัวของหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต และหมวดซีเมนต์ ที่ปรับลดลงร้อยละ -10.2 -1.9 และ -0.3 ตามลำดับ โดยมีปัจจัยสำคัญจากปริมาณผลผลิตที่ยังมากกว่าความต้องการ และผู้ประกอบการหลายราย ปรับราคาลงเพื่อเร่งระบายสินค้าที่มีการผลิตไว้ล่วงหน้าก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างของภาครัฐหลายโครงการที่กำลังเร่งดำเนินการ และความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจโดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ และมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ จะเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้ความต้องการในภาคก่อสร้างภายในประเทศกลับมาขยายตัวในระยะต่อไป
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนส.ค. 63 หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่า หดตัวที่ร้อยละ -6.3 เทียบกับเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผู้บริโภคยังคงระมัดระวังการใช้จ่ายในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และสถาบันการเงิน ยังคงมีความเข้มงวดในการให้สินเชื่อมากกว่าปกติ
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.ค. 63 เกินดุล 1,787.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ขาดดุล -246.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลที่ -2,325.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP) เกินดุลเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4,112.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่า การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่ามูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 7 เดือนแรกของปี 63 เกินดุลรวม 9,867.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ก.ค. 63 มียอดคงค้าง 18.8 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) โดยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ขยายตัวเร่งขึ้น เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อ พบว่า สินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 3.8 และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้น ที่ร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ก.ค. 63 มียอดคงค้าง 22.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 11.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 1.1 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นที่ร้อยละ 11.7 และเงินฝากสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นที่ร้อยละ 8.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ค. 63 มีจำนวนทั้งสิ้น 7,579,942 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 47.0 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 146,839 ล้านบาท ทั้งนี้ สถานะ หนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุคงเหลือ คิดเป็นร้อยละ 87.2 ของยอดหนี้สาธารณะ และเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 98.1 ของยอดหนี้สาธารณะ
Global Economic Indicators: This Week
ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 56 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 54.2 จุด จากยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้น
ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม (NBS) เดือน ส.ค. 63 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า โดยอยู่ที่ระดับ 51.0 จุด โดยดัชนีหมวดย่อยผลผลิตปรับตัวลดลง ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม (Caixin) เดือน ส.ค. 63 ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยอยู่ที่ระดับ 53.1 จุด เริ่มสะท้อนถึงเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยโดยดัชนีย่อยผลผลิตและยอดคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ขยายตัวเร่งขึ้นในอัตราสูง ดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการ (Caixin) เดือน ส.ค. 63 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า โดยอยู่ที่ระดับ 54.0 จุด โดยยอดคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ยังคงขยายตัวได้ในระดับที่ดีอยู่
ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -2.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการกลับมาหดตัวจากเดือน มิ.ย. 63 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -16.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 10 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ส.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 29.3 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 29.5 จากผลกระทบของ COVID-19 อัตราว่างงาน เดือน ก.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยะ 2.8 ดัชนี PMI ภาคอุตสาหกรรม (final) เดือน ส.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 47.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 45.2
ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 51.7 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 51.8 จุด จากหมวดผลผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ลดลง อัตราเงินเฟ้อ (เบื้องต้น) เดือน ส.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นการหดตัวในรอบ 4 ปี จากหมวดอาหาร เครื่องดื่ม และพลังงาน เป็นสำคัญ อัตราการว่างงาน เดือน ก.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 7.9 ของกำลังแรงงานรวม เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่ร้อยละ 7.7
ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -23.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยยอดขายสินค้าเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าหดตัวเร่งขึ้น ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 63 ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยอยู่ที่ระดับ 44.0 จุด โดยยอดผลผลิตและคำสั่งซื้อสินค้าใหม่หดตัวสูง
ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 52.2 จุด ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ดัชนีย่อยหมวดผลผลิตและ ยอดคำสั่งซื้อสินค้าใหม่ขยายตัวเร่งขึ้นในอัตราสูงที่สุดในรอบ 2 ปี
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 63 หดตัวที่ร้อยละ -2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยจากการหดตัวของการบริโภคภาคเอกชน การส่งออกและภาคการผลิตที่ลดลง ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -2.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.5 ซึ่งเป็นการหดตัวต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 4 ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน ซึ่งยังคงเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ดุลการค้าเดือน ส.ค. 63 เกินดุลอยู่ที่ 4.12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าซึ่งเกินดุลที่ 4.13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออก ส.ค. 63 หดตัวร้อยละ -9.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 39.66 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ขณะที่มูลค่าการนำเข้า ส.ค. 63 หดตัวร้อยละ -16.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 35.54 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 63 อยู่ที่ 48.5 จุด เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ เม.ย. 63 โดย เดือน ก.ค. 63 อยู่ที่ 46.9 จุด
ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 63 อยู่ที่ 55.2 จุด ลดลงเล็กน้อยจากระดับ 55.3 จุด ในเดือนก่อนหน้า
ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 50.8 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 1.32 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากราคาสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ เป็นสำคัญ
ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 49.3 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.0 จุด
ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 47.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 48.4 จุด
ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 45.7 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 47.6 จุด
ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 43.6 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 45.6 จุด
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 63 หดตัวที่ร้อยละ -6.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวที่ร้อยละ 1.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการหดตัวสูงสุดในประวัติการณ์ ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.25 ด้านมูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 63 หดตัวร้อยละ -18.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -11.2 จากทุกหมวดสินค้าที่ปรับตัวลงยกเว้น แร่เหล็ก มูลค่าการนำเข้า หดตัวร้อยละ -2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.2 จากหมวดอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าทุน เป็นสำคัญ ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ก.ค. 63 เกินดุลที่ 2.04 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 63 หดตัวที่ร้อยละ -23.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราการหดตัวที่มากที่สุดในประวัติการณ์ จากมาตรการ lockdown ประเทศ นับตั้งแต่เดือน มี.ค. 63 เป็นต้นมา ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 52 จุดเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 46 จุด
ดัชนี SET โดยรวมปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย โดยมีการปรับลดลงในช่วงต้นสัปดาห์และปรับเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ทั้งนี้ ดัชนี SET เมื่อวันที่ 2 ก.ย. 63 ปิดที่ระดับ 1,315.88 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 31 ส.ค. - 2 ก.ย. 63 ที่ 48,774 ล้านบาท ต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 31 ส.ค. - 2 ก.ย. 63 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -9,177 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี) ไม่มีการปรับตัว ระยะกลาง (มากกว่า 1 ปี - 10 ปี) และระยะยาว (มากกว่า 10 ปี) ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 0 ถึง 10 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.96 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 31 ส.ค. - 2 ก.ย. 63 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 3,902.75 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 2 ก.ย. 63 เงินบาทปิดที่ 31.23 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.40 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหลักอื่น ๆ ทุกสกุล ได้แก่ เยน ยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นน้อยกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ หลายสกุล ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.07 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง