ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนกันยายน 2563
“ดัชนีRSI เดือนกันยายน2563 ชี้แนวโน้มความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจไทยที่ดีขึ้นในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกในภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมจากมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) ที่มีแนวโน้มคลี่คลายลง อย่างไรก็ตามดัชนีแนวโน้มด้านการลงทุนและการจ้างงานของ กทม. และปริมณฑลยังชะลอตัว”
นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุลที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลังและนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกันยายน 2563 ที่เป็นการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัด จากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคพบว่า “ดัชนี RSI เดือนกันยายน2563 ชี้แนวโน้มความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจไทยที่ดีขึ้นในทุกภูมิภาคโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคเหนือและภาคตะวันออกในภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมจากมาตรการต่างๆของภาครัฐและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) ที่มีแนวโน้มคลี่คลายลงอย่างไรก็ตามดัชนีแนวโน้มด้านการลงทุนและการจ้างงานของกทม. และปริมณฑลยังชะลอตัว”
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 62.7แสดงถึงความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วโดยมีภาคเกษตรและภาคบริการเป็นปัจจัยสนับสนุนเนื่องจากปริมาณผลผลิตการเกษตรมีทิศทางปรับตัวดีขึ้นอาทิ ข้าวยางพาราและสับปะรดเป็นต้น นอกจากนี้ หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เริ่มคลี่คลาย ร้านค้าเริ่มทยอยเปิดกิจการและเริ่มมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นสำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคเหนือ อยู่ที่ระดับ 60.3 สะท้อนถึงการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเนื่องจากเป็นช่วงที่พืชผลทางการเกษตรหลายชนิดออกสู่ตลาดเช่นข้าวนาปีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ชาและกาแฟเป็นต้นและทำให้มีวัตถุดิบป้อนโรงงานมากขึ้นด้วยสำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคตะวันออก อยู่ที่ระดับ60.0 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าเช่นกันโดยมีภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมเป็นปัจจัยสนับสนุนหลัก เนื่องจากปริมาณน้ำฝนเพิ่มมากขึ้นทำให้เกษตรกรเพาะปลูกข้าวเพิ่มขึ้นและมีการลงทุนในการผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เริ่มคลี่คลายจึงคาดว่าจะมีความต้องการซื้อสินค้าที่สูงขึ้น สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตกอยู่ที่ 57.6 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ขยายตัวโดยมีภาคเกษตรและภาคการจ้างงานเป็นปัจจัยสนับสนุนหลัก เนื่องจากคาดว่าปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่จะส่งออกอาหารทะเลได้เพิ่มขึ้น ประกอบกับแนวโน้มการจ้างงานภาพรวม 6 เดือนข้างหน้ายังอยู่ในเกณฑ์ดีตามการคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่มีแนวโน้มดีขึ้นจากการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคธุรกิจต่างๆทั้งการช่วยเหลือด้านเงินทุนและกระตุ้นการใช้จ่ายทำให้เกิดความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคใต้อยู่ที่ 57.2 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าโดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากอุปสงค์การใช้ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ทำจากยางพาราปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั่วโลกรวมถึงมาตรการของภาครัฐที่ช่วยเหลือภาคเกษตรกรรมของภาคใต้อีกทั้งเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยอนุญาตให้จัดกิจกรรมและเปิดสถานประกอบการได้เพิ่มขึ้นภายใต้แนวทาง Social Distancing ซึ่งรัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อและการลงทุนให้แก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องสำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคกลางอยู่ที่ระดับ 56.2 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ ตามการฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้ประชาชนเริ่มออกมาท่องเที่ยวและใช้บริการโรงแรมและภัตตาคารมากขึ้น สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 49.9 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคบริการ อย่างไรก็ดี ภาคการลงทุนและการจ้างงานยังชะลอตัว
สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0-2273-9020ต่อ 3254 หรือ 3223
ที่มา: กระทรวงการคลัง