Executive Summary
- ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน ส.ค. 63 หดตัว ณ ระดับราคาคงที่ที่ร้อยละ -3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ส.ค.63 หดตัวร้อยละ -14.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ส.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -9.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ส.ค. 63 หดตัวร้อยละ -11.5 ต่อปี
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ส.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 47.9 ของ GDP
- การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ส.ค. ปีงบประมาณ 63 ขยายตัว ร้อยละ 9.2 ต่อปี
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ส.ค. ปีงบประมาณ 63 ขยายตัวร้อยละ 18.0 ต่อปี
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือน ส.ค. ปีงบประมาณ 63 ขาดดุลจำนวน -36,227 ล้านบาท
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ส.ค. 63 เกินดุล 2,995.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 10.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- GDP สหราชอาณาจักร ไตรมาสที่ 2 ปี 63 หดตัวที่ร้อยละ -21.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- GDP เวียดนาม ไตรมาสที่ 3 ปี 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.62 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ในเดือน ส.ค. 63 หดตัว ณ ระดับราคาคงที่ที่ร้อยละ -3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวได้ที่ร้อยละ 4.3 โดยภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายภายในประเทศกลับมาขยายตัวได้ที่ร้อยละ 4.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ของภาครัฐ ส่งผลให้ภาคธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้ รวมถึงมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วย และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่าขยายตัวได้ที่ร้อยละ 6.2 ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้ายังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -17.2 สอดคล้องกับทิศทางการนำเข้าของประเทศที่ยังคงหดตัวเช่นกัน
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนส.ค.63 หดตัวร้อยละ -14.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวร้อยละ -6.9 ต่อเดือนหลังปรับผลทางฤดูกาล จากการหดตัวในหมวดการจัดเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการขายอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลธรรมดา ที่หดตัว ร้อยละ -30.5 ตามสภาวะทางเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัวจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้ประชาชนชะลอการบริโภคหรือลงทุนในสินค้าที่มีค่าใช้จ่ายสูงอย่างที่อยู่อาศัย ขณะเดียวกัน ปัญหาหนี้ครัวเรือนและสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสถาบันการเงินที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยกดดันต่อความต้องการบริโภคและการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ การผ่อนปรนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถกลับมาดำเนินการต่อได้ การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำ และมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจของภาครัฐ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์ในช่วงที่เหลือของปี อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามผลหลังจากการสิ้นสุดมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและลูกหนี้ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 บางส่วนที่จะทยอยสิ้นสุด ว่าจะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนอย่างไรต่อไป
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ส.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -9.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการหดตัวที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญของการหดตัวของดัชนีฯ ในเดือนดังกล่าว มาจากดัชนีฯ ย่อยในหลายหมวดที่ยังคงหดตัว อาทิ หมวดเครื่องหนัง ยานยนต์ และเครื่องแต่งกาย ที่หดตัวร้อยละ -29.8 -29.2 และ -28.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่การผลิตเคมีภัณฑ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 2.0 และ 12.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ
ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ส.ค. 63 หดตัวร้อยละ -11.5 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลแล้ว พบว่า หดตัวร้อยละ -2.1 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -17.1 โดยเหล็กที่ใช้ในอุตสาหกรรม ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.6 และ -28.3 ตามลำดับ สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ผลจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมาดำเนินการมากขึ้นหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดในไทยใกล้กลับสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม เหล็กที่ใช้สำหรับการก่อสร้างยังคงปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามการก่อสร้างของภาครัฐเป็นสำคัญ ทั้งนี้ แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ รวมถึงมาตรการต่างๆ ของรัฐ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนความต้องการบริโภคเหล็กในประเทศในระยะถัดไป
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ส.ค. 63 มีจำนวนทั้งสิ้น 7,667,761 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 47.9 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 87,818 ล้านบาท ทั้งนี้ สถานะ หนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุคงเหลือ คิดเป็นร้อยละ 87.2 ของยอดหนี้สาธารณะ และเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 98.2 ของยอดหนี้สาธารณะ
การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ส.ค. ปีงบประมาณ 63 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 183,646 ล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 9.2 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 82.3 โดย (1) รายจ่ายปีปัจจุบัน เบิกจ่ายได้ 174,169 ล้านบาทขยายตัวร้อยละ 10.1 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 82.9 ทั้งนี้ แบ่งออกเป็น (1.1) รายจ่ายประจำ 127,159 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.6 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 90.7 และ (1.2) รายจ่ายลงทุน 47,010 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 42.4 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 48.3 (2) รายจ่ายปีก่อน เบิกจ่ายได้ 9,477 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -4.3 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 75.4 ต่อปี
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ส.ค. ปีงบประมาณ 63 ได้ 250,352 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 18.0 ต่อปี โดยมาจาก (1) รายได้การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล ขยายตัวร้อยละ 61.6 และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขยายตัวร้อยละ 33.7 หลังจากสิ้นสุดมาตรการการขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีต่าง ๆ ออกไป และ (2) รายได้จากหน่วยงานอื่นขยายตัวร้อยละ 21.3 ต่อปี จากการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่ขยายตัวร้อยละ 109.8 ต่อปี
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือน ส.ค. ปีงบประมาณ 63 พบว่า ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -36,227 ล้านบาททั้งนี้ และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลแล้วพบว่าเงินสดก่อนกู้ขาดดุล -34,222 ล้านบาท โดยในเดือนนี้ รัฐบาลมีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล และทำให้ดุลเงินสดหลังกู้เกินดุลอยู่ที่ 31,278 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ส.ค. 63 อยู่ที่ 355,851 ล้านบาท
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ส.ค. 63 เกินดุล 2,995.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่เกินดุล 1,735.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลที่ -2,382.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP) เกินดุลเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5,377.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่ามูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 8 เดือนแรกของปี 63 เกินดุลรวม 14,403.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 63 มียอดคงค้าง 18.8 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวชะลอลงที่ ร้อยละ 3.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) โดยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ขยายตัวชะลอลง เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อ พบว่า สินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 3.3 ในขณะที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นที่ร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ส.ค. 63 มียอดคงค้าง 22.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวชะลอลงที่ ร้อยละ 10.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 11.1 และเงินฝากสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ
Global Economic Indicators: This Week
ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 63 อยู่ที่ระดับ 55.4 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 56 จุด ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ที่ระดับ 56.4 จุด
ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 63 อยู่ที่ระดับ 51.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51 จุด สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ที่ระดับ 51.2 จุด นับเป็นการเพิ่มขึ้นรายเดือนติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 สะท้อนการส่งสัญญาณการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องหลังจากผลกระทบจาก COVID-19 ในขณะที่ดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการ NBS เดือน ก.ย. 63 เพิ่มขึ้นเช่นกันที่ระดับ 55.9 จุด จากระดับที่ 55.2 จุดในเดือนก่อนหน้า
ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. 63 ปรับตัวขึ้นร้อยละ 1.7 จากเดือนก่อนหน้า .โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการเพิ่มการผลิตของอุตสาหกรรมรถยนต์ ผลิตภัณฑ์โลหะ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 63 อยู่ที่ระดับ 47.7 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 47.2 จุด อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 63 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.9 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ย. 63 อยู่ที่ระดับ 32.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 29.3
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Indicator) เดือน ก.ย. 63 อยู่ที่ระดับ -13.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ -14.7 จุด ในขณะที่ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 63 อยู่ที่ระดับ 53.7 เพิ่มขึ้นจากเดือน ส.ค. 63 ที่ระดับ 51.7 จุด ส่วนอัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 63 เร่งตัวจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 8.1
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 63 หดตัวที่ร้อยละ -21.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยยังคงเป็นการหดตัวที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่มีการเริ่มเก็บข้อมูลมาในปี 2499 ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 63 อยู่ที่ระดับ 54.1 จุด ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าทิ่อยู่ที่ระดับ 55.2 จุด
ดุลการค้าเดือน ก.ย. 63 เกินดุลอยู่ที่ 8.88 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งเกินดุลที่ 3.84 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออก ก.ย. 63 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 48.05 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ขณะที่มูลค่า การนำเข้า ก.ย. 63 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 39.17 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ
ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 63 อยู่ที่ระดับ 56.8 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 52.0 จุด เนื่องจากมาตรการ COVID-19 คลายความเข้มงวดลง และมีคำสั่งซื้อสินค้าหมวดอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 63 อยู่ที่ระดับ 47.2 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.8 จุด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 63 อยู่ที่ร้อยละ 1.42 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.32
มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 63 หดตัวร้อยละ-2 .9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -6 .5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -8.7 ส่วนดุลการค้ายังคงเกินดุลอยู่ที่ 13.2พันล้านริงกิตมาเลเซียขณะที่ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 63 อยู่ที่ระดับ 49.0 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 49.3 จุด
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 63 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี ขณะที่ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 63 อยู่ที่ระดับ 50.1 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 47.3 จุด
GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.62 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 63 อยู่ที่ระดับ 52.2 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 45.7 จุด ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.6 จากสินค้าในหมวดอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ขณะที่ยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. 63 ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ย. 63 ขยายตัวร้อยละ18 .0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.1 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 11.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 ส่งผลให้ดุลการค้ายังคงเกินดุลอยู่ที่ 3.5พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย. 63 อยู่ที่ร้อยละ 2.98 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.18 จากราคาสินค้าบริการอาหารและจัดเลี้ยงเป็นสำคัญ
ดัชนี SET โดยรวมปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย โดยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นช่วงต้นสัปดาห์ และลดลงในช่วงกลางสัปดาห์ สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ที่ปรับตัวลดลง เช่น HSI (ฮ่องกง) PSEi (ฟิลิปินส์) และ TWSE (ไต้หวัน) เป็นต้น ทั้งนี้ ดัชนี SET เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 63 ปิดที่ระดับ 1,247.59 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 28 ก.ย. - 1 ต.ค. 63 ที่ 43,336 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 28 ก.ย. - 1 ต.ค. 63 นักลงทุนต่างชาติ ขาย หลักทรัพย์สุทธิ -6,836.71 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น (น้อยกว่า 1 ปี) ไม่มีการปรับตัว ระยะกลาง (1 ปี - 10 ปี) ปรับตัวเพิ่มชึ้นในช่วง 0 ถึง 3 bps และระยะยาว (มากกว่า 10 ปี) ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 0 ถึง 2 bps โดยในสัปดาห์นี้ไม่มีการเข้าประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 28 ก.ย. - 1 ต.ค. 63 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 1,520.43 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 1 ต.ค. 63 เงินบาทปิดที่ 31.59 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.07 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุล ยูโร ริงกิต และดอลลาร์สิงคโปร์ ที่แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน ขณะที่ค่าเงินเยน วอน และหยวน อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นน้อยกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ หลายสกุล ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.23 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง