?เศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายน 2563 มีการปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยเฉพาะในด้านอุปสงค์ สะท้อนจากการบริโภคสินค้าคงทนและการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากมาตรการผ่อนคลายการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) เช่นเดียวกับการส่งออกสินค้าที่หดตัวในอัตราชะลอลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ด้านอุปทาน พบว่า ภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมยังคงปรับตัวดีขึ้น แต่ภาคบริการด้านการท่องเที่ยวยังคงชะลอตัว?
นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วยนายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกันยายน 2563 พบว่า ?เศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายน 2563 มีการปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยเฉพาะในด้านอุปสงค์ สะท้อนจากการบริโภคสินค้าคงทนและการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากมาตรการผ่อนคลาย การป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) เช่นเดียวกับการส่งออกสินค้าที่หดตัวในอัตราชะลอลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ด้านอุปทาน พบว่า ภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมยังคงปรับตัวดีขึ้น แต่ภาคบริการด้านการท่องเที่ยวยังคงชะลอตัว? โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ปรับตัวดีขึ้น โดยกลับมาขยายตัวร้อยละ 0.1 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 3.3 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สอดคล้องกับการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน ที่สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งและปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 32.6 และ 0.7 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และหดตัวในอัตราชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -12.2 และ -0.2 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุน จากรายได้เกษตรกรที่แท้จริงขยายตัวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันและขยายตัวสูงสุดในรอบ 25 เดือน ที่ร้อยละ 10.5 ต่อปี อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 50.2 หลังจากมีการชุมนุมทางการเมืองหลายครั้งในเดือนกันยายน 2563
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์กลับมาขยายตัวร้อยละ 13.5 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 5.0 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สอดคล้องกับปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 4.4 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และหดตัวในอัตราที่ชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -7.5 ส่วนการลงทุนในหมวดการก่อสร้างปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนเช่นกัน สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อปี ในขณะที่การจัดเก็บภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และหดตัวชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -13.0 บ่งชี้ถึงการลงทุนภาคเอกชนค่อย ๆ ฟื้นตัวมากขึ้น
เศรษฐกิจภาคการค้าระหว่างประเทศปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หดตัวในอัตราที่ชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -3.9 และเป็นการปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน จากการขยายตัวต่อเนื่องในกลุ่มสินค้า 1) สินค้าอาหาร เช่น น้ำมันปาล์ม และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่ขยายตัวร้อยละ 435.3 และ 50.3 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับการส่งออกสุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง สิ่งปรุงรสอาหาร และอาหารสัตว์เลี้ยงที่ขยายตัวต่อเนื่อง 2) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อาทิ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องซักผ้า และโซลาร์เซลล์ เป็นต้น และ 3) สินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น ถุงมือยาง ที่ขยายตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาด โดยเฉพาะในประเทศที่มีการแพร่ระบาดสูงอย่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ขณะที่ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ เป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงสำหรับประเทศที่มีการแพร่ระบาดรุนแรงในแถบเอเชีย อย่างไรก็ดี การส่งออกยานยนต์ น้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน และแผงวงจรไฟฟ้ายังคงชะลอตัว ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้า โดยจำแนกเป็นรายตลาดคู่ค้าหลักของไทย พบว่า ตลาดคู่ค้าหลักของไทยเกือบทุกตลาดปรับตัวดีขึ้นโดยการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 19.7 ต่อปี เช่นเดียวกับการส่งออกไปจีน ออสเตรเลีย เวียดนาม มาเลเซีย และเกาหลีใต้ กลับมาขยายตัวอีกครั้ง สะท้อนแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปของประเทศคู่ค้าหลักของไทย
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น โดยหดตัวในอัตราที่ชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -2.8 จากการขยายตัวในอุตสาหกรรมการแปรรูปผักและผลไม้ อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันมาอยู่ที่ระดับ 85.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการผ่อนคลายการล็อคดาวน์ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวขึ้น รวมทั้งการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ในช่วงที่ผ่านมา ช่วยให้กำลังซื้อในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น สำหรับภาคเกษตร สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 0.2 ต่อปี จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าว ข้าวโพด และไก่เนื้อ เป็นต้น ในขณะที่สถานการณ์ ของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ที่มีการแพร่ระบาดต่อเนื่องในต่างประเทศ ส่งผลให้ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยต่อเนื่องเป็นที่ 6 นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 ขณะที่การท่องเที่ยวภายในประเทศยังคงชะลอตัว เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.7 ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563 อยู่ที่ร้อยละ 47.9 ต่อ GDP ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ส่วนเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 อยู่ในระดับสูงที่ 251.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เอกสารแนบ
?เศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายน 2563 มีการปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยเฉพาะในด้านอุปสงค์ สะท้อนจากการบริโภคสินค้าคงทนและการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากมาตรการผ่อนคลายการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) เช่นเดียวกับการส่งออกสินค้าที่หดตัวในอัตราชะลอลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ด้านอุปทาน พบว่า ภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมยังคงปรับตัวดีขึ้น แต่ภาคบริการด้านการท่องเที่ยวยังคงชะลอตัว?
1. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ปรับตัวดีขึ้น โดยกลับมาขยายตัวร้อยละ 0.1 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 3.3 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สอดคล้องกับการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน ที่สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งและปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 32.6 และ 0.7 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และหดตัวในอัตราชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -12.2 และ -0.2 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตรกรที่แท้จริงขยายตัวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันและขยายตัวสูงสุดในรอบ 25 เดือน ที่ร้อยละ 10.5 ต่อปี อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 50.2 หลังจากมีการชุมนุมทางการเมืองหลายครั้งในเดือนกันยายน 2563
2. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์กลับมาขยายตัวร้อยละ 13.5 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 5.0 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สอดคล้องกับปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวร้อยละ 4.4 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และหดตัวในอัตราที่ชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -7.5 ส่วนการลงทุนในหมวดการก่อสร้างปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนเช่นกัน สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อปี ในขณะที่การจัดเก็บภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และหดตัวชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -13.0 บ่งชี้ถึงการลงทุนภาคเอกชนค่อย ๆ ฟื้นตัวมากขึ้น
3. การใช้จ่ายงบประมาณ สะท้อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณรวม ในเดือนกันยายน 2563 เบิกจ่ายได้จำนวน 322.4 พันล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 292.4 พันล้านบาท แบ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ 211.8 พันล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 80.6 พันล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 30.0 พันล้านบาท ทำให้ในปีงบประมาณ 2563 มีการเบิกจ่ายรวม 3,168.7 พันล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 2,943.9 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 2,575.9 พันล้านบาท รายจ่ายลงทุน 367.9 พันล้านบาท ในขณะที่การเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 224.9 พันล้านบาท
4. เศรษฐกิจภาคการค้าระหว่างประเทศปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หดตัวในอัตราที่ชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -3.9 และเป็นการปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน จากการขยายตัวต่อเนื่องในกลุ่มสินค้า 1) สินค้าอาหาร เช่น น้ำมันปาล์ม และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่ขยายตัวร้อยละ 435.3 และ 50.3 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับการส่งออกสุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง สิ่งปรุงรสอาหาร และอาหารสัตว์เลี้ยงที่ขยายตัวต่อเนื่อง 2) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อาทิ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องซักผ้า และโซลาร์เซลล์ เป็นต้น และ 3) สินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและ ลดการแพร่ระบาด เช่น ถุงมือยาง ที่ขยายตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาด โดยเฉพาะในประเทศที่มีการแพร่ระบาดสูงอย่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ขณะที่ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ เป็นสินค้าที่มีความต้องการสูงสำหรับประเทศที่มีการแพร่ระบาดรุนแรงในแถบเอเชีย อย่างไรก็ดี การส่งออกยานยนต์ น้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน และแผงวงจรไฟฟ้ายังคงชะลอตัว ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้า โดยจำแนกเป็นรายตลาดคู่ค้าหลักของไทย พบว่า ตลาดคู่ค้าหลักของไทยเกือบทุกตลาดปรับตัวดีขึ้นโดยการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 19.7 ต่อปี เช่นเดียวกับ การส่งออกไปจีน ออสเตรเลีย เวียดนาม มาเลเซีย และเกาหลีใต้ กลับมาขยายตัวอีกครั้ง สะท้อนแนวโน้มการฟื้นตัว อย่างค่อยเป็นค่อยไปของประเทศคู่ค้าหลักของไทย
5. เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น โดยหดตัวในอัตราที่ชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -2.8 จากการขยายตัวในอุตสาหกรรมการแปรรูปผักและผลไม้ อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันมาอยู่ที่ระดับ 85.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการผ่อนคลายการล็อคดาวน์ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวขึ้น รวมทั้งการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ในช่วงที่ผ่านมา ช่วยให้กำลังซื้อในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น สำหรับภาคเกษตร สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 0.2 ต่อปี จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าว ข้าวโพด และไก่เนื้อ เป็นต้น ในขณะที่สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ที่มีการแพร่ระบาดต่อเนื่องในต่างประเทศ ส่งผลให้ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยต่อเนื่องเป็นที่ 6 นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 ขณะที่การท่องเที่ยวภายในประเทศยังคงชะลอตัว
6. เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.7 ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2563 อยู่ที่ร้อยละ 47.9 ต่อ GDP ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ส่วนเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2563 อยู่ในระดับสูงที่ 251.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง