Executive Summary
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ต.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวม ภายในประเทศเดือน ต.ค. 63 หดตัวร้อยละ -5.6 ต่อปี
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ต.ค. 63 หดตัว ร้อยละ -0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ต.ค. 63 ขยายตัว ร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- มูลค่าการส่งออกในเดือน ต.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- มูลค่าการนำเข้าในเดือน ต.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -14.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ในเดือน ต.ค. 63 มีทังสิน 1,201 คน ลดลงที่ร้อยละ -99.96 ต่อปี
- GDP สิงคโปร์ ไตรมาสที่ 3 หดตัวที่ร้อยละ -5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ต.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -0.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการหดตัวที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญของการหดตัวของดัชนีฯ ในเดือนดังกล่าวมาจากดัชนีฯ ย่อยในหลายหมวดที่ยังคงหดตัว อาทิ หมวดเครื่องหนัง เครื่องแต่งกาย และ การปั่นการทอ ที่หดตัวร้อยละ -34.1 -19.8 และ -11.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า น้ำมันปิโตรเลียม และเฟอร์นิเจอร์ ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 13.5 8.4 และ 6.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ
ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ต.ค. 63 หดตัวร้อยละ -5.6 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อเดือนหลังปรับผลทางฤดูกาล โดยมีปัจจัยมาจากการหดตัวของเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างบางชนิดกลับมาหดตัว ได้แก่ เหล็กเส้นข้ออ้อย เหล็กเส้นกลม เหล็กลวด ที่หดตัวร้อยละ -10.8 -25.1 และ -21.0 ต่อปีตามลำดับ ขณะที่เหล็กที่ใช้ในอุตสาหกรรมปรับตัว ดีขึ้น สอดคล้องกับการฟื้นตัวภาคอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ต.ค. 63 หดตัวร้อยละ -0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -1.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ส่งผลให้ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2563 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมหดตัวที่ ร้อยละ -6.9 หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตร ในเดือน ต.ค. 63 พบว่า ผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวในหมวดหมวดปศุสัตว์ที่ร้อยละ 2.6 ขณะที่ผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญและหมวดประมงหดตัวที่ร้อยละ -0.8 และ -6.3 โดยสินค้าสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ มันสำปะหลังข้าวเปลือก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และไก่ ขณะที่สินค้าสำคัญที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ยางพารา กลุ่มไม้ผล สุกร และกุ้งขาวแวนนาไม
ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ต.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 12.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือ คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ส่งผลให้ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 63 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวที่ร้อยละ 5.3 หากพิจารณารายหมวดราคาสินค้าเกษตรในเดือน ต.ค. 63 พบว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในทุกหมวดสินค้า โดยหมวดพืชผลสำคัญ หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงขยายตัวที่ร้อยละ 13.6 9.4 และ 6.3 โดยสินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กลุ่มไม้ผล สุกร และกุ้งขาวแวนนาไม ขณะที่สินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก ไก่ และไข่ไก่
มูลค่าการส่งออกในเดือน ต.ค. 63 มีมูลค่า 19,377 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวที่ร้อยละ -6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการลดลงของการส่งออกสินค้าในหมวดสำคัญ อาทิ หมวดสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน รวมถึงหมวดรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อย่างไรก็ดี สินค้าที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ 1) สินค้าอาหาร เช่น น้ำมันปาล์ม อาหารสัตว์เลี้ยง เครื่องปรุงรส และผัก ผลไม้สด แช่แข็งกระป๋องและแปรรูป 2) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อาทิ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น และ 3) สินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น ถุงมือยาง ที่ขยายตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาด หากเป็นรายตลาดคู่ค้าหลักของไทย พบว่า การส่งออกไปอาเซียน 9 ประเทศชะลอตัวที่ร้อยละ -23.1 ต่อปี เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ในรอบที่ 2 อย่างไรก็ดี การส่งออกไปสหรัฐฯ และทวีปออสเตรเลียยังขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 17.0 และ 4.2 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 63 ยังคงหดตัวเฉลี่ยร้อยละ -7.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
มูลค่าการนำเข้าในเดือน ต.ค. 63 มีมูลค่า 17,330 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวที่ร้อยละ -14.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการหดตัวของทุกกลุ่มสินค้านำเข้าสำคัญ โดยเฉพาะสินค้าเชื้อเพลิง สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป เป็นสำคัญ ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 63 ยังคงหดตัวเฉลี่ยร้อยละ -14.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สำหรับดุลการค้าในเดือน ต.ค. 63 ยังคงเกินดุลมูลค่า 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 63 ดุลการค้าของไทยเกินดุล 22.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ต.ค. 63 มีทังสิน 1,201 คน ลดลงที่ร้อยละ -99.96 ต่อปี โดยเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเภทพิเศษ (STV) กลุ่มแรกได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศ โดยส่วนใหญ่ เป็นนักท่องเที่ยวชาว จีน และ กัมพูชา รวมทั้งประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน และบางส่วนจากภูมิภาคอื่น ๆ อีกเล็กน้อย ทังนี ตังแต่เดือน ม.ค. - ต.ค. 63 มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติแล้ว 6.7 ล้านคน หดตัวที่ร้อยละ 79.46 ต่อปี ขณะที่การท่องเที่ยวภายในประเทศ พบว่ามีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งสิ้น 13.68 ล้านคน ลดลงที่ร้อยละ -34.67 ต่อปี สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศที่ระดับ 47,073 ล้านบาท คิดเป็นการหดตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -49.29 ต่อปี ส่งผลให้ในช่วง 10 เดือนแรกมีรายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศ 3.7 แสนล้านบาท
Global Economic Indicators: This Week
ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. 63 (เบืองต้น) อยู่ที่ระดับ 56.7 จุด ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 53.4 จุด สะท้อนการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมที่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 57 โดยได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวของธุรกิจใหม่ ขณะที่ดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการเดือน พ.ย. 63 (เบืองต้น) อยู่ที่ระดับ 57.7 จุด ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 56.9 จุด จากยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้น และการขยายตัวของตลาดแรงงาน ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยเดือน ก.ย. 63 ปรับตัวเพิ่มขึนอยู่ที่ร้อยละ 9.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (คิดเป็นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบจากเดือนก่อนหน้า) ส่งสัญญาณฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัยอีกครั้ง จากอัตราดอกเบี้ยที่คงอยู่ในระดับต่ำ และความต้องการซื้อบ้านที่เพิ่มขึ้นจากวิกฤติโควิด-19 ที่ส่งผลให้ผู้คนย้ายออกจากเมืองใหญ่เพิ่มมากขึ้น อัตราเงินเฟ้อ (PCE Index) เดือน ต.ค. 63 คงที่จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 111.68 จุด โดยปรับตัวเพิ่มขึนที่ร้อยละ 1.2 เมื่อเที่ยบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากต้นทุนการบริการที่เพิ่มสูงขึ้นชดเชยกับราคาสินค้าที่ลดต่ำลง
ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. 63 (เบืองต้น) อยู่ที่ระดับ 53.6 จุด ปรับตัวลงจากเดือน ต.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 54.8 จุด อย่างไรก็ดี สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 53.1 จุด เนื่องจากการประกาศล็อกดาวน์เพื่อสกัดการแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ระลอกสองไม่ได้ส่งผลอย่างมีนัยยะสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรม ขณะที่ดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการเดือน พ.ย. 63 (เบืองต้น) อยู่ที่ระดับ 41.3 จุด หดตัวลงจากเดือน ต.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 46.9 จุด และ ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 42.5 จุด เนื่องจากการประกาศล็อกดาวน์เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกสองส่งผลโดยตรงต่อภาคบริการ
การส่งออกเดือน ต.ค. 63 หดตัวลงอยู่ที่ร้อยละ -1.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือน ก.ย. 63 ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 9.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้าเดือน ต.ค. 63 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน.ชะลอตัวลงจากเดือน ก.ย. 63 ที่อยู่ที่ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าเดือน ต.ค. 63 ขาดดุล เพิ่มขึนอยู่ที่ 36.8 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง ขณะที่เดือน ก.ย. 63 ขาดดุลเพียง 12.7 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCSI) เดือน พ.ย. 63 อยู่ที่ 97.9 จุด เพิ่มขึ้น 6.3 จุดเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) มีมติคงอัตราดอกเบียนโยบายที่ระดับร้อยละ 0.5 ในการประชุมวันที่ 26 พ.ย. 63 เพื่อรักษาเสถียรภาพและช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของวิกฤต COVID-19
ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรมเดือน พ.ย. 63 (เบืองต้น) อยู่ที่ระดับ 55.2 จุด ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 53.7 จุด เป็นผลจากความต้องการสินค้าส่งออกในตลาดคู่ค้าที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศจีน และยุโรป ซึ่งเป็นไปได้ว่าลูกค้าในยุโรปเร่งสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าก่อนหมดช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านตามข้อตกลง Brexit อย่างเต็มรูปแบบ ขณะที่ดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการเดือน พ.ย. 63 (เบืองต้น) อยู่ที่ระดับ 45.8 จุด ลดลงจากเดือน ต.ค. 63 ที่ระดับ 51.4 จุด
อัตราการว่างงานเดือน ต.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 3.77 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือน ก.ย. 63 เล็กน้อยที่อยู่ที่ร้อยละ 3.78 โดยอัตราการว่างงานเดือน ต.ค. 63 ถือเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 63 ที่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 และเป็นการปรับตัวลงมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมดือน ต.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 7.06 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือน ก.ย. 63 ที่อยู่ที่ร้อยละ 11.62 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีเพียงผลผลิตด้านน้ำประปาที่ขยายตัวเร่งขึ้น ยอดค้าปลีกเดือน ต.ค. 63 เพิ่มขึนอยู่ที่ร้อยละ 3.26 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวจากเดือน ก.ย.63 ที่ร้อยละ 3.14 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปริมาณการซื้อเพิ่มขึ้นในร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าในหมวดเสื้อผ้า หมวดเวชภัณฑ์และเครื่องสำอาง และจากผู้ค้าปลีกที่ไม่มีหน้าร้าน
GDP ไตรมาสที่ 3 หดตัวที่ร้อยละ -5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -13.3 โดยภาคการก่อสร้างและภาคบริการเป็นสำคัญ ซึ่งหากพิจารณาการขยายตัวรายไตรมาสแล้วขยายตัวร้อยละ 9.2 จากไตรมาสที่ 2 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือน ต.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยราคาสินค้านันทนาการเป็นสำคัญ รวมถึงผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 25.6 โดยสินค้าในหมวด อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสำคัญ
อัตราเงินเฟ้อเดือน ต.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าจากราคาค่าโดยสารเป็นสำคัญ
ดัชนี SET โดยรวมปรับตัวเพิ่มขึนจากสัปดาห์ก่อน โดยมีการปรับตัวลงในช่วงต้นสัปดาห์และกลัมาปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) HSI (ฮ่องกง) TWSE (ไต้หวัน) และ S&P/ASX 200 (ออสเตรเลีย) เป็นต้น ดัชนี SET เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 63 ปิดที่ระดับ 1,433.56 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 23 - 26 พ.ย. 63 ที่ 101,351.09 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ขายสุทธิ ทังนี ระหว่างวันที่ 23 - 26 พ.ย. 63 นักลงทุนต่างชาติ ซือ หลักทรัพย์สุทธิ 6,358.17 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล ระยะสัน (น้อยกว่า 1 ปี) ปรับตัวลดลง -1 bps ระยะกลาง (1ปี - 10 ปี) ปรับตัวในช่วง -4 ถึง 1 bps และระยะยาว (มากกว่า 10 ปี) ปรับตัวเพิ่มขึนในช่วง 1 ถึง 5 bps โดยในสัปดาห์นี้ นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทังนีระหว่างวันที่ 23 - 26 พ.ย. 63 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออก จากตลาดพันธบัตรสุทธิ -7,644.46 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 26 พ.ย. 63 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -50,827.97 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึนเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 26 พ.ย. 63 เงินบาทปิดที่ 30.32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.15 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลยูโร ริงกิต และดอลลาร์สิงคโปร์ที่แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินสกุล เยน วอน และหยวนอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึนร้อยละ 0.11 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง