Executive Summary
- รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนต.ค. ปีงบประมาณ 64 หดตัวร้อยละ -30.6 ต่อปี
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน พ.ย. 63 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 87.4 จากระดับ 86.0 ในเดือนก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน พ.ย. 63 หดตัวร้อยละ -1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน พ.ย. 63 หดตัวที่ ร้อยละ -7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ต.ค. ปีงบประมาณ 64 ได้ 167,358 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -30.6 ต่อปี โดยมาจาก (1) รายได้จากหน่วยงานอื่น หดตัวร้อยละ -59.3 ต่อปี จากรายได้รัฐวิสาหกิจ หดตัวร้อยละ -70.9 ต่อปี จากการนำส่งรายได้ต่ำกว่าเป้าของรัฐวิสาหกิจในกลุ่มพลังงาน (2) ภาษีสรรพสามิต หดตัวร้อยละ ญ22.2 ต่อปี จากภาษีน้ำมัน หดตัวร้อยละ -38.7 ต่อปี และภาษีรถยนต์ หดตัว ร้อยละ -22.8 ต่อปี และ (3) ภาษีมูลค่าเพิ่ม หดตัวร้อยละ -10.4 ต่อปี และภาษีเงินได้นิติบุคคล หดตัวร้อยละ -25.6 ต่อปี จากภาวะเศรษฐกิจและการค้าที่หดตัวเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ในเดือน พ.ย. 63 หดตัวร้อยละ -1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 10.8 จากเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดดีขึ้น และผ่านพ้นช่วงฤดูฝน ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ดีขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการคลายตัวของความขัดแย้งทางการเมือง ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค บริษัทผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่มมากขึ้น และเริ่มลงทุนในโครงการใหม่
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือนพ.ย. 63 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 87.4 จากระดับ 86.0 ในเดือนก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 จากปัจจัยบวกด้านอุปสงค์ภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาคการผลิตฟื้นตัวดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐด้วย สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 94.1 จากระดับ 91.9 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการใช้จ่ายของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง รวมถึงความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 และการผ่อนปรนมาตรการควบคุมการเดินทางเข้าประเทศของชาวต่างชาติ
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน พ.ย. 63 มีจำนวน 25,437 คัน หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 8.7 เนื่องจากมีการจัดงานมหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 37 (Motor Expo 2020) ซึ่งบริษัทรถยนต์หลายแห่งได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค อย่างไรก็ดี สถาบันทางการเงินหลายแห่งยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ยังคงฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนพ.ย. 63 มีจำนวน 53,740 คัน ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หดตัวร้อยละ -3.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังปรับผลทางฤดูกาล สอดคล้องกับยอดการจำหน่ายรถกระบะที่เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 6.8 ต่อปี โดยมีปัจจัยจากมาตรการการประกันรายได้เกษตรกร การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และการออกรถยนต์รุ่นใหม่รวมทั้งการลดแลกแจกแถมของผู้จำหน่ายรถยนต์
Global Economic Indicators: This Week
มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 63 อยู่ที่ร้อยละ -1.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -1.6 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 63 หดตัวที่ร้อยละ -5.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -5.0 และเป็นการหดตัว 15 เดือนติดต่อกัน ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 63 (เบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 56.5 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อยที่อยู่ที่ระดับ 56.7 จุด ดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการ เดือน ธ.ค. 63 (เบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 55.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 58.4 จุด และล่าสุด FED ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.00-0.25
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือน ต.ค. 63 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากวิกฤติโควิด-19 ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 63 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวได้ถึงร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 63 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 62 จากการบริโภคภาคเอกชนที่มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 63 ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ร้อยละ 5.2 และลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.3 ของกำลังแรงงานรวม
ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 63 หดตัวร้อยละ -3.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -9.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกเดือน พ.ย. 63 หดตัวร้อยละ -4.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อยู่ที่ 6.11 ล้านล้านเยน ขณะที่การนำเข้าเดือน พ.ย. 63 หดตัวร้อยละ -11.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน อยู่ที่ 5.75 ล้านล้านเยน ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน พ.ย. 63 เกินดุลอยู่ที่ 366.8 พันล้านเยน เกินดุลต่อเนื่องจากเดือน ต.ค. 63 ที่เกินดุล 871.7 พันล้านเยน
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. หดตัวชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 อยู่ที่ร้อยละ -3.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ที่หดตัวที่ร้อยละ -6.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 63 (เบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 55.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 53.8 จุด สะท้อนการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมที่สูงที่สุดในรอบ 31 เดือน ขณะที่ดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการ เดือน ธ.ค. 63 (เบื้องต้น) อยู่ที่ระดับ 47.3 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 41.7 จุด อย่างไรก็ตามค่าดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการของยูโรโซนยังคงมีค่าอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 50.0 จุด ต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 4
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 3 ปี 63 ลดลงอยู่ที่ร้อยละ -7.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ -5.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการหดตัวที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 52 จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลให้การผลิตสินค้าลดลง โดยเฉพาะสินค้าในหมวดอาหารและยาสูบ เบ็ดเตล็ด สื่อสิ่งพิมพ์และการผลิตซ้ำสื่อบันทึก และสิ่งทอและเครื่องหนัง
ดัชนี (PMI) ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ เดือน ธ.ค. 63 เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 56 และ 57.4 จุด ตามลำดับ ทางด้านอัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 63 อยู่ที่ร้อยละ 6.8 ต่ำสุดตั้งแต่เดือน ส.ค. 63 เป็นต้นมา
มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 63 ขยายตัวร้อยละ 9.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นมูลค่า 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าหดตัวร้อยละ -3.4 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -17.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน คิดเป็นมูลค่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สรอ. หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -24.2 ส่งผลให้ยังคงเกินดุลอยู่ที่ 2.6 พันล้านดอลลาร์สรอ. ทั้งนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียยังประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 3.75 ต่อปี
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 63 อยู่ที่ร้อยละ 6.93 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่อยู่ที่ร้อยละ 7.61 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อันเป็นผลจากการลดลงของราคาอาหาร บ้าน และน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสำคัญ การส่งออกเดือน พ.ย. 63 อยู่ที่ 23.52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การนำเข้าเดือน พ.ย. 63 อยู่ที่ 33.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน พ.ย. 63 ขาดดุลอยู่ที่ -9.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลต่อเนื่องจากเดือน ต.ค. 63 ที่ขาดดุล -8.71 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 63 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.2 โดยมีจำนวนผู้มีงานทำ เดือน พ.ย. 63 ที่ 27.1 ล้านคน
มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 63 หดตัวร้อยละ -8.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -8.7 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ -9.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -9.3 และยังคงเกินดุลการค้าอยู่ที่ 3.9 พันล้านดอลลาร์สรอ. ขณะที่อัตราการว่างงานไตรมาสที่ 3 ปี 63 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงที่สุดตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 47
อัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 63 เพิ่มขึ้นสู่ร้อยละ 4.9 สวนทางกับยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 5.8 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 63 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทางด้านยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 63 ขยายตัวที่อัตราร้อยละ 5.8 ดัชนี (PMI) ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ เดือน ธ.ค. 63 เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 57.3 จุด และ 49.9 จุด ตามลำดับ
ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น TWSE (ไต้หวัน)STI (สิงคโปร์) JCI (อินโดนีเซีย) และ S&P (สหรัฐอเมริกา) เป็นต้น โดยดัชนี SET เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 63 ปิดที่ระดับ 1,478.92 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขาย 123,465.49 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 63 นักลงทุนต่างชาติ ซื้อ หลักทรัพย์สุทธิ 6,688.08 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวลดลงในช่วง -2 ถึง -12 bps โดยในสัปดาห์นี้ นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 63 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออก จากตลาดพันธบัตรสุทธิ -5,207.50 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 8 ธ.ค. 63 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -59,721.69 ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 8 ธ.ค. 63 เงินบาทปิดที่ 30.13 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.44 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่นในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นน้อยกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.05 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง