Executive Summary
Indicators this week
มูลค่าการส่งออกในเดือน ธ.ค. 63 ขยายที่ร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่าการนำเข้าในเดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
อัตราการว่างงานเดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ของกำลังแรงงานรวม
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ ร้อยละ 19.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ธ.ค. 63 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 85.8 จากระดับ 87.4 ในเดือนก่อน
GDP ของจีน ไตรมาสที่ 4 ปี 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน Economic Indicators: This Week มูลค่าการส่งออกในเดือน ธ.ค. 63 พลิกกลับมาเป็นบวกในรอบ 8 เดือน โดยมีมูลค่า 20,083 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายที่ร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการส่งออกสินค้าในหมวดอุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้ดี อาทิ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มสินค้า 3 กลุ่มหลักที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง ได้แก่ 1) สินค้าอาหาร เช่น ผักและผลไม้ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม อาหารสัตว์เลี้ยง สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง และสิ่งปรุงรสอาหาร 2) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อาทิ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เตาไมโครเวฟ ตู้เย็น เครื่องซักผ้าและเครื่องปรับอากาศ โทรศัพท์และอุปกรณ์ เป็นต้น และ 3) สินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ รวมถึงถุงมือยางที่เติบโตในระดับสูงต่อเนื่อง สำหรับตลาดส่งออก พบว่า ส่วนใหญ่กลับมาเป็นบวกในหลายประเทศมากขึ้น อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง และอินเดีย ขณะที่ ตลาดการค้าชายแดนอย่างกลุ่ม CLMV ยังคงหดตัวจากผลกระทบจากการกลับมาแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ทั้งนี้ ในภาพรวมปี 63 มูลค่าการส่งออกของไทยหดตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ -6.0 ต่อปี มูลค่าการนำเข้าในเดือน ธ.ค. 63 มีมูลค่า 19,119 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากการนำเข้าที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นในทุกกลุ่มสินค้า ยกเว้นกลุ่มสินค้าเชื้อเพลิง โดยสินค้านำเข้าที่ขยายตัวได้ดีในเดือนดังกล่าว อาทิ เครื่องจักรกล เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เป็นต้น ทั้งนี้ ในภาพรวมปี 63 มูลค่าการนำเข้าของไทยยังคงหดตัวเฉลี่ยร้อยละ -12.4 ต่อปี ด้านดุลการค้าในเดือน ธ.ค. 63 ยังคงเกินดุลมูลค่า 963.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในภาพรวมของปี 63 ไทยยังคงเกินดุลการค้าสะสมอยู่ที่ 24.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ผู้มีงานทำในเดือน ธ.ค. 63 มีจำนวน 38.76 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยจำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นในภาคเกษตรและภาคบริการที่ร้อยละ 6.2 และร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่จำนวนผู้มีงานทำภาคอุตสาหกรรมหดตัวที่ร้อยละ -7.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ อัตราการว่างงานเดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 ของกำลังแรงงานรวม
Economic Indicators: This Week ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ธ.ค. 63 มีจำนวน 39,130 คัน ขยายตัวที่ร้อยละ 19.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นขยายตัวสูงสุดในรอบ 28 เดือนนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2561 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 20.0 โดยในเดือน ธ.ค. 63 มีการจัดงานมหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 37 (Motor Expo 2020) ซึ่งมีการเปิดตัวรถยนต์ รุ่นใหม่ประกอบกับกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภค ส่งผลให้มียอดจองรถยนต์รวม 33,753 คัน อย่างไรก็ดี ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งทั้งปี 2563 ยังคง หดตัวที่ร้อยละ -30.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ธ.ค. 63 มีจำนวน 65,456 คัน ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ในอัตราเร่งที่ร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หดตัวเล้กน้อยร้อยละ -0.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล ตามการขยายตัวของปริมาณการจำหน่ายรถกระบะที่เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 เช่นกันที่ร้อยละ 14.4 ต่อปี โดยมีปัจจัยสำคัญจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ของรัฐบาล มาตรการการประกันรายได้เกษตรกร การเร่งลงทุนในบริษัทโลจิสติกส์ตามการขยายตัวของตลาด E-commerce รวมถึงการออกรถยนต์รุ่นใหม่และการจัดงานส่งเสริมการขายช่วงปลายปีอย่างงาน Motor Expo ระหว่างวันที่ 1-13 ธ.ค.ช่วยกระตุ้นยอดจำหน่ายได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดระลอกใหม่ ว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรต่อการบริโภครถยนต์ในประเทศอย่างไร ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ธ.ค. 63 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 85.8 จากระดับ 87.4 ในเดือนก่อน จากปัญหาการระบาดระลอกใหม่ที่มีความรุนแรงกว่ารอบแรกและขยายวงกว้างกว่า ทำให้รัฐบาลออกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดในระดับสูง กระทบต่ออุปสงค์ในประเทศ การขนส่งสินค้า รวมถึงการส่งออกที่มีปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ลดลง สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ชะลอลงเช่นกันมาอยู่ที่ระดับ 92.7 จากระดับ 94.1 ในเดือนก่อน จากความกังวลต่อการแพร่ระบาดของ โควิดรอบใหม่ รวมถึงผลของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง Global Economic Indicators: This Week
US ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 5.8 จากเดือนก่อนหน้า (MoM) เป็นผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ผู้คนย้ายออกจากเมืองใหญ่ โดยมีจำนวนครอบครัวเดี่ยวสร้างบ้านใหม่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะบริเวณภาคกลางตอนบน China GDP ไตรมาสที่ 4/63 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 จากผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นในเดือน ธ.ค. 63 ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนทั้งปี 63 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ผลผลิตภาคอุตสาหรรม เดือน ธ.ค. 63 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 7.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการขยายตัวต่อเนื่องที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 63 โดยมีการผลิตเพิ่มขึ้นในกลุ่มเหมืองแร่ สาธารณูปโภค และการผลิต ส่งผลให้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีนตลอดปี 63 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี ขณะที่ ไตรมาส 4/63 ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบรายปี ยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงเล็กน้อยจาก เดือน พ.ย. 63 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นผลจากการบริโภคในประเทศที่ฟื้นตัวหลังมีการแพร่ระบาด ขณะที่ อัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 63 คงที่จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.2 จากกำลังแรงงานรวม กลับสู่ระดับปกติก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 โดยปี 62 อัตราว่างงานรายเดือนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5.0 - 5.3 ของกำลังแรงงานรวม Japan ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 63 หดตัวที่ร้อยละ -3.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งหดตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อใน เดือน ธ.ค. 63 ลดลงร้อยละ -1.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจาก การประกาศภาวะฉุกเฉินในโตเกียวเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เพิ่มสูงขึ้น ผลกระทบจากการแพร่ระบาดนั้นยังส่งให้ ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน ม.ค. 64 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 49.7 และ 45.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าหดตัวร้อยละ - 11.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าเดือน ธ.ค. 63 เกินดุลที่ 751.0 พันล้านเยน
.นอกจากนั้น ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ -0.1 และคงอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นอายุ 10 ปีไว้ที่ ร้อยละ 0.0 EU ดุลบัญชีเดินสะพัด เดือน พ.ย. 63 อยู่ที่ 26.8 พันล้านยูโร ลดลงจากเดือน ต.ค. 63 ที่อยู่ที่ 33.0 พันล้านยูโร อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
\ หดตัวลงเท่ากับเดือนก่อนหน้า และเป็นการหดตัวติดต่อกันต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ธนาคารกลางยุโรปประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายใน เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 0.0 ต่อปี ทั้งนี้ ธนาคารกลางยุโรปยังคงพร้อมที่จะออกมาตรการให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ถ้าหากจำเป็น ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ -15.5 จุด ลดลงจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ -13.8 จุด และลดลงมากกว่าระดับที่ตลาดคาดการณ์ไว้อยู่ที่ระดับ -15.0 จุด เนื่องจากผู้บริโภคแสดงถึงความกังวลในเรื่อง ยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และมาตรการล็อกดาวน์รอบใหม่ของแต่ละประเทศสมาชิกHong Kong อัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 63 ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 6.6 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 6.3 ของกำลังแรงงานรวม และเป็นระดับที่สูงที่สุดตั้งแต่ปี 47 เป็นผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กระทบต่อ การบริโภคในประเทศและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งในเดือน ธ.ค. 63 การว่างงานเพิ่มสูงขึ้นในเกือบทุกภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคธุรกิจค้าปลีก กิจการที่พักอาศัย และบริการอาหาร ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -0.7 เมื่อเทียบรายปีหดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ -0.2 เมื่อเทียบรายปี ส่งผลให้ฮ่องกงอยู่ในภาวะเงินฝืดติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 โดยเป็นผลจากราคาสินค้าที่ลดลงโดยเฉพาะในกลุ่มของพลังงานไฟฟ้า น้ำมัน และน้ำ เสื้อผ้าและรองเท้า สินค้าคงทน และการเดินทาง Malaysia เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 64 ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือน ธ.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -1.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยราคาค่าขนส่งเป็นสำคัญAustralia อัตราการว่างงาน ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.6 ในเดือน ธ.ค. 63 จากร้อยละ 6.8 ในเดือน พ.ย. 63 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการว่างงาน ที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 63 เนื่องจากเศรษฐกิจค่อยๆฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะเดียวกัน ดัชนีฯ PMI อุตสาหกรรม (เบื้องต้น) เดือน ม.ค. 64 เพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 57.2 เป็นผลมาจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของยอดขายและการผลิตในรอบ 3 ปี อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน ม.ค. 64 ลดลงจาก เดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 55.8 สะท้อนถึงสถานะของธุรกิจในภาคบริการที่ยังคงชะลอตัวอยู่ ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาทำให้ผู้ให้บริการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมในเดือน ม.ค. 64 Indonesia ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ3.75 ต่อปี เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 64 Singapore มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 2.6 ด้านมูลค่าการนำเข้า เดือน ธ.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -3.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัว ร้อยละ -9.4 ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 6.2 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ UK อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการผ่อนคลายข้อจำกัดบางส่วนในการควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 Weekly Financial Indicators
ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับ ตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น PSEi (ฟิลิปินส์)KLCI (มาเลเซีย) และ DAX (เยอรมนี)เป็นต้น โดยดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ และปรับตัวลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 64 ปิดที่ระดับ 1,513.51 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 18 - 21 ม.ค. 64 ที่ 98,996.83 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 18 - 21 ม.ค. 64 นักลงทุนต่างชาติ ขาย หลักทรัพย์สุทธิ -2,521.36 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุน้อยกว่า 6 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1 ถึง 4 bps อายุ 6 - 13 ปีปรับตัวลดลงในช่วง -1 ถึง -4 bps และอายุมากกว่า 15 ปีไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยในสัปดาห์นี้ นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 15 และ 4 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.85 และ 3.37 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 18 - 21 ม.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 7,432.97 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 21 ม.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 328.62 ล้านบาทเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 21 ม.ค. 64 เงินบาทปิดที่ 29.94 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.28 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิต ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวนที่แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินสกุลวอนอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.10 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง