รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนธันวาคม 2563

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 28, 2021 13:46 —กระทรวงการคลัง

ฉบับที่  2/2564                           วันที่ 28 มกราคม 2564

รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนธันวาคม 2563

?เศรษฐกิจไทยในเดือนธันวาคม 2563 มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นทั้งในด้านอุปสงค์จากต่างประเทศ และอุปสงค์ในประเทศ สะท้อนจากการส่งออกสินค้าที่กลับมาขยายตัว การบริโภคในหมวดสินค้าคงทนและการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การผลิตภาคอุตสาหกรรมและบริการด้านการท่องเที่ยวชะลอตัว เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ ที่เกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563?
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจ
การคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง พร้อมด้วยนายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจ
การคลังประจำเดือนธันวาคม 2563 พบว่า ?เศรษฐกิจไทยในเดือนธันวาคม 2563 มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นทั้งในด้านอุปสงค์
จากต่างประเทศ และอุปสงค์ในประเทศสะท้อนจากการส่งออกสินค้าที่กลับมาขยายตัว การบริโภคในหมวดสินค้าคงทนและการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การผลิตภาคอุตสาหกรรมและบริการด้านการท่องเที่ยวชะลอตัว เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ ที่เกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563? โดยมีรายละเอียด สรุปได้ดังนี้
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะการบริโภค
ในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งและปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 16.4 และ 10.6 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น ทำให้เกษตรกร
มีรายได้สูงขึ้น โดยในเดือนธันวาคม 2563 รายได้เกษตรกรที่แท้จริง ขยายตัวร้อยละ 12.1 ต่อปี สอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 2.8 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หรือหดตัวในอัตราชะลอลง
จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ ?4.4 ต่อปี อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 50.1
จากระดับ 52.4 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือน เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับ
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนกลับมาขยายตัวร้อยละ 7.3 ต่อปี สอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 15.8 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน
สำหรับการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์กลับมาขยายตัวร้อยละ 1.3 ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ดี การจัดเก็บภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ลดลงที่ร้อยละ -15.9 ต่อปี
เศรษฐกิจภาคการค้าระหว่างประเทศปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้า
ในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ กลับมาขยายตัวในรอบ 8 เดือนที่ร้อยละ 4.7 ต่อปี ตามทิศทางเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญที่ปรับตัวดีขึ้น โดยสินค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ 1) สินค้าอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และอาหารสัตว์เลี้ยง
ที่ขยายตัวร้อยละ 63.6 และ 25.7 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับการส่งออกผักและผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และสิ่งปรุงรสอาหาร ที่ขยายตัวต่อเนื่อง 2) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) อาทิ โทรศัพท์และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อาทิ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เตาไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เป็นต้น และ 3) สินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ และถุงมือยาง นอกจากนี้ ยังมีสินค้าที่กลับมาขยายตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ และรถยนต์
เป็นต้น อย่างไรก็ดี การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป และอัญมณีและเครื่องประดับยังคงลดลง ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้า โดยจำแนกเป็นรายตลาดคู่ค้าหลักของไทย พบว่า ตลาดคู่ค้าหลักของไทยเกือบทุกตลาดปรับตัวดีขึ้น
โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 15.7 ต่อปี เช่นเดียวกับการส่งออกไปญี่ปุ่นและทวีปออสเตรเลียขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 14.9 และ 13.5 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปประเทศจีนและอินเดียกลับมาขยายตัวอีกครั้งที่ร้อยละ 7.2 และ 14.5 ต่อปี ตามลำดับ
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมชะลอตัว
ที่ร้อยละ -2.4 ต่อปี จากการลดลงในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องแต่งกาย และน้ำมันปิโตรเลียม เป็นสำคัญ สอดคล้องกับ
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 85.8 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศชะลอลง อย่างไรก็ดี การผลิตสินค้า
ที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดยังคงขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับบริการด้านการท่องเที่ยว พบว่า ในเดือนธันวาคม 2563 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเภทพิเศษ (STV) รวมถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มสิทธิพิเศษ (Thailand Privilege Card) และนักธุรกิจ เดินทางเข้าประเทศ จำนวน 6,556 คน โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวยุโรป โดยเฉพาะเยอรมนี และอังกฤษ นอกจากนี้บางส่วนเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน เกาหลีใต้ และประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ขณะที่การท่องเที่ยวภายในประเทศ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ลดลงร้อยละ ?31.9 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ลดลงร้อยละ -23.4 ต่อปี สำหรับภาคเกษตร สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวเปลือก ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2563 อยู่ที่ร้อยละ 50.5 ต่อ GDP
ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ส่วนเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 อยู่ในระดับสูงที่ 258.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
?เศรษฐกิจไทยในเดือนธันวาคม 2563 มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นทั้งในด้านอุปสงค์จากต่างประเทศ
และอุปสงค์ในประเทศ สะท้อนจากการส่งออกสินค้าที่กลับมาขยายตัว การบริโภคในหมวดสินค้าคงทนและการลงทุนภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การผลิตภาคอุตสาหกรรมและบริการด้านการท่องเที่ยวชะลอตัว
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ ที่เกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563?

1. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชนมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะการบริโภค
ในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งและปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 16.4 และ 10.6 ต่อปี ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น ทำให้เกษตรกร
เริ่มมีรายได้สูงขึ้น โดยในเดือนธันวาคม 2563 รายได้เกษตรกรที่แท้จริง ขยายตัวร้อยละ 12.1 ต่อปี สอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 2.8 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หรือหดตัวในอัตราชะลอลง
จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ ?4.4 ต่อปี อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 50.1
จากระดับ 52.4 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือน เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับ
การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563

เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน          2562          2563
                    Q1          Q2          Q3          Q4          ต.ค.          พ.ย.          ธ.ค.          YTD
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%YoY)          -1.7%          0.0%          ?15.1%          ?5.2%          ?6.7%          ?9.4%          ?6.5%          ?4.4%          ?6.8%
%qoq_SA / %mom_SA                     1.7%          ?14.3%          7.4%          ?0.5%          ?7.2%          2.5%          2.8%
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%YoY)          -0.9%          ?23.6%          ?60.2%          ?30.3%          ?5.0%          ?25.9%          ?7.2%          16.4%          ?30.6%
    %qoq_SA / %mom_SA                     ?2.7%          ?47.9%          62.5%          15.1%          ?17.2%          9.5%          17.7%
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%YoY)          -3.4%          ?5.9%          ?28.1%          ?2.9%          ?4.6%          ?11.0%          ?10.6%          10.6%          ?10.4%
    %qoq_SA / %mom_SA                     1.3%          ?27.5%          40.4%          ?7.9%          ?4.1%          ?5.2%          12.0%
ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค (%YoY)          2.8%          ?2.2%          ?16.6%          ?11.2%          ?10.6%          ?22.8%          ?9.3%          0.4%          ?10.1%
    %qoq_SA / %mom_SA                     ?6.4%          ?13.2%          12.2%          ?2.4%          ?12.6%          14.5%          14.6%
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ระดับ)          75.5          60.8          48.2          50.4          51.1          50.9          52.4          50.1          52.6
รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (%YoY)          0.5%          ?7.7%          ?3.9%          5.9%          12.2%          10.6%          12.9%          12.1%          2.6%


2. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนส่งสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนกลับมาขยายตัวร้อยละ 7.3 ต่อปี สอดคล้องกับปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 15.8 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน
สำหรับการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์กลับมาขยายตัวร้อยละ 1.3 ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ดี การจัดเก็บภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ลดลงที่ร้อยละ -15.9 ต่อปี








เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน          22562          2563
                    Q1          Q2          Q3          Q4          ต.ค.          พ.ย.          ธ.ค.          YTD
เครื่องชี้การลงทุนในเครื่องจักร
ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน (%YoY)          -5.4%          ?3.9%          ?17.0%          ?15.4%          ?4.9%          ?17.0%          ?3.2%          7.3%          ?10.3%
    %qoq_SA / %mom_SA                    ?4.3%          ?10.7%          3.1%          7.5%          ?4.7%          6.3%          14.8%
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์(%YoY)          -5.1%          ?24.4%          ?44.2%          ?1.3%          11.7%          10.4%          8.2%          15.8%          ?15.2%
    %qoq_SA / %mom_SA                    ?9.8%          ?24.5%          56.5%          4.7%          2.0%          ?3.4%          ?0.8%
เครื่องชี้การลงทุนก่อสร้าง
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ (%YoY)          -4.7%          ?17.8%          ?12.3%          ?10.4%          ?11.3%          ?3.2%          ?11.6%          ?15.9%          ?12.9%
    %qoq_SA / %mom_SA                     ?11.4%          ?5.1%          9.9%          ?3.9%          0.0%          ?5.0%          ?2.7%
ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ (%YoY)          -5.7%          ?4.3%          4.0%          1.6%          ?3.1%          ?9.1%          ?1.5%          1.3%          ?0.5%
%qoq_SA / %mom_SA                     ?4.3%          8.9%          ?4.2%          ?3.1%          ?9.4%          10.7%          0.3%
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง (%YoY)          -1.2%          ?2.1%          ?3.6%          ?1.7%          0.4%          0.2%          0.4%          0.8%          ?1.8%

3. การใช้จ่ายงบประมาณ สะท้อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณรวม ในเดือนธันวาคม 2563 เบิกจ่ายได้จำนวน 280.0 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 7.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการเบิกจ่าย
จากงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 247.2 พันล้านบาท แบ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ 223.0 พันล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 24.2 พันล้านบาท และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 32.8 พันล้านบาท ทำให้ในไตรมาสแรกในปีงบประมาณ 2564
มีการเบิกจ่ายรวม 1,018.3 พันล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 938.5 พันล้านบาท
โดยแบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 865.5 พันล้านบาท รายจ่ายลงทุน 73.0 พันล้านบาท ขณะที่การเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 79.8 พันล้านบาท

เครื่องชี้
ภาคการคลัง          FY2563          FY2563          FY2564
                    Q1          Q2          Q3          Q4          Q1          พ.ย.          ธ.ค.          FYTD
รายจ่ายปีปัจจุบัน          2,943.9          729.5          813.6          710.4          690.4          938.5          336.1          247.2          938.5
 %YoY          5.6%          ?18.3%          21.6%          20.4%          8.6%          28.7%          117.4%          8.7%          28.7%
รายจ่ายประจำ          2,575.9          703.5          750.4          602.8          519.3          865.5          300.5          223.0          865.5
%YoY          7.3%          ?14.0%          31.9%          21.1%          0.5%          23.0%          101.8%          2.5%          23.0%
รายจ่ายลงทุน          367.9          26.0          63.3          107.6          171.1          73.0          35.6          24.2          73.0
%YoY          ?5.0%          ?65.4%          ?36.9%          16.1%          43.7%          180.9%          525.6%          148.2%          180.9%
รายจ่ายปีก่อน          224.9          80.6          62.8          32.8          48.7          79.8          27.7          32.8          79.8
%YoY          ?11.8%          13.9%          2.9%          ?54.0%          ?6.0%          ?1.0%          3.7%          ?1.4%          ?1.0%
รายจ่ายรวม          3,168.7          810.1          876.4          743.2          739.0          1,018.3          363.8          280.0          1,018.3
%YoY          4.1%          ?15.9%          20.0%          12.3%          7.5%          25.7%          100.6%          7.4%          25.7%

4. เศรษฐกิจภาคการค้าระหว่างประเทศปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน สะท้อนจากมูลค่าการส่งออกสินค้า
ในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ กลับมาขยายตัวในรอบ 8 เดือนที่ร้อยละ 4.7 ต่อปี ตามทิศทางเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญที่ปรับตัวดีขึ้น โดยสินค้าที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ 1) สินค้าอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และอาหารสัตว์เลี้ยง
ที่ขยายตัวร้อยละ 63.6 และ 25.7 ต่อปี ตามลำดับ สอดคล้องกับการส่งออกผักและผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และสิ่งปรุงรสอาหาร ที่ขยายตัวต่อเนื่อง 2) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) อาทิ โทรศัพท์และส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน อาทิ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เตาไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เป็นต้น และ 3) สินค้าที่เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ และถุงมือยาง นอกจากนี้ ยังมีสินค้าที่กลับมาขยายตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ และรถยนต์
เป็นต้น อย่างไรก็ดี การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป และอัญมณีและเครื่องประดับยังคงลดลง ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้า โดยจำแนกเป็นรายตลาดคู่ค้าหลักของไทย พบว่า ตลาดคู่ค้าหลักของไทยเกือบทุกตลาดปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะ
การส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 15.7 ต่อปี เช่นเดียวกับการส่งออกไปญี่ปุ่นและทวีปออสเตรเลียขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 14.9 และ 13.5 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปประเทศจีนและอินเดียกลับมาขยายตัวอีกครั้งที่ร้อยละ 7.2 และ 14.5 ต่อปี ตามลำดับ

ประเทศคู่ค้าหลัก 16 ประเทศ          สัดส่วน          2562          2563
                              Q1          Q2          Q3          Q4          ต.ค.          พ.ย.          ธ.ค.          YTD
ส่งออกไปทั้งโลก          100.0%          -2.6%          1.0%          -15.2%          -7.8%          -2.0%          -6.7%          -3.7%          4.7%          -6.0%
สหรัฐฯ          14.8%          11.8%          -2.6%          8.9%          17.6%          16.0%          17.0%          15.4%          15.7%          9.6%
จีน          12.9%          -3.8%          -0.9%          12.1%          -0.2%          -2.6%          -6.1%          -8.9%          7.2%          2.0%
ญี่ปุ่น          9.9%          -1.7%          -5.5%          -13.5%          -12.2%          4.2%          -5.3%          5.4%          14.9%          -6.7%
สหภาพยุโรป          8.0%          -6.6%          -4.0%          -30.7%          -12.6%          -3.7%          -0.4%          -8.5%          -2.4%          -12.7%
ทวีปออสเตรเลีย          4.9%          -4.2%          -4.0%          -22.9%          -12.9%          13.0%          4.2%          23.7%          13.5%          -7.6%
ฮ่องกง          4.9%          -6.5%          12.3%          -8.6%          -13.9%          -2.0%          -1.9%          -13.9%          10.0%          -3.6%
เวียดนาม          4.8%          -6.5%          -7.9%          -21.0%          -5.8%          3.6%          -0.5%          -3.4%          17.2%          -7.9%
สิงคโปร์          4.1%          -5.8%          38.1%          -0.2%          4.3%          -10.6%          -12.3%          -15.8%          3.6%          7.2%
มาเลเซีย          3.8%          -11.0%          -22.9%          -32.0%          -6.7%          -0.6%          -50.6%          2.1%          10.5%          -15.7%
อินโดนีเซีย          3.3%          -11.2%          22.4%          -6.2%          -45.9%          -33.4%          -19.0%          -30.1%          -11.4%          -16.0%
ตะวันออกกลาง          3.1%          -1.6%          3.5%          -22.2%          -24.4%          -10.3%          -18.4%          -12.3%          0.0%          -13.2%
อินเดีย          2.4%          -3.8%          -11.4%          -67.2%          -21.7%          9.0%          13.7%          -1.3%          14.5%          -25.2%
แอฟริกา          2.4%          -10.5%          -15.5%          -38.2%          -17.0%          -5.6%          -25.6%          4.9%          -3.2%          -19.4%
ฟิลิปปินส์          2.2%          -12.6%          -10.9%          -47.0%          -33.5%          -17.0%          -16.7%          -18.7%          -2.9%          -27.0%
เกาหลีใต้          1.8%          -4.3%          -4.9%          -25.4%          -7.1%          -0.7%          -4.6%          1.4%          1.4%          -10.3%
ไต้หวัน          1.6%          0.9%          13.5%          -11.9%          -14.7%          -5.8%          -13.3%          -4.6%          1.7%          -5.6%
     อาเซียน-9          24.0%          -8.3%          4.2%          -22.4%          -14.9%          -13.6%          -23.1%          -14.0%          -2.7%          -11.7%
     อาเซียน-5          13.4%          -9.8%          5.3%          -19.7%          -19.0%          -15.0%          -27.2%          -15.0%          0.8%          -12.2%
     อินโดจีน-4          10.5%          -6.4%          2.8%          -25.9%          -9.2%          -12.0%          -17.0%          -13.0%          -6.3%          -11.1%

5. เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
ชะลอตัวที่ร้อยละ -2.4 ต่อปี จากการลดลงในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องแต่งกาย และน้ำมันปิโตรเลียม เป็นสำคัญ สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 85.8 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระลอกใหม่ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศชะลอลง อย่างไรก็ดี การผลิตสินค้า
ที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดยังคงขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับบริการด้านการท่องเที่ยว พบว่า ในเดือนธันวาคม 2563 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเภทพิเศษ (STV) รวมถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มสิทธิพิเศษ (Thailand Privilege Card) และนักธุรกิจ เดินทางเข้าประเทศ จำนวน 6,556 คน โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวยุโรป โดยเฉพาะเยอรมนี และอังกฤษ นอกจากนี้บางส่วนเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน เกาหลีใต้ และประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ขณะที่การท่องเที่ยวภายในประเทศ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ลดลงร้อยละ ?31.9 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ลดลงร้อยละ -23.4 ต่อปี สำหรับภาคเกษตร สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตข้าวเปลือก ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน          2562          2563
                    Q1          Q2          Q3          Q4          ต.ค.          พ.ย.          ธ.ค.          YTD
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม (%YoY)          -0.6%          ?14.0%          ?4.9%          ?1.2%          -1.3          ?1.8%          3.0%          0.9%          ?4.4%
%qoq_SA / %mom_SA                     ?8.4%          9.0%          2.5%          ?0.7%          ?2.2%          0.1%          ?0.9%
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (%YoY)          -3.6%          ?6.4%          ?20.0%          ?8.1%          ?0.9%          ?0.4%          0.2%          ?2.4%          ?8.8%
%qoq_SA / %mom_SA                     ?8.0%          8.1%          ?0.6%          ?4.1%          0.1%          ?3.1%          ?9.3%
อัตราการใช้กำลังการผลิต (%)          66.0%          66.9%          52.9%          60.6%          64.2%          63.5%          65.4%          63.8%          61.2%
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)          93.7          90.1          78.1          83.9          86.4          86.0          87.4          85.8          84.6
นักท่องเที่ยวต่างชาติ (%YoY)          4.6%          ?38.0%          ?100.0%          ?100.0%          ?99.9%          ?100.0%          ?99.9%          ?99.8%          ?83.2%
%qoq_SA / %mom_SA                     64.2%          ?100.0%          ?4.8%          -          -          120.3%          75.3%
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย (%YoY)          0.9%          ?30.3%          ?90.6%          ?38.0%          ?29.9%          ?34.5%          ?23.4%          -31.9%          ?46.4%


6. เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี และ
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.2 ต่อปี ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2563 อยู่ที่ร้อยละ 50.5 ต่อ GDP
ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 อยู่ในระดับสูงที่ 258.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ


เครื่องชี้ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ          2562          2563
                    Q1          Q2          Q3          Q4          ต.ค.          พ.ย.          ธ.ค.          YTD
ภายในประเทศ
อัตราการว่างงาน (%)          1.0%          1.1%          2.0%          1.3%          ?          2.1%          2.0%          1.5%          1.6%
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป  (%YoY)          0.7%          0.4%          ?2.7%          ?0.7%          ?0.4%          ?0.5%          ?0.4%          ?0.3%          ?0.8%
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (%YoY)          0.5%          0.5%          0.1%          0.3%          0.2%          0.2%          0.2%          0.2%          0.3%
หนี้สาธารณะต่อ GDP(%)          41.2%          41.7%          45.8%          49.4%          50.5%          49.5%          50.5%          ?          50.5%
ภายนอกประเทศ
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)          37.3          9.3          1.1          6.3          ?          1.0          ?1.5          ?          17.2
ทุนสำรองทางการ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)          224.3          226.5          241.6          251.1          258.1          248.5          253.5          258.1          258.1
ฐานะสุทธิ Forward (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)          34.3          34.4          24.5          22.9          29.3          24.9          27.0          29.3          29.3









ตารางที่ 1 เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ (Economic Indicators) เดือนธันวาคม 2563
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจ
รายเดือน          2562                                        2563
                    Q1          Q2          Q3          Q4          ต.ค.          พ.ย.          ธ.ค.          YTD
ภาวะเศรษฐกิจภายนอก
ราคาน้ำมันดิบ Dubai (ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล) /7          63.54          50.73          30.57          42.92          44.62          40.67          43.40          49.80          42.21
อัตราดอกเบี้ย Federal Fund (%)/7          1.50?1.75          0.00?0.25          0.00?0.25          0.00?0.25          0.00?0.25          0.00?0.25          0.00?0.25          0.00?0.25          0.00?0.25
ด้านอุปสงค์
การบริโภคภาคเอกชน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ (%YoY) /1          ?1.7          0.0          ?15.1          ?5.2          ?6.7          ?9.4          ?6.5          ?4.4          ?6.8
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง (%YoY)/14          ?0.9          ?23.6          ?60.2          ?30.4          ?3.8          ?25.9          ?7.2          16.4          ?30.6
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%YoY)          ?3.4          ?5.9          ?28.1          ?2.9          ?4.6          ?11.0          ?10.6          10.6          ?10.4
ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (%YoY) /1          2.8          ?2.2          ?16.6          ?11.2          ?10.6          ?22.8          ?9.3          0.4          ?10.1
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจโดยรวม (ระดับ) /5          75.5          60.8          48.2          50.4          51.1          50.9          52.4          50.1          52.6
การลงทุนภาคเอกชน
ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (%YoY) /1          ?5.4          ?3.9          ?17.0          ?15.4          ?4.9          ?17.0          ?3.2          7.3          ?10.3
ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์
(%YoY)/14          ?5.1          ?24.4          ?44.2          ?1.3          11.7          10.4          8.2          15.8          ?15.2
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวม  (%YoY) /1          ?4.7          ?17.8          ?12.3          ?10.4          ?11.3          ?3.2          ?11.6          ?15.9          ?12.9
ยอดขายปูนซีเมนต์ (%YoY) /14          ?5.7          ?4.3          4.0          1.6          ?3.1          ?9.1          ?1.5          1.3          ?0.5
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง (%YoY) /14          ?1.2          ?2.2          ?3.6          ?1.7          0.4          0.2          0.4          0.8          ?1.8
การค้าระหว่างประเทศ
มูลค่าการส่งออก (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ);ระบบศุลกากร          246.3          62.7          51.7          58.7          38.3          19.4          18.9          20.1          231.5
(%YoY) /4          ?2.6          1.0          -15.2          -7.8          -2.0          -6.7          -3.7          4.7          -6.0
ราคาสินค้าส่งออก  (%YoY) /4           0.3          -0.4          -2.0          -0.7          0.1          -0.1          0.2          0.1          -0.8
ปริมาณการส่งออก  (%YoY)/14          ?3.0          1.4          -13.4          -7.2          -2.1          -6.6          -3.8          4.6          -5.3
มูลค่าการนำเข้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ระบบศุลกากร          236.3          58.2          44.8          48.7          36.2          17.3          18.9          19.1          207.0
(%YoY) /4          ?4.8          -2.9          -23.8          -18.7          -4.2          -14.3          -1.0          3.6          -12.4
ราคาสินค้านำเข้า  (%YoY) /4           0.2          -0.9          -5.1          -1.5          -0.5          -1.3          -1.0          0.9          -2.0
ปริมาณการนำเข้า (%YoY)/14           ?4.9          -1.9          -19.6          -17.4          -3.8          -13.2          0.0          2.7          -10.7
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ);ระบบศุลกากร /4           10.0          4.5          6.9          9.9          3.1          2.0          0.1          1.0          24.5
ด้านอุปทาน
ภาคการเกษตร
ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร (%YoY) /6          ?0.6          ?14.0          ?4.9          ?1.2          1.3          ?1.8          3.0          0.9          ?4.4
ดัชนีราคาสินค้าเกษตร  (%YoY)  /6          1.8          8.6          ?1.4          6.3          11.0          12.3          9.6          11.2          6.0
รายได้เกษตรกรที่แท้จริง (%YoY) /14          0.5          ?7.7          ?3.9          5.9          12.2          10.6          12.9          12.1          2.6
การจ้างงานภาคเกษตร (%YoY) /3          ?2.5          ?3.6          ?          0.4          ?2.6          4.1          ?          ?          ?1.0
ภาคอุตสาหกรรม
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (%YoY) /10          ?3.6          ?6.4          ?20.0          ?8.1          ?0.9          ?0.4          0.2          2.4          ?8.8
มูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (%YoY) /1          ?7.5          ?1.5          ?20.1          ?19.2          ?30.9          ?8.1          5.9          11.2          ?9.9
ปริมาณการนำเข้าวัตถุดิบในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (%YoY) /1          ?7.5          ?2.7          ?21.4          ?21.0          ?33.3          ?10.9          2.0          6.7          ?11.8
อัตราการใช้กำลังการผลิต (%) /10          66.0          66.9          52.9          60.6          64.2          63.5          65.4          63.8          61.2
การจ้างงานภาคอุตสาหกรรม (%YoY) /3          ?0.2          ?1.6          ?          ?2.6          8.3          8.0          ?          ?          ?1.3
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ)/9          93.7          90.1          78.1          83.9          86.4          86.0          87.4          85.8          84.6
ภาคบริการ
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ (ล้านคน)/11          39.9          6.7          0.0          0.0          0.0          0.0          0.0          0.0          6.7
(%YoY)  /14          4.5          ?38.0          ?100.0          ?100.0          ?99.9          ?100.0          -99.9          -99.8          ?83.2
จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย (%YoY)          0.9          ?30.3          ?90.6          ?38.0          ?29.9          ?34.5          -23.5          -31.9          ?46.4
การจ้างงานภาคบริการ (%YoY) /3          13.0          1.0          ?          3.1          1.1          ?0.4          ?          ?          1.6
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจต่างประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย (บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ)/2          31.0          31.8          31.7          31.3          30.6          31.2          30.5          30.1          31.4
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)/2          37.3          9.3          1.1          6.3          ?          1.0          ?1.5          ?          17.2
ทุนสำรองทางการ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)/2          224.3          226.5          241.6          251.1          258.1          248.5          253.5          258.1          258.1
ฐานะซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ (พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)/2          34.3          34.4          24.5          22.9          29.3          24.9          27.0          29.3          29.3
เสถียรภาพทางเศรษฐกิจในประเทศ
อัตราการว่างงาน (%) /3          1.0          1.1          2.0          1.3          -          2.1          2.0          1.5          1.6
ดัชนีราคาผู้ผลิต  (%YoY)  /4          ?1.0          ?0.4          ?4.1          ?1.7          ?0.9          ?0.9          ?0.9          ?0.9          ?1.8
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป  (%YoY)  /4          0.7          0.4          ?2.7          ?0.7          ?0.4          ?0.5          ?0.4          ?0.3          ?0.8
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (%YoY)  /4          0.5          0.5          0.1          0.3          0.2          0.2          0.2          0.2          0.3
หนี้สาธารณะต่อ GDP(%) /1          41.2          41.7          45.8          49.4          50.5          49.5          50.5          ?          50.5

ภาคการคลัง (ปีงบประมาณ)/1           FY2563          FY2563
Q1          FY2563
Q2          FY2563
Q3          FY2563
Q4          FY2564
Q1          FY2564
ต.ค.          FY2564
พ.ย.          FY2564
ธ.ค.          FYTD
รายจ่ายปีปัจจุบัน (พันล้านบาท)/1          2,943.9          729.5          813.6          710.4          690.4          938.5          355.3          336.1          247.2          938.5
(%YoY) /1          5.6          ?18.3          21.6          20.4          8.6          28.7          2.2          117.4          8.7          28.7
รายจ่ายประจำ (พันล้านบาท)/1          2,575.9          703.5          750.4          602.8          519.3          865.5          342.1          300.5          223.0          865.5
(%YoY) /1          7.3          ?14.0          31.9          21.1          0.5          23.0          1.5          101.8          2.5          23.0
รายจ่ายลงทุน (พันล้านบาท)/1          367.9          26.0          63.3          107.6          171.1          73.0          13.2          35.6          24.2          73.0
(%YoY) /1          ?5.0          ?65.4          ?36.9          16.1          43.7          180.9          25.0          525.6          148.2          180.9
รายจ่ายปีก่อน (พันล้านบาท)/1          224.9          80.6          62.8          32.8          48.7          79.8          19.3          27.7          32.8          79.8
(%YoY) /1          ?11.8          13.9          2.9          ?54.0          ?6.0          ?1.0          ?6.6          3.7          ?1.4          ?1.0
รายจ่ายรวม (พันล้านบาท)/1          3,168.7          810.1          876.4          743.2          739.0          1,018.3          374.6          363.8          280.0          1,018.3
(%YoY) /1          4.1          ?15.9          20.0          12.3          7.5          25.7          1.7          100.6          7.4          25.7
ที่มา: 1/กระทรวงการคลัง 2/ธนาคารแห่งประเทศไทย 3/สำนักงานสถิติแห่งชาติ 4/กระทรวงพาณิชย์ 5/มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 6/สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 7/Reuters
8/สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 9/สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 10/กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 11/ กรมจัดเก็บประกอบด้วยกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต
และกรมศุลกากร 12/กรมการขนส่งทางบก 13/สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 14/มาจากการคำนวณ



          ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ