รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 25 - 29 มกราคม 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 2, 2021 13:36 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
Indicators this week .สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 61 มียอดดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ธ.ค. 63 ขยายตัว คงค้าง 17.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อปี ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 11.2 ต่อปี

นักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือน ธ.ค. 63 มีจำนวน 6,556 คน หดตัวร้อยละ -99.8 ต่อปี ประกอบไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเภทพิเศษ (STV) รวมถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มสิทธิพิเศษ (Thailand Privilege Card) และนักธุรกิจ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือน ธ.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -2.4 ต่อปี

ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 9.9 ต่อปี

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือน ธ.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -4.4 ต่อปี

ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ธ.ค. 63 หดตัวร้อยละ -15.9 ต่อปี

การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ธ.ค. ปีงบประมาณ 64 ขยายตัวร้อยละ 7.4 ต่อปี

รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ธ.ค. ปีงบประมาณ 64 หดตัวร้อยละ -15.2 ต่อปี

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ธ.ค. ปีงบประมาณ 64 ขาดดุลจำนวน ญ77,396 ล้านบาท

          ช  \ Economic Indicators: This Week ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ส่งผลให้ในปี 2563 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมหดตัวที่ร้อยละ -4.4 หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ธ.ค. 63 พบว่า ผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวในหมวดปศุสัตว์และหมวดประมงที่ร้อยละ 4.3 และ 8.4 ตามลำดับ ขณะที่ผลผลิตในหมวดพืชผลสำคัญหดตัวที่ร้อยละ -0.2 โดยสินค้าสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือก  มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน ไข่ไก่ และไก่ ขณะที่สินค้าสำคัญที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ยางพารา  กลุ่มไม้ผล และสุกร ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ส่งผลให้ในปี 63 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 หากพิจารณา รายหมวดราคาสินค้าเกษตรในเดือน ธ.ค. 63 พบว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรขยายตัวในทุกหมวดสินค้า โดยหมวดพืชผลสำคัญหมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงขยายตัว ที่ร้อยละ 13.6 4.5 และ 4.0 ตามลำดับ โดยสินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กลุ่มไม้ผล และสุกร ขณะที่สินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก และไก่ นักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือน ธ.ค. 63 มีจำนวน 6,556 คน หดตัวร้อยละ -99.8 ต่อปี ประกอบไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเภทพิเศษ (STV) รวมถึงนักท่องเที่ยวกลุ่มสิทธิพิเศษ (Thailand Privilege Card) และนักธุรกิจ โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวชาวยุโรป โดยเฉพาะเยอรมนี และอังกฤษ นอกจากนี้ บางส่วนเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน เกาหลีใต้ และประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน ส่งผลให้ในปี 63 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 6.7 ล้านคน ลดลงร้อยละ -83.2 ต่อปี ขณะที่การท่องเที่ยวภายในประเทศ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยในเดือน ธ.ค. 63 ลดลงร้อยละ -31.9 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ลดลงร้อยละ -23.4 ต่อปี โดยภาพรวมปี 63 มีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 123.2 ล้านคน ลดลงร้อยละ -46.4 ต่อปี ขณะที่อัตราการเข้าพักทั้งปี 63 อยู่ที่ร้อยละ 29.5 ต่อปี  Economic Indicators: This Week ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ธ.ค. 63 หดตัวร้อยละ -2.4 ต่อปี และหตตัวร้อยละ -9.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลของฤดูกาล ส่งผลให้ดัชนี MPI ในปี 63 หดตัวที่ร้อยละ -8.8 ต่อปี ทั้งนี้ ดัชนี MPI ในเดือน ธ.ค. 63 ที่หดตัวเป็นผลมาจากการหดตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ หมวดการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก หดตัวร้อยละ -12.0 -9.8 และ  -3.7 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวได้ดี ได้แก่ หมวดการผลิตยานยนต์ การผลิตคอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 5.2 3.8 และ 2.7 ต่อปี ตามลำดับ  ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ธ.ค. 63 กลับมาขยายตัวร้อยละ 9.9 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 9.1 ต่อเดือนหลังปรับผล ทางฤดูกาล โดยมีปัจจัยมาจากเหล็กที่ใช้ในอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น เช่น เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เหล็กแผ่น รีดเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ขยายตัวร้อยละ 6.3 16.5 และ 14.2 ต่อปี ตามลำดับ เช่นเดียวกับเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างปรับตัวดีขึ้น ตามการเร่งลงทุนในโครงการภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ ซึ่งคาดว่าอาจจะกระทบต่อความต้องการใช้งานเหล็กในระยะถัดไปภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่  ในเดือน ธ.ค. 63 หดตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ -4.4 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 ส่วนหนึ่งเป็นจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้าที่หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.2 จากมูลค่าการนำเข้าที่กลับมาขยายตัว แต่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายภายในประเทศหดตัวที่ร้อยละ -6.8 จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกที่ 2 ส่งผลให้กำลังซื้อชะลอลงภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน     ธ.ค. 63 หดตัวร้อยละ -15.9 ต่อปี และหดตัวร้อยละ      -2.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล  โดยการจัดเก็บลดลงในทุกหมวดภาษีเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ชะลอตัวต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ ในเดือน ธ.ค. 63 ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง จากความกังวลต่อสภาพเศรษฐกิจและการจ้างงาน ทำให้คนไม่กล้าซื้อสินทรัพย์ราคาสูงอย่าง ที่อยู่อาศัย เนื่องจากกลัวการถูกเลิกจ้าง รวมถึงรายได้ ที่ลดลง ขณะที่สถาบันการเงินเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ทำให้ยอดการปฏิเสธสินเชื่อเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ออกมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ การลดการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปี 64 ลงร้อยละ 90 และการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงการกระจายวัคซีนที่มีแนวโน้มมากขึ้น จะช่วยให้ ภาคอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวได้ดีขึ้นในระยะถัดไป
 Economic Indicators: This Week การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ธ.ค. ปีงบประมาณ 64 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 279,968 ล้านบาท ขยายตัว    ร้อยละ 7.4 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 29.1 โดย (1) รายจ่ายปีปัจจุบัน เบิกจ่ายได้ 247,180  ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.7 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 28.6 ทั้งนี้ แบ่งออกเป็น (1.1) รายจ่ายประจำ 222,957 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.5 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 32.8 และ (1.2) รายจ่ายลงทุน 24,223 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 148.2 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 11.3 (2) รายจ่ายปีก่อน เบิกจ่ายได้ 32,789 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -1.4 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 37.0 ต่อปีรัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.)   ในเดือน ธ.ค. ปีงบประมาณ 64 ได้ 515,748 ล้านบาท หดตัวร้อยละ ญ15.2 ต่อปี โดยหดตัวจาก (1) ภาษีเงินได้นิติบุคคล หดตัวร้อยละ ญ14.1 ต่อปี และภาษีมูลค่าเพิ่ม  หดตัวร้อยละ ญ5.1 จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19  ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด       ในเดือน ธ.ค. ปีงบประมาณ 64 พบว่า ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน ญ77,396 ล้านบาททั้งนี้เมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่ขาดดุลแล้วพบว่า ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล -86,354 ล้านบาท โดยในเดือนนี้ รัฐบาล มีการกู้เงิน 183,200 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสุดหลังกู้เกินดุล 96,846 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ 473,001 ล้านบาท
Global Economic Indicators: This Week

US ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้นที่ร้อยละ 0.00-0.25 ตามเดิมและยังคงจะซื้อพันธบัตรตามมาตรการ ผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing) วงเงินรวม 1.2 แสนล้านดอลลาร์ต่อเดือน GDP ไตรมาส 4/63 หดตัวชะลอลงจากไตรมาส ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ -2.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และหากเทียบเป็นรายไตรมาสจะขยายตัวที่ร้อยละ 1.0 จากไตรมาสก่อนหน้า หรือคิดเป็นร้อยละ 4.0 แบบอัตรารายปี (annualized rate)) ส่งผลให้ทั้งปี 63 GDP หดตัวที่ร้อยละ -3.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีราคา ที่อยู่อาศัย เดือน พ.ย. 63 ปรับตัวขึ้นร้อยละ 11.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปรับตัวขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือน พ.ค. 63 ขณะที่ยอดขายบ้านใหม่ เดือน ธ.ค. 63 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบรายเดือน (ขจัดผลทางฤดูกาล) โดยยอดขายบ้านใหม่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคมิดเวสต์และตะวันตก แต่ลดลงในภาคใต้และตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบรายปี ยอดขายบ้านใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 15.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน Japan ยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 63 หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -0.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน กลับมาหดตัวอีกครั้งหลังขยายตัวเป็นบวกในเดือน ต.ค. 63 และ พ.ย. 63 ที่ร้อยละ 6.4 และ 0.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ โดยเป็นผลจากยอดขายสินค้าที่ลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มของสินค้าทั่วไป เชื้อเพลิง และเครื่องนุ่งห่ม ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) เดือน ธ.ค. 63 หดตัวลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ -1.6 อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 63 ยังคงทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.9 โดยจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มสูงขึ้น 6,000 คน จากเดือนก่อนหน้าเป็น 2.04 ล้านคนในเดือน ธ.ค. 63 ซึ่งอัตราการมีส่วนร่วมของกำลังแรงงานนอกฤดูกาลปรับลดลงเหลือร้อยละ 62.0 จากร้อยละ 62.3 ในเดือนที่ผ่านมา EU ระดับความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ -15.5 จุด ลดลงจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ -13.8 จุด เนื่องจากภาคครัวเรือนแสดงความกังวลถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 Vietnam ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 22.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 9.5 โดยมีสินค้าอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ยอดค้าปลีกเดือน ม.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 9.4 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ -0.97 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าจากค่าขนส่งที่ลดลงเป็นสำคัญ อีกทั้งมูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 50.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่มูลค่า การนำเข้าเดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 41.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้เกินดุลที่ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ.Hong Kong มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 11.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.6 โดยมูลค่า การส่งออกไปยังจีนขยายตัวสูงถึงร้อยละ 17.5 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 14.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือน ก่อนหน้า ส่งผลให้\ ขาดดุลการค้าที่ระดับ 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง Malaysia มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 10.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลที่ 2.0 หมื่นล้านริงกิตมาเลเซียAustralia อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาสที่ 4/63 ขยายตัวร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน นับว่าเป็นการขยายตัวที่สูงที่สุดในรอบสามไตรมาสที่ผ่านมา โดยราคาสินค้าและบริการที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ แอลกอฮอล์และยาสูบ การศึกษา อาหาร เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือน ประกันและบริการทางการเงิน อย่างไรก็ตาม ยังคงมีสินค้าและบริการที่ปรับราคาลดลง ได้แก่ ที่อยู่อาศัย การขนส่ง เสื้อผ้าและรองเท้า และการสื่อสารPhilippines GDP ไตรมาสที่ 4/63 หดตัวที่ร้อยละ -8.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้ทั้งปี 63 หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -9.5 จากปีก่อน ขณะที่มูลค่าการส่งออกเดือน ธ.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเดือน ธ.ค. 63 หดตัวที่ร้อยละ -9.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่หดตัวที่ร้อยละ -18.3 ส่งผลให้ขาดดุลอยู่ที่ 2.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯSingapore อัตราเงินเฟ้อเดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -0.1 จากราคาค่าขนส่ง เป็นสำคัญ รวมทั้งอัตราการว่างงานไตรมาสที่ 4 ปี 63 (เบื้องต้น) อยู่ที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 14.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า จากสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจไตรมาสที่ 4 ปี 63 อยู่ที่ระดับ 32 จุด ดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ -3 จุด UK อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 63 อยู่ที่ร้อยละ 5 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือน ต.ค. 63 ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.9 ของกำลังแรงงานรวม และเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 Taiwan ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. 63 ที่ขยายตัว ที่ร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือน พ.ย. 63 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.63 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดที่ร้อยละ 1.5 และเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 โดยเป็นผลจากยอดขายสินค้าในหมวดสินค้าทางวัฒนธรรม ยารักษาโรค และวัสดุก่อสร้างที่ลดลง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ม.ค. 64 ลดลงอยู่ที่ระดับ 70.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่อยู่ที่ระดับ 72.9 จุด จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวลดลง โดยเฉพาะดัชนีกำหนดเวลาในการซื้อสินค้าคงทน โอกาสในการจ้างงาน และสภาวะเศรษฐกิจในประเทศ South Korea GDP ไตรมาสที่ 4/63 หดตัวร้อยละ -1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า GDP ไตรมาส 4 ปี 63 ขยายตัวร้อยละ 1.1 โดยได้แรงหนุนจากการส่งออกที่แข็งแกร่ง หลังรัฐบาลผ่อนคลายมาตรการเข้มงวดในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ทั้งปี 63 GDP หดตัวร้อยละ -1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็นตัวเลข GDP ที่หดตัวน้อยที่สุดในบรรดาประเทศสมาชิก OECD ในปี 63 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCSI) เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 95.4 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 89.8 จุด จากปัจจัยความเชื่อมั่นในอนาคตที่เกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ และรายได้ครัวเรือน ที่เพิ่มสูงขึ้น ผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่ขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี ยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 63 หดตัวร้อยละ -2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอน Weekly Financial Indicators

ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับ Weekly Financial Indicators ตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น HSI (ฮ่องกง) TWSE (ไต้หวัน) STI (สิงคโปร์) และ JCI (อินโดนีเซีย) เป็นต้น โดยดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ และปรับตัวลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ เมื่อวันที่ 28 ม.ค. 64 ปิดที่ระดับ 1,468.51 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 25 - 28 ม.ค. 64 ที่ 85,508.80 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 25 - 28 ม.ค. 64 นักลงทุนต่างชาติ ขาย หลักทรัพย์สุทธิ -9,908.65 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น (อายุไม่เกิน 1 ปี) ไม่มีการปรับตัว ระยะกลางถึงยาว (อายุมากกว่า 1 ปี) ปรับตัวลดลงในช่วง -1 ถึง -8 bps โดยในสัปดาห์นี้ นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 25 - 28 ม.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออก จากตลาดพันธบัตรสุทธิ -912.18 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 28 ม.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -780.91 ล้านบาทเงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 28 ม.ค. 64 เงินบาทปิดที่ 30.04 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.33 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวนที่อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงน้อยกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.08 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ