Executive Summary
อัตราเงินเฟ้อเดือน ม.ค. 64 ลดลงร้อยละ -0.34 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นที่ร้อยละ 0.21 ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 52.1 ของ GDP
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ม.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ธ.ค. 63 ขาดดุล -692.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินขยายตัวที่ร้อยละ 10.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ม.ค. 64 ปรับตัวลดลงจากระดับ 50.1 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 47.8
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ม.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน Economic Indicators: This Week อัตราเงินเฟ้อเดือน ม.ค. 64 ลดลงร้อยละ -0.34 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นการหดตัวต่อเนื่องจากร้อยละ -0.27 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสำคัญจากราคาพลังงานที่ยังต่ำกว่าปีก่อน (ลดลงร้อยละ -4.82) จากการปรับลดค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ลงอีกเป็น -15.32 สตางค์ต่อหน่วย จากมาตรการด้านไฟฟ้าที่ช่วยเหลืออละบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องไปจนถึงเดือนเมษายน 2564 รวมทั้งราคาข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียวที่ยังลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปี 2563 ตามปริมาณผลผลิตที่กลับเข้าสู่ปกติและไม่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งเหมือนปีก่อน ประกอบกับความต้องการของตลาดต่างประเทศยังทรงตัว สำหรับราคาสินค้าและบริการในหมวดอื่น ๆ ยังคงเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าในบางกลุ่ม โดยเฉพาะผักสดและเครื่องประกอบอาหารยังปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเกิดอุทกภัยในภาคใต้ และน้ำมันพืชปรับตัวตามราคาผลปาล์มสดที่สูงขึ้นตามความต้องการใช้ภายในประเทศทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 0.21 หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 63 มีจำนวนทั้งสิ้น 8,136,115ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 52.1ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 210,737 ล้านบาท ทั้งนี้ สถานะ หนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุคงเหลือ คิดเป็นร้อยละ 83.2 ของยอดหนี้สาธารณะ และเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 98.3 ของยอดหนี้สาธารณะดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ม.ค. 64 ขยายตัว ร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 และขยายตัวสูงสุดในรอบ 2 ปี 6 เดือนเป็นการเพิ่มสูงขึ้นเกือบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สูงขึ้นร้อยละ 19.1 ตามราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กจากความต้องการของตลาดโลกที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม หมวดซีเมนต์ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต หมวดวัสดุฉาบผิวและหมวดสุขภัณฑ์ยังคงลดลงตามภาวะสินค้าที่ล้นตลาดจากการที่ภาคการก่อสร้าง และภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงซบเซา ทั้งนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่รวมถึงปริมาณสินค้าของวัสดุก่อสร้างบางประเภทมีมากเกินความต้องการ จึงเป็นปัจจัยกดดันที่อาจส่งผลต่อภาคการก่อสร้าง ภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ฟื้นตัวได้อย่างจำกัด
Economic Indicators: This Week ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ธ.ค. 63 ขาดดุล -692.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขาดดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ -1,476.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลที่ -3,527.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลมากขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP) เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2,834.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นมากกว่ามูลค่าการนำเข้า ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 63 เกินดุลรวม 16,539.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐสินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ธ.ค. 63 มียอดคงค้าง 19.0 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) โดยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้น เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อพบว่า สินเชื่อเพื่อธุรกิจและการอุปโภคบริโภคขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ธ.ค. 63 มียอดคงค้าง 22.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 10.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 10.5 และเงินฝากสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวในอัตราคงที่อยู่ที่ร้อยละ 7.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ Economic Indicators: This Week ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ม.ค. 64 ปรับตัวลดลงจากระดับ 50.1 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 47.8 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ในรอบ 4 เดือนและยังเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือนนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 63 เป็นต้นมา เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในวงกว้างและรวดเร็วในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อ การจ้างงานและกำลังซื้อภายในประเทศ ทั้งนี้ ต้องติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐรอบใหม่ว่าจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเป็นอย่างไรในช่วงไตรมาสแรกของปี 64 ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ม.ค. 64 กลับมาหดตัวที่ร้อยละ -6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลพบว่า หดตัวที่ร้อยละ -6.5 เนื่องจากสถาบันการเงินมีแนวโน้มในการปล่อยสินเชื่อยากกว่าปกติ ประกอบกับความเชื่อมั่นและกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ Global Economic Indicators: This Week
US ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 58.7 จุด ปรับตัวลดลงจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 60.5 จุด ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ อุตสาหกรรมสหรัฐฯ มีการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 ขณะที่ ดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการ เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 58.7 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 57.7 จุด และเป็นการขยายตัวในระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 62 เป็นผลจากดัชนียอดคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญChina ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม (Caixin) เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 51.5 จุด ลดลงจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 53.0 จุด ดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการ (Caixin) เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 52.0 จุด ลดลงจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 56.3 จุด และเป็นการลดลง ในระดับต่ำที่สุดในรอบ 9 เดือน จากการระบาดระลอกใหม่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในบางพื้นที่ของประเทศจีน Japan ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 49.8 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 50.0 โดยทางฝั่งธุรกิจบางแห่งคาดการณ์ว่าอุปสงค์จะฟื้นตัวในปี 64 ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 46.1 จุด ลดลงจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 47.7 จุดซึ่งเป็นผลมาจากการประกาศภาวะฉุกเฉินของรัฐบาลในกรุงโตเกียว EU ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 54.8 จุด ปรับตัวลดลงจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 55.2 จุด อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรมอยู่เหนือระดับ 50 จุด ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 แสดงถึงการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรม อัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 63 อยู่ที่ร้อยละ 8.3 ของกำลังแรงงานรวม คงที่จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 8.3 ของกำลังแรงงานรวม GDP (เบื้องต้น) ไตรมาส 4/63 หดตัวที่ร้อยละ -5.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -4.3 ดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการ เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 45.4 จุด ปรับตัวลดลงจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 46.4 จุด โดยดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 จุด ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 สะท้อนว่าภาคบริการยังไม่ฟื้นตัว อัตราเงินเฟ้อ (เบื้องต้น) เดือน ม.ค. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค. 63 ที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -0.3 เป็นการขยายตัวมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 63 และสูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ร้อยละ 0.5 ยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 63 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
.เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. 63 ที่หดตัวที่ร้อยละ -2.2 Hong Kong ยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ร้อยละ -14 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. 63 ที่อยู่ที่ร้อยละ -4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเป็นการหดตัวมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 63 จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในท้องถิ่นเป็นระลอกที่ 4 Vietnam
\ ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 51.3 จุด ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 51.7 จุด ท่ามกลางผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 โดยคำสั่งซื้อใหม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าลง ในขณะเดียวกันผลผลิตการขาย การส่งออก การจ้างงาน และการจัดซื้อ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างAustralia ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 57.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 52.1 โดยได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่ ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 55.6 ลดลงจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 57.0 จุดเนื่องจากการชะลอตัวลงของกิจกรรมทางธุรกิจ Singapore ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 50.7 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 50.5 จุด อยู่เหนือระดับ 50 จุด ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 ยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 63 หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. 63 ที่อยู่ที่ร้อยละ -1.7 และหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 23 Malaysia ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 48.9 จุด ลดลงจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 49.1 จุด เนื่องจากผลผลิตและยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่ลดลง Indonesia ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 52.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ 51.3 จุด โดยได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 57 อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 64 ขยายตัวชะลอลงที่ ร้อยละ 1.55 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือน ธ.ค. 63 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.68 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 1.66 GDP ไตรมาสที่ 4/63 หดตัวที่ร้อยละ -2.19 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.49 India ดัชนีฯ (PMI) ภาคการผลิต เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 57.7 จุด ซึ่งเป็นระดับที่เพิ่มต่อเนื่อง 3 เดือนติดต่อกัน สะท้อนการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจ ดัชนีฯ (PMI) ภาคบริการ เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 52.8 จุด โดยภาคบริการมีขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือนติดต่อกัน ทั้งในหมวดการผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ ตลอดจนภาคอุปสงค์ที่แข็งแกร่งขึ้น การส่งออก เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ 27.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นมูลค่าการส่งออกที่สูงสุดในรอบ 4 เดือน จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในสินค้าธัญพืช น้ำมันเพื่อการบริโภค แร่เหล็ก เป็นสำคัญ ขณะที่การนำเข้า เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ 41.99 พันล้านดอลลาร์สหรัฐขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ม.ค. 64 ขาดดุล -14.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุล -15.44 พันล้านดอลาร์สหรัฐ Philippines ดัชนีฯ (PMI) ภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 52.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ระดับ 49.2 จุด อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค. 63 ที่อยู่ที่ร้อยละ 3.5 เป็นการปรับตัวสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 62 ผลผลิตภาคอุตสหกรรม เดือน ธ.ค. 63 หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -5.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือน พ.ย. 63 ที่หดตัวร้อยละ -11.5 และเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 Weekly Financial Indicators ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับ ตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลง เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) HSI (ฮ่องกง) STI (สิงคโปร์) JCI (อินโดนีเซีย) และ PSEi (ฟิลิปินส์) เป็นต้น โดยดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ และปรับตัวลดลงในช่วงกลางสัปดาห์ เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 64 ปิดที่ระดับ 1,482.98 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 1 - 4 ก.พ. 64 ที่ 78,044.16 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนทั่วไปในประเทศ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนต่างชาติ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 1 - 4 ก.พ. 64 นักลงทุนต่างชาติ ขาย หลักทรัพย์สุทธิ -9,174.00 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น (อายุไม่เกิน 1 ปี) ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 0 ถึง 3 bps ระยะกลางถึงยาว (อายุมากกว่า 1 ปี) ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 2 ถึง 7 bps โดยในสัปดาห์นี้ นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล อายุ 5 ปี และ 50 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 2.67 และ 2.19 เท่าของวงเงินประมูล ตามลำดับ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 1 - 4 ก.พ. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ตลาดพันธบัตรสุทธิ 4,739.91 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 4 ก.พ. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ 3,708.31 ล้านบาทเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 4 ก.พ. 64 เงินบาทปิดที่ 30.03 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.02 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหยวนที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.19 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง