รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 15 - 19 กุมภาพันธ์ 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 22, 2021 13:25 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week

เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปี 63 หดตัวที่ร้อยละ -4.2 ต่อปี คงค้าง 17.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาส 3 ปี 63 ที่หดตัวร้อยละ -6.4 ต่อปี ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ม.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ม.ค. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 83.5 จากระดับ 85.8 ในเดือนก่อน

GDP สิงคโปร์ ไตรมาสที่ 4 ปี 63 หดตัวที่ร้อยละ -2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

 Economic Indicators: This Week เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปี 63 หดตัวที่ร้อยละ  -4.2 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาส 3 ปี 63 ที่หดตัว ร้อยละ -6.4 ต่อปี และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออก เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปี 63 ขยายตัวร้อยละ 1.3 (QoQ_SA) โดยด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทั้งโครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน และโครงการช้อปดีมีคืน ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.9 และ 0.6 ตามลำดับ นอกจากนี้ การลงทุนภาคเอกชนและการส่งออกสินค้าลดลงในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ -3.3 และ -1.5ตามลำดับ ในส่วนของด้านการผลิต การผลิตภาคเกษตรกลับมาขยายตัวได้ที่ร้อยละ 0.9 จากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยและปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อ     การเพาะปลูก การผลิตสาขาบริการหดตัวร้อยละ -5.9 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าโดยสาขาบริการที่ขยายตัว เช่น สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร กิจกรรมทางการเงิน กิจกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น และการผลิตสาขาอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ -0.7 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยในปี 63 หดตัว ที่ร้อยละ -6.1 ต่อปี เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.3 ในปี 62 ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ในเดือน ม.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หดตัวร้อยละ -0.1 หลังปรับ   ผลทางฤดูกาลเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 หลังจากที่ภาคการก่อสร้างได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยอย่างฉับพลันในหลายพื้นที่ ทำให้การก่อสร้างในพื้นที่ดังกล่าวชะลอลง อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติและดำเนินการก่อสร้างต่อได้ รวมทั้ง การเร่งเบิกจ่ายงบโครงการก่อสร้างของภาครัฐ โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ จะช่วยให้ความต้องการใช้งานปูนซีเมนต์ขยายตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นรวมถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้บริษัทผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ต่างชะลอการลงทุนโครงการใหม่ ทำให้อุปสงค์การใช้งานวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ รวมถึงปูนซีเมนต์ของภาคเอกชนยังฟื้นตัวได้อย่างจำกัด จนกว่าสถานการณ์     การแพร่ระบาดจะคลี่คลายลง
Economic Indicators: This Week ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน    ม.ค. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 83.5 จากระดับ 85.8 ในเดือนก่อน โดยดัชนีฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และต่ำสุดในรอบ 6 เดือน จากปัญหาการระบาดระลอกใหม่ที่ขยายวงกว้างกว่ารอบแรก ทำให้รัฐบาลต้องออกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดครั้งใหม่ ส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์ในประเทศ อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีฯ ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าการระบาดรอบแรกในช่วงเดือนเม.ย.63 ซึ่งลดลงมาอยู่ที่ระดับ 75.9 เนื่องจากการระบาดในรอบนี้ภาคการผลิตไม่ได้หยุดชะงักทั้งหมด ขณะที่ยังมีปัจจัยบวกจากมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจได้บางส่วน สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ชะลอลงเช่นกันมาอยู่ที่ระดับ 91.1 จากระดับ 92.7 ในเดือนก่อน จากความกังวลต่อการแพร่ระบาดของโควิดรอบใหม่ และการได้รับวัคซีนของไทยที่ล่าช้า ส่งผลต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจไทยที่ชะลอลง
Global Economic Indicators: This Week
          US ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้แรงหนุนจากมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ วงเงินเกือบ 9 แสนล้านดอลลาร์เมื่อปลายเดือน ธ.ค. 63 ซึ่งรวมถึงการจ่ายเช็ค 600 ดอลลาร์ การขยายการอุดหนุนเงินว่างงานรายสัปดาห์ และสวัสดิการอื่น ที่ช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเพิ่มการบริโภคในประเทศ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ -1.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า และเป็นระดับที่ดีที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 63 ขณะที่ จำนวน      ผู้ขอรับสวัสดิการวางงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (Initial Jobless Claims) ระหว่างวันที่ 7 ก.พ. 64 - 13 ก.พ. 64 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 8.61 แสนราย และสูงกว่าคาดการณ์ของตลาด ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นอกจากนี้ ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน ม.ค. 64 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ -6.0 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยเป็นผลจากราคาไม้ซึ่งเป็นวัสดุสำคัญสำหรับการสร้างบ้านที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน ม.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)EU ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 63 หดตัวร้อยละ -0.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวมากขึ้นจาก เดือน พ.ย. 63 เล็กน้อยที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -0.6 และหดตัวมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ -0.3  GDP ไตรมาสที่ 4/63 (ประมาณการณ์ครั้งที่ 2) หดตัวร้อยละ -5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวมากขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -4.3 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ระลอกที่สอง ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) เดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ระดับ -14.8 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ม.ค. 64 ที่อยู่ที่ระดับ -15.5 จุด และเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้เล็กน้อยที่อยู่ที่ระดับ -15.0 จุด  Japan ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 63 หดตัวร้อยละ -2.6 จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน ซึ่งหดตัวในอัตราชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค. 64 ลดลงร้อยละ -0.6 จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน ซึ่งเป็นผล    มาจากการลดลงของราคาในหมวดสาธารณูปโภค การศึกษา การขนส่งและการสือสาร การดูแลสุขภาพ อาหาร และการพักผ่อน
          .ส่งผลให้ดัชนีฯ PMI ภาคการบริการ (เบื้องต้น) เดือน ก.พ. 64 ลดลงมาอยู่ที่ 45.8 จุด จาก 46.1 จุดในเดือน ม.ค. 64 อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น) เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 50.6 จุด จาก 49.8 จุด ในเดือน ม.ค. 64 โดยมูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 64 ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 6.4 จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน ขณะที่ มูลค่าการนำเข้า เดือน ม.ค. 64 ลดลงร้อยละ -9.5 จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน\  ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ม.ค. 64 ขาดดุลลดลงเหลือ 323.9 พันล้านเยน จาก 1,315 พันล้านเยนในเดือนเดียวกันของปีก่อน Singapore GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 63 หดตัวที่ร้อยละ -2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.4 ทำให้ทั้งปี 63   หดตัวที่ร้อยละ -5.4 จากปีก่อน  Hongkong อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 7.0 ของกำลังแรงงานรวม ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 47 อันเป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลฮ่องกงประกาศยกระดับมาตรการ   คุมเข้ม ตรวจหาเชื้อเชิงรุกกับประชาชน และสั่งปิดพื้นที่เป็นครั้งแรก เมื่อ 23 ม.ค. 64 UK อัตราเงินเฟ้อเดือน ม.ค. 64 ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 0.7 จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.6 จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนมาจากสินค้าและบริการในหมวดเฟอร์นิเจอร์และสินค้าในบ้าน อาหารและโรงแรม และการขนส่ง Indonesia มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 12.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 14.6  ด้านมูลค่าการนำเข้า เดือน ม.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -6.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่    หดตัว ร้อยละ -0.5  ส่งผลให้เกินดุลการค้าที่ 1.96 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเชิงนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี India มูลค่าส่งออก เดือน ม.ค. 64 ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 6.2 จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน โดยมีมูลค่า 24.75 พันล้าน     ดอลาร์สหรัฐ มูลค่านำเข้า เดือน ม.ค. 64 ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 2.0 จากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน โดยมีมูลค่า 41.99 พันล้านดอลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ม.ค. 64 ขาดดุล -14.54 พันล้านดอลาร์สหรัฐ โดยเป็นการขาดดุลต่อเนื่อง 7 เดือน ติดต่อกัน Austraria อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 64 ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 6.4 จากร้อยละ 6.6 ในเดือน ธ.ค. 63 ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19  อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน ก.พ. 64 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 56.6 จุด และ54.1 จุด ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสถานะของธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม และบริการที่ยังคงชะลอตัวอยู่
Weekly Financial Indicators
ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับ      ตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) HSI (ฮ่องกง) JCI (อินโดนีเซีย) และ KLCI (มาเลเซีย) เป็นต้น โดยดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง         ต้นสัปดาห์ และทยอยปรับตัวลดลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 64 ปิดที่ระดับ 1,511.03 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 15 - 18 ก.พ. 64 ที่ 97,153.50 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่     นักลงทุนทั่วไปในประเทศ  นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และ นักลงทุนต่างชาติ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 15 - 18 ก.พ. 64 นักลงทุนต่างชาติ ซื้อ หลักทรัพย์สุทธิ 496.33 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 3 ถึง 10 bps โดยในสัปดาห์นี้ นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 11 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 2.43 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 15 - 18 ก.พ. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออก ตลาดพันธบัตรสุทธิ -4,198.81 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 18 ก.พ. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -2,958.97 ล้านบาทเงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 18 ก.พ. 64 เงินบาทปิดที่ 30.01 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง ร้อยละ -0.31 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลเยน  ยูโร ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.04 จากสัปดาห์ก่อน




ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ