Executive Summary
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ. 64 ลดลงร้อยละ -1.17 ต่อปี คงค้าง 17.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.04 ต่อปี
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.พ. 64 ขยายตัวร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ก.พ. 64 หดตัวที่ร้อยละ -5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ม.ค. 64 ขาดดุล -673.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ม.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงิน ขยายตัวที่ร้อยละ 9.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 52.0 ของ GDP
Economic Indicators: This Week อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก.พ. 64 ลดลงร้อยละ -1.17 ต่อปี ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 นับตั้งแต่สถานการณ์ โควิด-19 เริ่มส่งผลต่อประเทศไทยในเดือนมีนาคมปีก่อน อย่างไรก็ตาม การหดตัวของอัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้มีปัจจัยหลักจากมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ โดยเฉพาะ การลดค่าไฟฟ้าและน้ำประปา เป็นระยะเวลา 2 เดือน (ก.พ.มี.ค. 64) ประกอบกับราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสด โดยเฉพาะข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และผักสด ลดลงตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาสินค้าและบริการในหมวดอื่น ๆ ส่วนใหญ่ ยังทรงตัวและเคลื่อนไหวสอดคล้องกับปริมาณผลผลิตและความต้องการบริโภคของประชาชน ในส่วนของน้ำมันเชื้อเพลิงมีการปรับราคาสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 13 เดือน ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก ทั้งนี้ เมื่อหักราคาอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัว ที่ร้อยละ 0.04 ต่อปี ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ก.พ. 64 ขยายตัว ร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 โดยเฉพาะหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 21.0 ตามราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากรัฐบาลจีนดำเนินนโยบายควบคุมการผลิตและการส่งออกเหล็ก ทำให้ปริมาณเหล็กในตลาดโลกลดลง ขณะที่ หมวดซีเมนต์ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีต หมวดวัสดุฉาบผิวและหมวดสุขภัณฑ์ยังคงลดลงตามภาวะสินค้าที่ล้นตลาดจากการที่ภาคการก่อสร้าง และภาคอสังหาริมทรัพย์ยังคงซบเซา อย่างไรก็ตาม การได้รับวัคซีนโควิด-19 ในไทยและต่างประเทศ จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภาพรวม และอาจส่งผลให้ภาคการก่อสร้าง ภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นในอนาคต ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ก.พ. 64 ยังคงหดตัวที่ร้อยละ -5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล พบว่าขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.6 โดยตลาดรถจักรยานยนต์ยังคงได้รับผลกระทบจาก การเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันทางการเงิน เนื่องจากมีความเสี่ยงจากหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี ค่ายบริษัทหลายรายได้กระตุ้นยอดขายผ่านกิจกรรมส่งเสริมการขายมากขึ้น และคาดว่ามาตรการของภาครัฐจะช่วยให้กำลังซื้อของผู้บริโภคสามารถกลับมาฟื้นตัวได้ในปี 64 Economic Indicators: This Week ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ม.ค. 64 ขาดดุล -673.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขาดดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ -692.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลที่ -2,567.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP) เกินดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 1,893.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่าการส่งออกที่ลดลงขณะที่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 64 ขาดดุลรวม -673.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ม.ค. 64 มียอดคงค้าง 19.0 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) โดยสินเชื่อจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้น เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อพบว่า สินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวในอัตราชะลอตัวลงที่ร้อยละ 4.1 ขณะที่ สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นที่ร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ม.ค. 64 มียอดคงค้าง 22.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 9.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วหดตัวที่ร้อยละ -0.02 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นที่ร้อยละ 10.6 และเงินฝากสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวในอัตราชะลอตัวลงอยู่ที่ร้อยละ 6.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ม.ค. 64 มีจำนวนทั้งสิ้น 8,195,075 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 52.0 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 58,960 ล้านบาท ทั้งนี้ สถานะ หนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุคงเหลือ คิดเป็นร้อยละ 84.0 ของยอดหนี้สาธารณะ และเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 98.3 ของยอดหนี้สาธารณะ Global Economic Indicators: This Week
US ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม (ISM) เดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ระดับ 60.8 จุด ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 58.7 จุด และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 61 เป็นผลจากดัชนียอดคำสั่งซื้อใหม่ การผลิต การจ้างงาน และคำสั่งซื้อใหม่เพื่อการส่งออกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ขณะที่ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ (ISM) เดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ระดับ 55.3 จุด ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 58.7 จุด เนื่องจากดัชนีด้านอุปทานปรับตัวลดลงและมีแรงกดดันจากดัชนีราคาที่เพิ่มขึ้น China ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม (Caixin) เดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ระดับ 50.9 จุด ปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 โดยเดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 51.5 จุด สอดคล้องกับดัชนีฯ PMI ภาคบริการ (Caixin) อยู่ที่ระดับ 51.5 จุด ปรับตัวลดลงติดต่อกัน เป็นเดือนที่ 3 โดยเดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 52.0 จุด เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ส่งผลกระทบต่อความต้องการบริโภคและการดำเนินธุรกิจJapan อัตราการว่างงานเดือน ม.ค. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.9 จากเดือนก่อนหน้า ขณะเดียวกัน ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ เดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ระดับ 51.4 และ46.3 จุด ตามลำดับ ซึ่งปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มฟิ้นตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19 EU ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ระดับ 57.9 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 54.8 ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมมีมุมมองที่ดีต่อเศรษฐกิจในอนาคต อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน คงที่จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 เช่นกัน และถือเป็นเดือนที่ 2 ที่อัตราเงินเฟ้อกลับมาขยายตัวเป็นบวก ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ระดับ 45.7 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 45.4 จุด อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนี PMI ภาคบริการยังอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 50.0 จุด ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 แสดงถึงการหดตัวของภาคบริการยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 64 หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน พลิกกลับมาหดตัวอีกครั้งหลักจากที่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 ในเดือน ธ.ค. 63 เนื่องจากหลายประเทศสมาชิกได้ทำการขยายมาตรการล็อกดาวน์
.อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 8.1 ของกำลังแรงงานรวม คงที่จากเดือนก่อนหน้าที่อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 8.1 เช่นกัน Vietnam ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ระดับ 51.6 จุด ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.3 จุดHong Kong \ ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -14.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -14.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ซึ่งเป็นรอบที่ 4 สำหรับฮ่องกง Malaysia เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 64 ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี เพื่อปรับปรุงอุปสงค์ภายนอกรวมถึงสนับสนุนการใช้จ่ายของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ระดับ 47.7 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 48.9 จุด Australia การส่งออกสินค้าและบริการเดือน ม.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 6.0 จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากอุปสงค์ จากต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การนำเข้าสินค้าและบริการเดือน ม.ค. 64 ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.0 จากเดือนก่อนหน้า เป็นผลให้ดุลการค้าเดือน ม.ค. 64 เกินดุลเพิ่มสูงขึ้นเป็น 10.14 พันล้านดอลลาร์ จาก 7.13 พันล้านดอลลาร์ในเดือน ธ.ค. 63 ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกในเดือน ม.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ สินค้าในหมวดอาหาร และเครื่องใช้ในครัวเรือน อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ระดับ 56.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 57.2 จุด เช่นเดียวกันกับ ดัชนีฯ PMI ภาคบริการเดือน ก.พ. 64 ที่ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 53.4 จุด จากร้อยละ 55.6 ในเดือนก่อนหน้า Indonesia ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ระดับ 50.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับ 52.2 จุด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ร้อยละ 1.38 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.55 จากราคาค่าบริการข้อมูลสื่อสารและการเงินเป็นสำคัญ Singapore ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ระดับ 54.9 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับ 52.9 จุดPhilippine ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ระดับ 52.5 จุด คงที่จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.2 เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 61 UK ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ 55.1 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 54.1 จุดเป็นผล มาจากการเพิ่มขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่ และการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ เช่นเดียวกันกับดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ 49.5 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 39.5 จุด Weekly Financial Indicators ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับ ตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น HSI (ฮ่องกง) JCI (อินโดนีเซีย) PSEi (ฟิลิปินส์) และ S&P/ASX 200 (ออสเตรเลีย) เป็นต้น โดยดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ และปรับตัวลดลงเล็กน้อยช่วงปลายสัปดาห์ เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 64 ปิดที่ระดับ 1,534.11 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 1 - 4 มี.ค. 64 ที่ 100,149.08 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 1 - 4 มี.ค. 64 นักลงทุนต่างชาติ ซื้อ หลักทรัพย์สุทธิ 4,249.20 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 2 ถึง 32 bps โดยในสัปดาห์นี้ นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 และ 30 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 2.15 และ 1.79 เท่าของวงเงินประมูลตามลำดับ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 1 - 4 มี.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 4,559.95 ล้านบาท และหากนับจาก ต้นปีจนถึงวันที่ 4 มี.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออก จากตลาดพันธบัตรสุทธิ -929.26 ล้านบาทเงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 4 มี.ค. 64 เงินบาทปิดที่ 30.36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง ร้อยละ -1.07 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เยน ยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวนที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.32 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง