Executive Summary
Indicators this week
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ก.พ. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นคงค้าง 17.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวจากระดับ 47.8 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 49.4 ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ม.ค. 64 คิดเป็น 1.40 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ม.ค. ปีงบประมาณ 64 ขยายตัวร้อยละ -4.6 ต่อปี
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ม.ค. ปีงบประมาณ 64 หดตัวร้อยละ -11.3 ต่อปี
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือน ม.ค. ปีงบประมาณ 64 ขาดดุลจำนวน -17,640 ล้านบาท
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ม.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -7.8 ต่อปี
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ม.ค. 64 หดตัวร้อยละ -9.9 ต่อปี
GDP ยูโรโซน ไตรมาสที่ 4/63 (ประมาณการณ์ครั้งที่ 3) หดตัวร้อยละ -4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน Economic Indicators: This Week ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ก.พ. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 47.8 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 49.4 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 เดือนนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 63 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ โดยสาเหตุที่ดัชนีฯ ปรับตัว ดีขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ที่เริ่มคลี่คลายลง สะท้อนจากตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ลดลง ประกอบกับความคืบหน้าของการฉีดวัคซีน นอกจากนี้ มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ม.ค. 64 คิดเป็น 1.40 เท่าของสินทรัพย์ สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือนอยู่ที่ 5.0 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์ สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59 ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือน ม.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -7.8 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวที่ ร้อยละ -4.4 โดยหดตัวจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจาก การนำเข้าเป็นหลัก ซึ่งหดตัวร้อยละ -14.1 สอดคล้องกับ ทิศทางการนำเข้าของประเทศที่หดตัว ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายภายในประเทศหดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -4.0 โดยได้รับอนิสงค์จากมาตรการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ อาทิ คนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน และโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ม.ค. 64 หดตัวร้อยละ -9.9 ต่อปี และหดตัวร้อยละ -1.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล โดยการจัดเก็บภาษีลดลงในทุกหมวดการจัดเก็บ โดยเฉพาะในหมวดการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ ที่หดตัวร้อยละ -10.8 ต่อปี ผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบใหม่ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคยังมีความกังวลต่อสภาพเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การระบาดมีแนวโน้มดีขึ้น จากการเริ่มกระจายวัคซีนป้องกันโควิดในไทย มาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงมาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ออกมาเป็นระยะจะช่วยฟื้นความเชื่อมั่นของผู้บริโภคให้กลับมา และทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์รวมถึงเศรษฐกิจในภาพรวมฟื้นตัวได้ดีขึ้น Economic Indicators: This Week การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ม.ค. ปีงบประมาณ 64 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 207,077 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -4.6 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 35.0 โดย (1) รายจ่ายปีปัจจุบัน เบิกจ่ายได้ 189,075 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -1.6 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 34.3 ทั้งนี้ แบ่งออกเป็น (1.1) รายจ่ายประจำ 172,444 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -6.3 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 39.4 และ (1.2) รายจ่ายลงทุน 16,631 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 107.8 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 13.8 (2) รายจ่ายปีก่อน เบิกจ่ายได้ 18,001 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -27.7 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 45.4 ต่อปีรัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ม.ค. ปีงบประมาณ 64 ได้ 183,979 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -11.3 ต่อปี โดยหดตัวจาก (1) ภาษีมูลค่าเพิ่ม หดตัวร้อยละ -8.2 ต่อปี และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หดตัวร้อยละ -11.3 จากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือน ม.ค. ปีงบประมาณ 64 พบว่า ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -17,640 ล้านบาททั้งนี้เมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่ขาดดุลแล้วพบว่า ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล -48,962 ล้านบาท โดยในเดือนนี้ รัฐบาล มีการกู้เงิน 26,000 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสุดหลังกู้ขาดดุล -22,962 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ 450,039 ล้านบาท
Macro Weekly Review Global Economic Indicators: This Week
US อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ เดือน ม.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 63 โดยเป็นผลมาจากดัชนีราคาในหมวดพลังงานและหมวดการบริการด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ China อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 64 หดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ -0.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่เดือน ม.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -0.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากดัชนีราคาในหมวดการขนส่งและการสื่อสาร และหมวดค่าเช่า เชื้อเพลิง และสาธารณูปโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ EU GDP ไตรมาสที่ 4/63 (ประมาณการณ์ครั้งที่ 3) หดตัวร้อยละ -4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวมากขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -4.2 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ระลอกสองในช่วงไตรมาสที่ 4/63 ธนาคารกลางยุโรปประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุม เดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 0.0 ต่อปี ทั้งนี้ ธนาคารกลางยุโรปจะยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจของยูโรโซน Malaysia อัตราการว่างงาน เดือน ม.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.7 จากสินค้าในหมวดการผลิตแร่ ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -2.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.0 โดยสินค้าในหมวดเชื้อเพลิงยานยนต์เป็นสำคัญ
.Indonesia ยอดค้าปลีก เดือน ม.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -16.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -19.2 โดยสินค้าในหมวดอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบเป็นสำคัญ
\ Philippine อัตราการว่างงาน ไตรมาสที่ 1 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน คงที่จากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -21.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าในหมวดปิโตรเลียมเป็นสำคัญ รวมถึงมูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 64 หดตัวร้อยละ -5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า มูลค่าการนำเข้า เดือน ม.ค. 64 หดตัวร้อยละ -14.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ดุลการค้าเดือน ม.ค. 64 ขาดดุลที่ -2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐTaiwan การส่งออกและการนำเข้า เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 9.7 และ 5.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ ขณะที่ เดือน ม.ค. 64 การส่งออกและการนำเข้าขยายตัวถึงร้อยละ 36.8 และ 29.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ ด้วยมูลค่าการส่งออกที่ลดลงน้อยกว่ามูลค่าการนำเข้าที่ลดลงส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ก.พ. 64 เกินดุลที่ 4.51 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เกินดุลลดลงจากเดือน ม.ค. 64 ที่เกิดดุลที่ 6.19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 64 กลับมาเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 1.37 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังจากหดตัวในเดือน ม.ค. 64 ที่ร้อยละ -0.17 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นอัตราที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ม.ค. 63 เป็นผลจากดัชนีราคาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกหมวด Weekly Financial Indicators ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับ ตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น STI (สิงคโปร์) KLCI (มาเลเซีย) และ DAX (เยอรมนี) เป็นต้น โดยดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอดทั้งสัปดาห์ เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 64 ปิดที่ระดับ 1,575.13 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 8 - 11 มี.ค. 64 ที่ 102,012.08 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 8 - 11 มี.ค. 64 นักลงทุนต่างชาติ ซื้อ หลักทรัพย์สุทธิ 1,534.20 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น (อายุน้อยกว่า 3 ปี) ปรับตัวลดลงในช่วง -2 ถึง -1 bps ระยะกลาง (อายุ 3 ถึง 10 ปี) ปรับตัวในช่วง -1 ถึง 7 bps และระยะยาว (อายุมากกว่า 10 ปี) ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 6 ถึง 14 bps โดยในสัปดาห์นี้ นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 4 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 5.22 เท่าของวงเงินประมูลตามลำดับ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 8 - 11 มี.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออก จากตลาดพันธบัตรสุทธิ -1,023.43 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 11 มี.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออก จากตลาดพันธบัตรสุทธิ -3,510.04 ล้านบาทเงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 11 มี.ค. 64 เงินบาทปิดที่ 30.62 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง ร้อยละ -0.85 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เยน ยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวนที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.18 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง