ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
(Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI)
ประจำเดือนเมษายน 2564
?ดัชนี RSI เดือนเมษายน 2564 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าทุกภูมิภาค เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) อย่างไรก็ตาม ดัชนี RSI ยังบ่งชี้ว่า แนวโน้มความเชื่อมั่นในอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคใน 6 เดือนข้างหน้าจะปรับตัวดีขึ้นได้ในหลายภูมิภาค? นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง และนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนเมษายน 2564 จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค พบว่า ?ดัชนี RSI เดือนเมษายน 2564 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าทุกภูมิภาค เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) อย่างไรก็ตาม ดัชนี RSI ยังบ่งชี้ว่า แนวโน้มความเชื่อมั่นในอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคใน 6 เดือนข้างหน้าจะปรับตัวดีขึ้นได้ในหลายภูมิภาค? ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 58.6 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในอนาคต โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความต้องการสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมได้รับปัจจัยบวกจากการเริ่มฉีดวัคซีนที่กระจายตัวในหลายประเทศ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คลี่คลาย ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ส่งผลให้มีความต้องการสินค้าและการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคกลางอยู่ที่ 56.5 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้นในอนาคตเช่นกัน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากภาคเกษตรได้ปัจจัยบวกจากปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมได้ปัจจัยบวกจากการลงทุนภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัว ประกอบกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาล ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 53.3 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้นเล็กน้อยในอนาคต โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกจากสภาพอากาศที่จะเข้าสู่ฤดูฝน ซึ่งจะส่งผลให้มีปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการเกษตร นอกจากนี้ความต้องการสินค้าทั้งในและต่างประเทศยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 53.1 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้นเล็กน้อย โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคการจ้างงาน เนื่องจากเข้าสู่ฤดูเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวสินค้าเกษตร ประกอบกับนโยบายการให้ความช่วยเหลือภาคการเกษตรจากภาครัฐ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 52.9 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคการจ้างงาน เนื่องจากเป็นช่วงเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตร ประกอบกับการมีมาตรการช่วยเหลือภาคเกษตรจากภาครัฐ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตกอยู่ที่ 52.0 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเช่นกัน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคการจ้างงาน เนื่องจากภาคเกษตรได้รับปัจจัยบวกจากฤดูเพาะปลูก ประกอบกับภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนภาคเกษตรอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของ กทม. และปริมณฑลอยู่ที่ระดับ 42.4 แสดงถึงความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตร ตารางสรุปดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ปี 2564 (ณ เดือนเมษายน 2564) กทม. และปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ดัชนีความเชื่อมั่น อนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค 42.4 58.6 53.1 53.3 56.5 52.9 52.0 ดัชนีแนวโน้มรายภาค 1) ภาคเกษตร 52.4 68.0 68.6 60.1 60.4 69.6 69.8 2) ภาคอุตสาหกรรม 44.1 59.3 46.4 55.8 60.0 47.2 49.0 3) ภาคบริการ 39.0 51.9 47.4 49.9 55.1 43.0 43.5 4) ภาคการจ้างงาน 39.9 54.9 53.4 52.1 51.5 54.6 52.3 5) ภาคการลงทุน 36.7 59.1 49.7 48.6 55.6 50.0 45.3 สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3254 ที่มา: กระทรวงการคลัง