รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 5 - 9 เม.ย. 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 19, 2021 14:40 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
Indicators this week .สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 61 มียอดอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มี.ค. 64 ลดลงร้อยละ -0.08 ต่อปี คงค้าง 17.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นที่ร้อยละ 0.09 ต่อปี ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มี.ค.64 ขยายตัวร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มี.ค. 64 ปรับตัวลดลงจากระดับ 49.4 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 48.5

          ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.พ. 64 ขาดดุล -1,071.4            ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ก.พ. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากในสถาบันการขยายตัวที่ ร้อยละ 9.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.พ. 64 คิดเป็น 1.78 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย

           Economic Indicators: This Week อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มี.ค. 64 ลดลงร้อยละ  -0.08 ต่อปี โดยเป็นการหดตัวในอัตราที่ต่ำสุดในรอบ 13 เดือน เป็นผลจากสินค้าในกลุ่มพลังงานปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 1.35 จากการสูงขึ้นของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศที่ปรับสูงขึ้นตามราคาในตลาดโลก ขณะที่กลุ่มอาหารสดยังคงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -1.06 จากการลดลงของข้าวสาร ไก่สด ไข่ไก่ และผักสด รวมทั้งค่าไฟฟ้าและค่าuน้ำประปาปรับลดลงตามมาตรการลดภาระค่าครองชีพของภาครัฐ สำหรับสินค้าชนิดอื่น ๆ เคลื่อนไหวสอดคล้องกับปริมาณผลผลิตและความต้องการสินค้า ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นที่    ร้อยละ 0.09 ต่อปี ขณะที่ในช่วงไตรมาสแรกของปี 64 เงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ -0.53 ต่อปี และเงินเฟ้อพื้นฐานciสูงขึ้นร้อยละ 0.12 ต่อปีoPดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มี.ค.64 ขยายตัว ciร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยmขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 จากหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ขยายตัวในระดับสูงร้อยละ 23.7 ตามราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กโลกที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้cต้นทุนของวัสดุก่อสร้างในหมวดอื่น ๆ ที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบปรับตัวสูงขึ้น เช่นเดียวกับหมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีตที่กลับมาขยายตัวร้อยละ 0.4 หลังจากชะลอตัวaต่อเนื่องมาตั้งแต่ ม.ค. 63 จากการเร่งดำเนินโครงการก่อสร้างภาครัฐมากขึ้น อย่างไรก็ดี หมวดซีเมนต์ยังคงลดลงMร้อยละ -2.0 จากการก่อสร้างภาคเอกชนที่ยังคงชะลอตัว ส่งผลให้ในไตรมาสแรกของปี 64 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มี.ค. 64 ปรับตัวลดลงจากระดับ 49.4 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 48.5  เนื่องจากศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (ศบค.) ประกาศงดกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงสงกรานต์ ส่งผลให้ผู้บริโภคยังมีความกังวลต่อ      การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประกอบกับความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนที่ดำเนินการอย่างล่าช้า ส่งผลให้กำลังซื้อฟื้นตัวได้ไม่มากนัก อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมามาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐยังคงช่วยสนับสนุนกำลังซื้อของผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง  Economic Indicators: This Week ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.พ. 64 ขาดดุล -1,071.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ -673.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลที่ -3,208.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP) เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2,136.6  ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นมากกว่ามูลค่าการนำเข้า ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 64 ขาดดุลรวม -1,744.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ก.พ. 64 มียอดคงค้าง 19.1 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวร้อยละ 0.2 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อพบว่า สินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวในอัตราคงที่ที่ร้อยละ 4.1 ขณะที่ สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ก.พ. 64 มียอดคงค้าง 22.6 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 9.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวที่ร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราชะลอตัวลงที่ร้อยละ 10.4 ขณะที่ เงินฝากสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวในอัตราเร่งอยู่ที่ร้อยละ 6.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน  ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.พ. 64 คิดเป็น 1.78 เท่าของสินทรัพย์     สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือนอยู่ที่ 5.0 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์     สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่า      ร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59

Macro Weekly Review Global Economic Indicators: This Week

US ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ (ISM) เดือน มี.ค. 64 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 63.7 จุด เร่งขึ้นจากเดือน ก.พ. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 53.3 จุด และ ทำสถิติสูงที่สุดนับตั้งแต่มีการเริ่มเก็บข้อมูลมา เป็นผลจากดัชนีฯ ในหมวดกิจกรรมทางธุรกิจ คำสั่งซื้อใหม่ และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น เป็นสำคัญ การส่งออก เดือน ก.พ. 64 หดตัวที่ร้อยละ -6.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือน ม.ค. 64 ที่อยู่ที่ร้อยละ -1.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือน ม.ค. 64 ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน ก.พ. 64 ขาดดุลอยู่ที่ -70,758 ล้านดอลลาร์สหรัฐ China ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ (Caixin) เดือน มี.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 54.3 จุด เร่งขึ้นจากเดือน ก.พ. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 51.5 จุด จากอุปสงค์ในประเทศที่แข็งแกร่ง สะท้อนการฟื้นตัวตัวทางเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยได้รับแรงหนุนจากคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้น และสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 63 ขณะที่การจ้างงานกลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้ง หลังลดลงต่อเนื่องในช่วง 4 เดือนก่อนหน้า และอัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 64 กลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 0.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเดือน ก.พ. 64 หดตัวที่ร้อยละ -0.2 จาก ช่วงเดียวกันของปีก่อนJapan ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน มี.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 48.3 จุด ทั้งนี้ ค่าดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน มี.ค. 64 ยังคงอยู่ต่ำกว่า 50 จุด ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของธุรกิจภาคบริการยังคงชะลอตัว EU อัตราการว่างงาน เดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ร้อยละ 8.3 ของกำลังแรงงานรวม คงที่จากเดือน ม.ค. 64 ที่อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 8.3 เช่นกัน อย่างไรก็ตาม สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 8.1 ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 49.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 45.7 และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 48.8 ทั้งนี้ ดัชนีฯ PMI ภาคบริการยังคงอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 50 สะท้อนถึงภาคบริการที่ยังคงหดตัว

.Australia ธนาคารกลางออสเตรเลียคงอัตราดอกเบี้ย เดือน เม.ย. 64 ไว้ที่ร้อยละ 0.1 ต่อปี เพื่อรักษาสภาวะทางการเงิน สำหรับ ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน มี.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 55.5 จุด ซึ่ง

\ สะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของธุรกิจภาคบริการ โดยภาคธุรกิจคาดการณ์ว่าแนวโน้มธุรกิจในปีหน้าจะดีขึ้น Singapore ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 53.5 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 54.9 จุด ขณะที่ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -6.1 เป็นการกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 2 ปี จากเทศกาลตรุษจีน ทำให้ยอดขายสินค้าในหลาย ๆ ประเภทเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ Malaysia ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากสินค้าในหมวดอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ขณะที่ยอดค้าปลีก เดือน ก.พ. 64 หดตัวที่ร้อยละ -2.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -2.5 จากสินค้าในหมวดเชื้อเพลิงยานยนต์เป็นสำคัญ อัตราว่างงาน เดือน ก.พ. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.8 จาก ช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.9 Philippines ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 52.2 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ที่ระดับ 52.4 จุดอัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.7 จากราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์เป็นสำคัญ ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. 64 หดตัวที่ร้อยละ -46.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากสินค้าในหมวดปิโตรเลียมที่ลดลงเป็นสำคัญ สำหรับมูลค่าการส่งออก เดือน ก.พ. 64 หดตัวที่ร้อยละ -2.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -4.8 ด้านมูลค่าการนำเข้า เดือน ก.พ. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -12.1 ส่งผลให้ขาดดุลการค้าที่ 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ Indonesia ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 93.4 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 85.8 จุด UK ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน มี.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 56.3 จุด โดยมีอัตราการขยายตัวทางผลผลิตมากที่สุดเป็นเวลา 7 เดือน Taiwan อัตราเงินเฟ้อ เดือน มี.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.26 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.40 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดผลไม้ที่ปรับตัวลดลงเป็นสำคัญ Weekly Financial Indicators ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน ตรงข้ามกับ ตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น HSI (ฮ่องกง) TWSE (ไต้หวัน) และ STI (สิงคโปร์) เป็นต้น โดยดัชนี SET ปรับตัวลดลงตั้งแต่ต้นสัปดาห์ โดยเมื่อวันที่ 8 เม.ย. 64 ปิดที่ระดับ 1,558.83 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 5-7 เม.ย. 64 ที่ 09,974.53 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีหลักทรัพย์ เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศและนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 5-7 เม.ย. 64 นักลงทุนต่างชาติ ซื้อ หลักทรัพย์สุทธิ 1,609.64 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น-ระยะกลาง โดยรวมปรับตัวลดลงในช่วง 0 ถึง -1 bps ขณะที่ระยะยาวปรับตัวลดลงในช่วง -2 ถึง -7 bps โดยในสัปดาห์นี้ นักลงทุนเข้าร่วมการประมูลพันธบัตรรัฐบาลคิดเป็น 2.55 เท่า (BCR) ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 5-7 เม.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ตลาดพันธบัตรสุทธิ 6,718.94 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 8 เม.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ 0,019.74 ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 8 เม.ย. 64 เงินบาทปิดที่ 31.45 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง ร้อยละ -0.52 จากสัปดาห์ก่อนหน้า ในขณะที่เงินสกุลอื่นๆ เช่น เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิต และหยวน ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -1.0 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ