Executive Summary
Indicators this week
Indicators this week .สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 61 มียอดการเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน มี.ค. ปีงบประมาณ 64 คงค้าง 17.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวหดตัวร้อยละ -41.1 ต่อปี ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน มี.ค. ปีงบประมาณ 64 ขาดดุลจำนวน -105,652 ล้านบาท
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 53.3 ของ GDP
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.41 ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.30 ต่อปี
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน เม.ย. 64 ปรับตัวลดลงจากระดับ 48.5 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 46.0
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน มี.ค. 64 ขาดดุล -806.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน มี.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากในสถาบันการขยายตัวที่ ร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 65.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
GDP อินโดนีเซีย ไตรมาสที่ 1 ปี 64 หดตัวที่ร้อยละ -0.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
GDP ฮ่องกง ไตรมาสที่ 1 ปี 64 (เบื้องต้น) ขยายตัวที่ร้อยละ 7.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน Fiscal Policy Office
Economic Indicators: This Week การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน มี.ค. ปีงบประมาณ 64 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 278,517 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -41.1 ต่อปี ทำให้ 6 เดือนแรกของปีงปม. 64 เบิกจ่ายได้ 1,685,344 ล้านบาท หดตัว -0.1% คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 48.1 โดย (1) รายจ่ายปีปัจจุบัน เบิกจ่ายได้ 258,512 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -42.9 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 47.2 ทั้งนี้ แบ่งออกเป็น (1.1) รายจ่ายประจำ 211,923 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -47.6 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 52.8 และ (1.2) รายจ่ายลงทุน 46,589 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -3.7 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 24.6 (2) รายจ่ายปีก่อน เบิกจ่ายได้ 20,005 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -0.9 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 62.1 ต่อปีฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือน มี.ค. ปีงบประมาณ 64 พบว่า ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -105,652 ล้านบาททั้งนี้เมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่ขาดดุลแล้วพบว่า ดุลเงินสด
รายได้ก่อนกู้ขาดดุล -164,850 ล้านบาท โดยในเดือนนี้ รัฐบาลไม่มีการกู้เงิน ทำให้ดุลเงินสุดหลังกู้ขาดดุล -164,850 ล้านบาท ทั้งนี้จำนวนเงินคงคลังอยู่ที่ 351,379 ล้านบาท หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน มี.ค. 64 มีจำนวนทั้งสิ้น 8,472,187 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 53.3 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 50,228.7 ล้านบาท ทั้งนี้ สถานะ หนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า กรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุคงเหลือ คิดเป็นร้อยละ 85.2 ของยอดหนี้สาธารณะ และเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 98.2 ของยอดหนี้สาธารณะ
Economic Indicators: This Week อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน เม.ย. 64 สูงขึ้นร้อยละ 3.41 ต่อปี (สูงกว่าที่ สศม. คาดการณ์เล็กน้อยที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี) กลับมาขยายตัวได้อีกครั้งในรอบ 14 เดือน และขยายตัวสูงสุดในรอบ 8 ปี 4 เดือน เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้เมื่อเทียบกับฐานราคาที่ ต่ำมากในปีก่อนประกอบกับมาตรการลดค่าครองชีพด้านสาธารณูปโภคของรัฐสิ้นสุดลง รวมทั้งอาหารสดหลายชนิดปรับตัวสูงขึ้นตามผลผลิตที่ลดลงขณะที่สินค้าและบริการอื่นๆ ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ ร้อยละ 0.30 ต่อปี ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน เม.ย.64 ขยายตัว ร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 จากหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ขยายตัวระดับสูงสุดในรอบ 12 ปี ที่ร้อยละ 36.1 ตามราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในตลาดโลกที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากการลดกำลังการผลิตเหล็กของจีน รวมถึงการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก และส่งผลให้ดัชนีฯ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีตขยายตัวต่อเนื่องทึ่ร้อยละ 1.3 จากการขยายตัวของผลิตภัณฑ์คอนกรีตที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ อย่างไรก็ดี หมวดซีเมนต์ยังคงลดลงร้อยละ -1.5 เนื่องจากการแข่งขันด้านราคาที่สูงจากโครงการก่อสร้างภาครัฐ ขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนยังคงชะลอตัว ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน เม.ย. 64 ปรับตัวลดลงจากระดับ 48.5 ในเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 46.0 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 271 เดือนหรือ 22 ปี 7 เดือน นับตั้งแต่ทำการสำรวจในเดือน ต.ค. 41 เป็นต้นมาเนื่องจากความกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยในรอบที่ 3 ประกอบกับความกังวลในสถานการณ์ทางการเมืองที่มีเสถียรภาพน้อยลงและการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนที่ล่าช้า ส่งผลให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวขึ้นมากนักและยังขาดแรง กระตุ้นในการฟื้นตัว แม้ว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการเราชนะ และโครงการอื่น ๆ จะสามารถกระตุ้นกำลังซื้อได้แล้วในระดับหนึ่ง Economic Indicators: This Week ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน มี.ค. 64 ขาดดุล -806.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ -1,071.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลที่ -4,164.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP) เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 3,358.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นมากกว่ามูลค่าการนำเข้า ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสที่ 1 ปี 64 ขาดดุลรวม -2,550.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน มี.ค. 64 มียอดคงค้าง 19.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อพบว่า สินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวที่ ร้อยละ 2.1 ขณะที่ สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นที่ร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน มี.ค. 64 มียอดคงค้าง 22.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วหดตัวที่ร้อยละ -0.02 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 ขณะที่ เงินฝากสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน เม.ย. 64 ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 65.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 7.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานต่ำในปีก่อนที่มีการประกาศล็อกดาวน์ในพื้นที่หลายจังหวัด ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจใน การใช้จ่ายของประชาชนเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดี ปริมาณจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน เม.ย. 64 มีจำนวนมากกว่าระดับเฉลี่ยของปีอื่น ๆ ซึ่งเป็นปีก่อนที่จะเกิด การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์การบริโภคที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง Global Economic Indicators: This Week
US ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม (ISM) เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 60.7 จุด ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 64.7 จุด และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 65.0 จุด โดยได้รับผลกระทบจากการลดลงของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงานเป็นสำคัญ สอดคล้องกับ ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ (ISM) เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 62.7 จุด ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 63.7 จุด เป็นผลจากการปรับตัวลงของคำสั่งซื้อใหม่เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี ดัชนีภาคการผลิตและภาคบริการของสหรัฐยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะขยายตัว มูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 64 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 12.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -6.3 โดยสินค้าอุปโภค อาหาร และสินค้าทุน เป็นกลุ่มสินค้าที่มีตัวเลขการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุด ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน มี.ค. 64 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 22.1 จากช่วยเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 8.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้ามากกว่ามูลค่าการส่งออก ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน มี.ค. 64 ขาดดุลเพิ่มขึ้นที่ -7.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลที่ -70.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นขาดดุลเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ -42.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (25 เม.ย. - 1 พ.ค. 64) ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าเหลือเพียง 4.98 แสนราย ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐ นับตั้งแต่ เดือน มี.ค. 63 China ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ (Caixin) เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 56.3 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 54.3 จุด เป็นผลจากคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 31.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 30.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องกับมูลค่าการนำเข้า เดือน เม.ย. 64 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 42.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 37.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่ามูลค่าการนำเข้า ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน เม.ย. 64 เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 42.85 พันล้านดอลลาร์ Eurozone ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 62.9 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน มี.ค. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 62.5 จุด และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลมาเมื่อปี 2540 แสดงให้เห็นถึงการขยายตัวที่แข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมในยูโรโซน ดัชนีฯ PMI ภาคการบริการ เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 50.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน มี.ค. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 49.6 จุด โดยระดับของดัชนีฯ กลับมาอยู่เหนือระดับ 50.0 จุดอีกครั้ง นับตั้งแต่เดือน ส.ค. 63 แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวของภาคบริการในยูโรโซน ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน พลิกกลับมาขยายตัวจากที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -2.9 ในเดือน ก.พ. 64 และขยายตัวมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 9.6 Japan ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน เม.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 49.5 จุด จาก 48.3 จุด ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้น Singapore .ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 51.8 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 53.5 จุดขณะที่ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 6.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 5.2 เป็นขยายตัวสูงสุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 62 จากยอดขายสินค้าในหลาย ๆ ประเภทเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญMalaysia \ ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 53.9 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 49.9 จุด สอดคล้องกับผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.5 เป็นการขยายตัวสูงสุดตั้งแต่เดือน ก.ค 57 จากการกลับมาฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลให้สินค้าในหมวดอุตสาหกรรมในหลายประเภทมีการผลิตเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ขณะที่ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 10.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -2.1 สูงที่สุดนับตั้งแต่ ม.ค. 62 จากสินค้าในหมวดเชื้อเพลิงยานยนต์เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี อัตราว่างงาน เดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.8 ทั้งนี้ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี Philippines ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 49 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 52.2 จุด อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน คงที่จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -74.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สำหรับมูลค่าการส่งออก เดือน มี.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 31.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -2.3 ด้านมูลค่าการนำเข้า เดือน มี.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 16.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.7 ส่งผลให้ขาดดุลการค้าที่ 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ Indonesia GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 64 หดตัวที่ร้อยละ -0.74 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และหดตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ - 2.19 ขณะที่ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 54.6 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 53.2 จุด สำหรับอัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 1.42 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.37 จากราคาค่าขนส่งเป็นสำคัญVietnam ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 54.7 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 53.6 จุดHong Kong GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 64 (เบื้องต้น) กลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นในรอบ 7 เดือน ที่ร้อยละ 7.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาส ก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -2.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการขยายตัวที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 53 หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 5.3 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 64 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 19.8 จากช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 31.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการมีฐานต่ำในช่วงต้นปีที่แล้วจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 และหากพิจารณาช่วง 3 เดือนแรกของปี 64 พบว่า ยอดค้าปลีกไตรมาสที่ 1 ปี 64 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน Australia ดัชนีฯ PMI ภาคการผลิต เดือน เม.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 59.7 จุด จาก 56.8 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากกิจกรรมในโรงงาน และยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกันกับ ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน เม.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 58.8 จุด จาก 55.5 จุด ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการผ่อนคลายมาตรการ และความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น Taiwan ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 62.4 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน มี.ค. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 60.8 จุด และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 53 บ่งบอกถึงมุมมองเชิงบวกของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในภาคการผลิตต่อภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว โดยเป็นผลจากการปรับตัวขึ้นของยอดการส่งออก คำสั่งซื้อใหม่ และการจ้างงานเป็นสำคัญ อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.09 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 1.24 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 61 UK ดัชนีฯ PMI ภาคการผลิต เดือน เม.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 60.9 จุด จาก 58.9 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ เช่นเดียวกันกับ ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน เม.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 61.0 จุด จาก 56.3 จุด ในเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนมาจากการผ่อนคลายมาตรการ เป็นผลทำให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินกิจกรรมได้ อีกทั้งยังมีธุรกิจเปิดใหม่มากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 56 Weekly Financial Indicators
ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สอดคล้องกับ ตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลง เช่น TWSE (ไต้หวัน) STI (สิงคโปร์) และ PSEi (ฟิลิปินส์) เป็นต้น ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ โดยเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,571.91 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 5 - 6 พ.ค. 64 อยู่ที่ 109,215.23 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนทั่วไปในประเทศ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีหลักทรัพย์ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 5 - 6 พ.ค. 64 ต่างชาติ ขาย หลักทรัพย์สุทธิ -9,297.81 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวลดลงในช่วง 0 ถึง -15 bps โดยในสัปดาห์นี้ นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 5 - 6 พ.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ตลาดพันธบัตรสุทธิ 9,494.82 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 6 พ.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ตลาดพันธบัตรสุทธิ 39,326.06 ล้านบาทเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 6 พ.ค. 64 เงินบาทปิดที่ 31.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น ร้อยละ 0.14 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สวนทางกับเงินสกุลอื่น ๆ อาทิ เงินสกุลยูโร เยน ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ การที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.46 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง