รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 31 พ.ค. - 4 มิ.ย. 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 7, 2021 14:37 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week

For 31 May ? 4 Jun 2021
Indicators this week

การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน เม.ย. ปีงบประมาณ คงค้าง 17.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัว64 หดตัวที่ร้อยละ -31.2 ต่อปี ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อนฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน เม.ย. ปีงบประมาณ 64 ขาดดุลจำนวน -54,461 ล้านบาท

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 54.9 ของ GDP

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 18.5 ต่อปี

ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 15.4 ต่อปี

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ค.64 ขยายตัวที่ร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน เม.ย. 64 ขาดดุล -1,297.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน พ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 41.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน Economic Indicators: This Week การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน เม.ย. ปีงบประมาณ 64 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 231,135 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -31.2 ต่อปี ทำให้ 7 เดือนแรกของปีงปม. 64 เบิกจ่ายได้ 1,916,479 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -5.2 คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 54.7 โดย (1) รายจ่ายปีปัจจุบัน เบิกจ่ายได้ 222,835 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -31.0 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 54.0 ทั้งนี้ แบ่งออกเป็น (1.1) รายจ่ายประจำ 186,782 ล้านบาท หดตัวร้อยละ -35.5 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 59.8 และ (1.2) รายจ่ายลงทุน 36,053 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.3 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 30.2 (2) รายจ่ายปีก่อน เบิกจ่ายได้ 8,300 ล้านบาท หดตัว ร้อยละ -36.4 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 65.9 ต่อปีฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ในเดือน เม.ย. ปีงบประมาณ 64 พบว่า ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -54,461 ล้านบาททั้งนี้เมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่เกินดุลแล้วพบว่า ดุลเงินสดก่อนกู้ขาดดุล -43,595 ล้านบาท โดยในเดือนนี้ รัฐบาลมีการกู้เงิน 65,000 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสุดหลังกู้เกินดุล 21,405 ล้านบาท ทั้งนี้จำนวนเงินคงคลังอยู่ที่ 372,784 ล้านบาท หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน เม.ย. 64 มีจำนวนทั้งสิ้น 8,593,834.2 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 54.9 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 121,647.2 ล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้ จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า กรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุคงเหลือ คิดเป็นร้อยละ 85.3 ของ ยอดหนี้สาธารณะ และเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 98.1 ของยอดหนี้สาธารณะ Economic Indicators: This Week ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.5 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลของฤดูกาล ทั้งนี้ การขยายตัวของดัชนี MPI ในเดือน เม.ย. 64 เป็นผลมาจากการขยายตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมมอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน และอุตสาหกรรมยางนอก ยางใน และการหล่อดอกยาง ที่ขยายตัวร้อยละ 288.1 515.8 57.4 29.2 และ 69.7 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อุตสาหกรรมที่ยังคงหดตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตเภสัชภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์คอนกรีต ปูนซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ อุตสาหกรรมสัตว์น้ำบรรจุกระป๋อง อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติก และอุตสาหกรรมสบู่และสารซักฟอกที่หดตัวร้อยละ -28.8 -11.1 -23.2 -10.9 และ -15.6 ตามลำดับ ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน เม.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 15.4 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 6.4 เทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล โดยเป็นการขยายตัวในเกือบทุกผลิตภัณฑ์เหล็ก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานต่ำในปีก่อน ประกอบกับเหล็กที่ใช้ในอุตสาหกรรมขยายตัวในระดับสูงโดยราคาแร่เหล็ก สินค้าเหล็กทรงยาว และสินค้าเหล็กทรงแบน ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 119 71 และ 121 ต่อปี ตามลำดับสอดคล้องกับภาคการผลิตและภาคการส่งออกที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง จากเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามสถานการณ์การระบาดรอบใหม่ที่คาดว่าจะกระทบต่อความต้องการใช้เหล็กในประเทศ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ค. 64 ขยายตัวสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 2.44 (YoY) ใกล้เคียงกับที่ สศม. คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 2.5 โดยอัตราเงินเฟ้อขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 แต่ในอัตราที่ชะลอตัว เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาพลังงานและอาหารสดบางชนิด อาทิ เนื้อสุกร สัตว์น้ำ (อาหารทะเล) และผลไม้ ปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ดี มาตรการลดค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปาของภาครัฐเป็นปัจจัยทอนที่ชะลอไม่ให้ เงินเฟ้อขยายตัวสูงเกินไป สำหรับราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ยังเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.49 Economic Indicators: This Week ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน เม.ย. 64 ขาดดุล -1,297.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ -806.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลที่ -3,726.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP) เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2,429.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นมากกว่ามูลค่าการนำเข้า ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 64 ขาดดุลรวม -3,848.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 64 มียอดคงค้าง 19.3 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อพบว่า สินเชื่อเพื่อธุรกิจหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.1 ขณะที่ สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นที่ร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน เม.ย. 64 มียอดคงค้าง 22.8 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวที่ร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวที่ร้อยละ 4.1 ขณะที่ เงินฝากสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ค.64 ขยายตัว ร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 จากหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ขยายตัวระดับสูงสุดในรอบ 12 ปี ตามราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในตลาดโลกที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากการลดกำลังการผลิตเหล็กของจีน รวมถึงการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก และส่งผลให้ดัชนีฯ หมวดผลิตภัณฑ์คอนกรีตขยายตัวต่อเนื่องทึ่ร้อยละ 2.6 จากการขยายตัวของผลิตภัณฑ์คอนกรีตที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ อย่างไรก็ดี หมวดซีเมนต์ยังคงลดลงร้อยละ -1.1 เนื่องจากการแข่งขันด้านราคาที่สูงจากโครงการก่อสร้างภาครัฐ ขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนยังคงชะลอตัว ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน พ.ค. 64 ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 41.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวที่ร้อยละ -18.2 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานต่ำในปีก่อนที่มีการประกาศล็อกดาวน์ในพื้นที่หลายจังหวัด ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ ขณะที่ปัจจัยอื่น ๆ อาทิ ราคาพืชผลทางการเกษตรที่ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรปรับตัวดีขึ้น และกิจกรรมส่งเสริมการขายของบริษัทค่ายรถจักรยานยนต์ที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องในปีนี้ คาดว่าจะมีส่วนช่วยให้ตลาดรถจักรยานยนต์ในปีนี้กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง Global Economic Indicators: This Week

US ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม (ISM) เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 61.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 60.7 จุด ได้แรงหนุนจากยอดคำสั่งซื้อใหม่ ยอดสั่งซื้อคงค้าง และสินค้าคงเหลือที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ สอดคล้องกับ ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ (ISM) เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 64.0 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 62.7 จุด และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลมา จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (23-29 พ.ค. 64) อยู่ที่ 3.85 แสนราย ลดลงจากเดือนก่อนหน้าและเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5 อย่างไรก็ดี ยังคงสูงกว่าระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดที่ค่าเฉลี่ย 2.30 แสนรายต่อสัปดาห์China ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม (NBS) เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 51.0 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.1 จุด และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 64 ท่ามกลางแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นและปัญหาอุปทานติดขัด (supply bottleneck) ขณะที่ ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ (NBS) เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 55.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 54.9 จุด ทางด้าน ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม (Caixin) เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 52.0 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.9 จุด และ ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ (Caixin) เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 55.1 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 56.3 จุด จากสถานการณ์การแพร่ระบาดในต่างประเทศส่งผลต่อกิจกรรมทางธุรกิจของจีน ทั้งนี้ ดัชนีฯ PMI สูงกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมและบริการของจีนมีการขยายตัวEurozone ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 63.1 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 62.9 จุด โดยได้รับแรงหนุนจากยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้น ดัชนีฯ PMI ภาคการบริการ เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 55.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 50.5 จุด เนื่องจากมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ที่มากขึ้นในยูโรโซน อัตราเงินเฟ้อ (เบื้องต้น) เดือน พ.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย. 64 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 โดยอัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ค. 64 ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นนั้น ได้รับแรงหนุนจากราคาพลังงาน สินค้าอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่พลังงาน และฐานมูลค่าที่ใช้เปรียบเทียบที่ต่ำ อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 8.0 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือน เม.ย. 64 ที่อยู่ที่ร้อยละ 8.1 ของกำลังแรงงานรวม และต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 8.1 ของกำลังแรงงานรวมJapan

.ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 15.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อนเช่นเดียวกันกับ ยอดค้าปลีกเดือน เม.ย. 64 ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้น โดยยอดขายปลีกที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่อยู่ในหมวดสินค้าทั่วไป เครื่องนุ่งห่ม ยานยนต์ และเครื่องจักรและอุปกรณ์ อย่างไรก็ตาม ในเดือน พ.ค. 64 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 34.1 จุด

\ จาก 34.7 จุดในเดือน เม.ย. 64 ซึ่งถือเป็นค่าที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ก.พ. 64 ทั้งนี้ ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ เดือน พ.ค. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 53.0 จุด และ 46.5 จุด ตามลำดับ โดยมีสาเหตุมาจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ และมีการปรับใช้ภาวะฉุกเฉินในประเทศ Malaysia ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 51.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 53.9 จุด Philippines ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 49.9 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 49.0 จุด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน คงที่จากเดือนก่อนหน้า Indonesia ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 55.3 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 54.6 จุด อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.42 จากราคาสินค้าในหมวดอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ เป็นสำคัญVietnam ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 53.1 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 54.7 จุดSingapore ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 54.4 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 51.8 จุดขณะที่ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 6.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 5.2 เป็นขยายตัวสูงสุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 62 จากยอดขายสินค้าในหลาย ๆ ประเภทเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญHong Kong ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 10.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 19.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กระทบต่อการเดินทางท่องเที่ยว โดยหากพิจารณาช่วง 4 เดือนแรกของปี 64 พบว่า ยอดค้าปลีกขยายตัวที่ร้อย 8.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน Australia ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 64 ขยายตัวเร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ขณะที่ ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน พ.ค. 64 หดตัวลงมาอยู่ที่ 58.0 จุด อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ PMI ภาคการผลิต เดือน พ.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 60.4จุด เนื่องจากการขยายตัวของกิจกรรมทางธุรกิจและคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้น Taiwan ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 62.0 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 62.4 จุดโดยไต้หวันยังคงเผชิญกับปัญหาความล่าช้าของห่วงโซ่อุปทานและสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องUK ดัชนีฯ PMI ภาคการผลิตและบริการ เดือน พ.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 65.6 จุด เนื่องจากผลผลิต และคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้น เช่นเดียวกันกับ ดัชนีฯ PMI บริการ เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 62.9 จุด โดยมีสาเหตุหลักมาจากการผ่อนคลายมาตรการเป็นผลทำให้การใช้จ่ายของภาคธุรกิจและผู้บริโภคที่ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว Weekly Financial Indicators ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สอดคล้องกับ ตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) HSI (ฮ่องกง) TWSE (ไต้หวัน) และ STI (สิงคโปร์) เป็นต้น ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นช่วงปลายสัปดาห์ โดยเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,617.55 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 31 พ.ค.-2 มิ.ย. 64 อยู่ที่ 99,100.47 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 31 พ.ค.-2 มิ.ย. 64 ต่างชาติ ซื้อ หลักทรัพย์สุทธิ 1,619.53 ล้านบาทอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1-7 bps โดยในสัปดาห์นี้ นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 4 ปี โดยมีนักลงทุนสนใจ 2.74 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 31 พ.ค.-2 มิ.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาดพันธบัตรสุทธิ 7,422.19 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 3 มิ.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ตลาดพันธบัตรสุทธิ 34,973.44 ล้านบาท เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 3 มิ.ย. 64 เงินบาทปิดที่ 31.16 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น ร้อยละ 0.58 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ อาทิ เงินสกุลริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ เงินสกุลยูโร และเยน ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.50 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ