ฉบับที่ 137/2564 วันที่ 28 มิถุนายน 2564
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
(Thailand Regional Economic Sentiment Index: RSI)
ประจำเดือนมิถุนายน2564
?ดัชนี RSI เดือนมิถุนายน 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในหลายภูมิภาคสะท้อนถึงความเชื่อมั่น
ทางเศรษฐกิจที่เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเนื่องจากคาดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19)
จะคลี่คลายจากการเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชน?
นายวุฒิพงศ์จิตตั้งสกุลที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลังสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลังและนายพิสิทธิ์พัวพันธ์ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนมิถุนายน2564จากการประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดจากสำนักงานคลังจังหวัด76 จังหวัดทั่วประเทศสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคพบว่า ?ดัชนีRSI เดือนมิถุนายน 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในหลายภูมิภาคสะท้อนถึงความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจที่เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นในอนาคตโดยเฉพาะตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเนื่องจากคาดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) จะคลี่คลายจากการเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชน?
ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ระดับ 62.1 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและการจ้างงานเนื่องจากเข้าสู่ฤดูเพาะปลูก และมีนโยบายความช่วยเหลือภาคการเกษตรจากภาครัฐ อาทิ มาตรการประกันรายได้เกษตรกร เป็นต้น ในส่วนของการจ้างงานคาดว่าสภาวะเศรษฐกิจจะดีขึ้น ประกอบกับการมีมาตรการส่งเสริมการจ้างงานของภาครัฐดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกอยู่ที่ระดับ 61.1 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้นเช่นกันโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมเนื่องจากปริมาณน้ำมีเพียงพอและสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกในส่วนของภาคอุตสาหกรรมคาดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019จะคลี่คลายจากการเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชนประกอบกับภาครัฐมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจส่งผลให้มีความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมมากขึ้นดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคเหนืออยู่ที่ระดับ 59.8 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากปริมาณน้ำมีเพียงพอต่อการเพาะปลูก ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมคาดว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 จะมีแนวโน้มคลี่คลายลงจากการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการกลับมาเปิดกิจการได้ตามปกติประกอบกับการได้รับปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้อยู่ที่ระดับ 57.9 สะท้อนถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรเนื่องจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับยางพาราเพิ่มสูงขึ้นจากสภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่เริ่มฟื้นตัวหลังจากมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรค ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตกอยู่ที่ 56.9 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ดีขึ้นเช่นกัน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากคำสั่งซื้อสินค้าเกษตรเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสำหรับภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นจากมาตรการด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลที่จะก่อให้เกิดความต้องการสินค้าเพิ่มสูงขึ้นดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของภาคกลางอยู่ที่ 48.1 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะภาคการบริการและการลงทุน เนื่องจากมีความไม่มั่นใจในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในส่วนของดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจของ กทม. และปริมณฑล อยู่ที่ระดับ47.2 แสดงถึงความเชื่อมั่นเศรษฐกิจในอนาคตที่ชะลอลง เนื่องจากยังมีความกังวลจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เช่นกัน อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นในอนาคตของภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมยังมีแนวโน้มที่ดีขึ้น
ตารางสรุปดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ปี 2564 (ณ เดือนมิถุนายน2564)
กทม. และปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก
ดัชนีความเชื่อมั่น
อนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค 47.2 61.1 62.1 57.9 48.1 59.8 56.9
ดัชนีแนวโน้มรายภาค
1) ภาคเกษตร 56.4 70.7 68.6 63.1 65.1 68.4 64.5
2) ภาคอุตสาหกรรม 52.6 62.3 56.9 65.1 50.6 62.1 60.0
3) ภาคบริการ 44.7 58.1 60.3 54.5 39.2 55.6 52.7
4) ภาคการจ้างงาน 43.1 55.3 64.1 53.3 44.7 58.6 52.1
5) ภาคการลงทุน 39.4 59.2 60.7 53.6 41.2 54.5 55.4
สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3254
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง