ฉบับที่ 29/2564 วันที่ 29 มิถุนายน 2564 รายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบประจำเดือนพฤษภาคม 2564 นางสาวสภัทร์พร ธรรมาภรณ์พิลาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 ภาพรวมการประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) มีจำนวนผู้ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์และเปิดดำเนินการแล้วสะสมสุทธิ 979 ราย ใน 75 จังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบธุรกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (575 ราย) รองลงมา ได้แก่ ภาคกลาง (159 ราย) ภาคเหนือ (126 ราย) ภาคตะวันออก (67 ราย) และภาคใต้ (52 ราย) ตามลำดับ ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 ที่กระทรวงการคลังได้เปิดให้มีการประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์จนถึงสิ้นเดือนเมษายน 2564 ได้มีการอนุมัติสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ให้กับประชาชนรายย่อยไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 529,909 บัญชี รวมเป็นวงเงิน 12,216.13 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 23,053.26 บาทต่อบัญชี ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ (1) สินเชื่อประเภทพิโกไฟแนนซ์ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 มีจำนวนผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อประเภทพิโกไฟแนนซ์สะสมสุทธิทั้งสิ้น 880 ราย ใน 74 จังหวัด และมีจำนวนผู้เปิดดำเนินการแล้ว 841 ราย ใน 74 จังหวัด โดยจังหวัดที่มีผู้เปิดดำเนินการมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา (77 ราย) กรุงเทพมหานคร (66 ราย) และขอนแก่น (51 ราย) (2) สินเชื่อประเภทพิโกพลัส ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 มีจำนวนผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อประเภทพิโกพลัสสะสมสุทธิทั้งสิ้น 153 ราย ใน 49 จังหวัด (เพิ่มขึ้น 3 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) และมีจำนวนผู้เปิดดำเนินการแล้ว 138 ราย ใน 45 จังหวัด โดยจังหวัดที่มีผู้เปิดดำเนินการมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา (20 ราย) อุดรธานี (9 ราย) อุบลราชธานีและกรุงเทพมหานคร (จังหวัดละ 8 ราย) (3) ภาพรวมสถานะสินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564 มียอดสินเชื่อคงค้างจำนวนทั้งสิ้น 191,469 บัญชี คิดเป็นจำนวนเงิน 4,131.24 ล้านบาท โดยมีสินเชื่อค้างชำระ 1 - 3 เดือน สะสมรวมทั้งสิ้น 26,404 บัญชี หรือคิดเป็นจำนวนเงินสะสมรวม 602.70 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.59 ของยอดสินเชื่อคงค้างสะสม และมีสินเชื่อค้างชำระที่เกินกว่า 3 เดือน (NPL) สะสมรวมจำนวน 31,210 บัญชี หรือคิดเป็นจำนวนเงินสะสมรวม 738.43 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.87 ของยอดสินเชื่อคงค้างสะสม นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังคงดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาคีแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การดำเนินการอย่างจริงจังกับเจ้าหนี้นอกระบบที่ผิดกฎหมาย ซึ่งนับตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2559 จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินการจับกุมผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบที่กระทำผิดกฎหมายจำนวนสะสม 9,352 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2564 จำนวน 146 ราย ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ที่เปิดดำเนินการได้ทางเว็บไซต์ www.1359.go.th และสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับเงินกู้นอกระบบที่ผิดกฎหมายได้โดยตรงที่ ? สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สายด่วน 1599 ? ศูนย์ดำรงธรรม สายด่วน 1567 ? ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สายด่วน 1359 ? ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทรวงยุติธรรม (ศนธ.ยธ.) โทร. 0 2575 3344 โดยมีรายละเอียดปรากฏตามเอกสารแนบ สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน โทร. สายด่วน 1359 สถิติสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) รายการ กุมภาพันธ์ 2564 มีนาคม 2564 เมษายน 2564 พฤษภาคม 2564 1. การพิจารณาอนุญาต (ยอดสะสม) 1.1 คำขออนุญาต (ราย) 1,424 1,431 1,445 1,452 1.2 คืนคำขออนุญาต (ราย) 200 201 201 201 1.3 คำขออนุญาตสุทธิ (ราย) 1,224 1,230 1,244 1,251 (1) พิโกไฟแนนซ์ 1,049 1,052 1,062 1,066 (2) พิโกไฟแนนซ์ ประเภทพิโกพลัส 175 178 182 185 1.4 ผู้ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจ (ราย) 1,019 1,024 1,025 1,033 (1) พิโกไฟแนนซ์ (1.1) ผู้ได้รับอนุญาตทั้งหมด 994 1,001 1,006 1,010
(1.2) ผู้ได้รับอนุญาตสุทธิ (หักจำนวน
ผู้ที่ขอคืนใบอนุญาต และผู้ที่ขอ
เปลี่ยนประเภทใบอนุญาต) 873 877 877 880 (2) พิโกไฟแนนซ์ ประเภทพิโกพลัส (2.1) ผู้ได้รับอนุญาตทั้งหมด 146 149 150 155 (2.2) ผู้ได้รับอนุญาตสุทธิ 146 147 148 153 1.5 ผู้เปิดดำเนินการ (ราย) 947 967 971 979 (1) พิโกไฟแนนซ์ 822 839 833 841 (2) พิโกไฟแนนซ์ ประเภทพิโกพลัส 125 128 138 138 2. การอนุมัติสินเชื่อ 2.1 สินเชื่ออนุมัติสะสม จำนวนบัญชีรวมทั้งสิ้น 487,400 508,691 529,909 N/A (% m-o-m) 3.63 4.37 4.17 N/A จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น (ล้านบาท) 11,410.35 11,843.06 12,216.13 N/A (% m-o-m) 3.31 3.79 3.15 N/A (1) สินเชื่อแบบมีหลักประกัน จำนวนบัญชี 201,869 209,703 216,185 N/A จำนวนเงิน (ล้านบาท) 5,602.00 5,813.14 5,981.21 N/A (2) สินเชื่อแบบไม่มีหลักประกัน จำนวนบัญชี 285,531 298,988 313,724 N/A จำนวนเงิน (ล้านบาท) 5,808.35 6,029.92 6,234.92 N/A 2.2 ยอดคงค้างสินเชื่อ จำนวนบัญชีรวมทั้งสิ้น 187,649 190,553 191,469 N/A (% m-o-m) -14.58 1.55 0.48 N/A จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น (ล้านบาท) 4,170.91 4,186.83 4,131.24 N/A (% m-o-m) -6.73 0.38 -1.33 N/A (1) หนี้สถานะปกติ จำนวนบัญชี 127,326 132,609 133,855 N/A จำนวนเงิน (ล้านบาท) 2,762.74 2,837.83 2,790.11 N/A (2) หนี้ค้างชำระ 1-3 เดือน (SM) จำนวนบัญชี 27,972 26,612 26,404 N/A จำนวนเงิน (ล้านบาท) 649.51 614.54 602.70 N/A หนี้ SM ต่อยอดคงค้างสินเชื่อ (SM Ratio - %) 15.57 14.68 14.59 N/A (3) หนี้ค้างชำระเกินกว่า 3 เดือน (NPL) จำนวนบัญชี 32,351 31,332 31,210 N/A จำนวนเงิน (ล้านบาท) 758.66 734.46 738.43 N/A หนี้ NPL ต่อยอดคงค้างสินเชื่อ (NPL Ratio - %) 18.19 17.54 17.87 N/A ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หมายเหตุ : 1. มีการปรับปรุงข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และเดือนมีนาคม 2564 ให้เป็นปัจจุบัน
2. หนี้จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Special Mention Loan : SM) หมายถึง หนี้ซึ่งค้างชำระระหว่าง 1 - 3 เดือน และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan : NPL) หมายถึง หนี้ซึ่งค้างชำระเกินกว่า 3 เดือน
ที่มา: กระทรวงการคลัง