เศรษฐกิจไทยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย. 64ขยายตัวสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 1.25ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวสูงขึ้นที่ร้อยละ 0.52ต่อปีดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มิ.ย. 64ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 43.1จากระดับ 44.7ในเดือนก่อนปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน มิ.ย. 64ขยายตัวที่ร้อยละ 24.5เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ภาคการเงินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน พ.ค. 64ขาดดุล -2,624.0ล้านดอลลาร์สหรัฐสินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน พ.ค. 64ขยายตัวร้อยละ 3.3จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากในสถาบันการขยายตัวที่ร้อยละ 3.8จากช่วงเดียวกันปีก่อน เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี ใกล้เคียงกับที่ สศม. คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ1.2 โดยอัตราเงินเฟ้อขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 แต่ในอัตราที่ชะลอตัว ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.52
ปัจจัยสำคัญของการสูงขึ้นยังคงเป็นผลจากสินค้าในกลุ่มพลังงานที่ขยายตัวและการสูงขึ้นของราคาอาหารสดบางประเภท โดยเฉพาะเนื้อสุกร ไข่ไก่ ผลไม้สด และน้ำมันพืช ขณะที่มาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ และการลดลงของราคาอาหารสดบางประเภท เช่น ผักสด ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เป็นปัจจัยทอนที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้ขยายตัวชะลอลงดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 จากหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ขยายตัวร้อยละ 43.7 ตามราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในตลาดโลกที่ยังคงอยู่ระดับสูง นอกจากนี้ การปรับเพิ่มขึ้นของราคาทองแดงและอลูมิเนียม ส่งผลให้สินค้าในหมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปาปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 4.5 เนื่องจากมีทองแดงและอลูมิเนียมเป็นวัตถุดิบ อย่างไรก็ดี หมวดซีเมนต์ยังคงลดลงต่อเนื่องร้อยละ -1.1เนื่องจากการก่อสร้างภาคเอกชนยังคงชะลอตัวจากผลของการระบาดโควิดรอบใหม่ เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มิ.ย. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 43.1 จากระดับ 44.7 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 22 ปี 9 เดือน นับตั้งแต่ทำการสำรวจในเดือน ต.ค. 41 เป็นต้นมา เนื่องจากความกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยระลอกที่ 3 ประกอบกับความกังวลในสถานการณ์ทางการเมืองที่มีเสถียรภาพน้อยลงและการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนที่ล่าช้า ส่งผลให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟืนตัวขึ้นมากนักและยังขาดแรงกระตุ้นในการฟืนตัว แม้ว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการเราชนะ และโครงการอื่น ๆ จะสามารถกระตุ้นกำลังซื้อได้แล้วในระดับหนึ่ง ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 24.5เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 13.7 การขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานต่ำในปีก่อน เนื่องจากผู้บริโภคลดการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ขณะที่ปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ ได้แก่ ราคาพืชผลทางการเกษตรที่ขยายตัวได้ดีส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมาตรการกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐที่ช่วยพยุงกำลังซื้อของผู้บริโภคในปัจจุบัน
เครื่องชี้ภาคการเงินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน พ.ค. 64 ขาดดุล -2,624.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ -1,297.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลที่ -6,001.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP)เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 3,377.8ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นมากกว่ามูลค่าการนำเข้า ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 64ขาดดุลรวม -7,340.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐสินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน พ.ค. 64 มี เงินฝากในสถาบันการเงินเดือนพ.ค. 64 มี ยอดคงค้าง 19.3 ล้านล้านบาท คิดเป็น ยอดคงค้าง 22.9 ล้านล้านบาท คิดเป็น การขยายตัวร้อยละ 3.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อนหรือขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อพบว่า สินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1ขณะที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวในอัตราคงตัวที่ร้อยละ 5.2จากช่วงเดียวกันปีก่อนการขยายตัวที่ร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวที่ร้อยละ 4.3ขณะที่ เงินฝากสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวในอัตราชะลอตัวที่ร้อยละ 2.7จากช่วงเดียวกันปีก่อน เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
ดัชนีฯ PMIนอกภาคอุตสาหกรรม (ISM) เดือน มิ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 60.1จุด ปรับตัวลดลงจากเดือน พ.ค. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 64.0จุด เป็นผลจากการปรับตัวลดลงของดัชนีกิจกรรมทางธุรกิจ ยอดคำสั่งซื้อใหม่ คำสั่งส่งออกใหม่ และการจ้างงาน เป็นสำคัญ โดยสหรัฐฯ ยังคงเผชิญปัญหาการขาดแคลนวัสดุการผลิต ฯราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น การขนส่งสินค้าทางทะเลที่ล่าช้า และการขาดแคลนแรงงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (27มิ.ย.-3 ก.ค. 64) อยู่ที่ 3.73แสนราย เพิ่มขึ้นสจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 3.71แสนราย สูงกว่าคาดการณ์ของตลาด และยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยต่อสัปดาห์ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐ ที่อยู่ที่ระดับ 2.3 แสนราย ทั้งนี้ ปัญหาการ ขาดแคลนแรงงานยังคงเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อภาคธุรกิจของสหรัฐฯ โดยมีทั้งจากการว่างงานโดยสมัครใจ ผู้ที่ยังไม่ได้งานที่เหมาะสมสำหรับตนเอง หรือผู้ปกครองที่จำเป็นต้องดูแลบุตรเนื่องจากสถานศึกษายังไม่เปิดดัชนีฯ PMI ภาคบริการ (Caixin) เดือน มิ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 50.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 55.1 จุด และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 63 ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จสายพันธุ์เดลต้าในมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางเรือที่สำคัญอัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 1.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.3จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากจากราคาสินค้าในหมวดอาหารที่ปรับตัวลดลง
ดัชนีฯ PMIภาคบริการ เดือน มิ.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 48.0 จุด จาก 46.50จุดในเดือน พ.ค. 64 อย่างไรก็ดี ค่าดัชนียังคงต่ำกว่า 50.0จุด เนื่องจากยังคงมีการประกาศใช้มาตรการข้อจำกัดต่าง ๆ ญเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ดัชนีฯ PMIภาคการบริการ เดือน มิ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 58.3 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค. 64ที่อยู่ที่ระดับ 55.2จุด เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวลดลงจากโยเดือน เม.ย. 64ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 23.3อย่างไรก็ดี ขยายตัวมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.2 ดัชนีฯ PMIภาคบริการ เดือน มิ.ย. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 56.8 จุด จาก 60.4 จุด ในเดือน พ.ค. 64 ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19ระลอกใหม่ที่ส่งผลให้ออสเตรเลียต้องประกาศปิด 4เมืองใหญ่ อีกครั้ง ได้แก่ บริสเบน ซิดนีย์ เพิร์ธ และดาร์วินอ เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
ยอัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือน เม.ย. 64 ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.6 ของกำลังแรงงานรวม ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 1.75 ต่อปีมดัชนีฯ PMIภาคบริการ เดือน มิ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 41.2จุดลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 46.4 เจุด และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 63จากสถานการณ์แพร่ระบาดในประเทศที่เริ่มกลับมาน่าเป็นอกังวลอีกครั้ง หลังหลายรัฐในอินเดียประกาศผ่อนคลายล็อกดาวน์ในช่วงกลางเดือน มิ.ย. 64 ดัชนีฯ PMI ภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 50.1 จุดลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 54.4 จุด เนื่องจากอยู่ในช่วงมาตรการควบคุมโควิด-19 ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 79.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่สขยายตัวร้อยละ 54 เนื่องจากผลกระทบจากฐานต่ำในปีที่แล้วและการฟืนตัวของเศรษฐกิจ โดยยอดขายในหมวดยานยนต์เป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญอัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.5 เนื่องจากสราคาสินค้าในหมวดต้นทุนค่าขนส่งเป็นสำคัญนผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 249.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ปร้อยละ 154.3 เนื่องจากสินค้าในหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นสำคัญมูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 29.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 74.1 ฟมูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 47.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 152.8 ดุลการค้า เดือน พ.ค. 64 ขาดดุลที่ 2.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.15 ของกำลังแรงงานรวมปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.71 ของกำลังแรงงานรวม และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 63 จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลให้รัฐบาลยกระดับมาตรการควบคุมการระบาดอีกครั้ง หลังพบผู้ติดเชื้อใหม่รายวันสูงเป็นนประวัติการณ์อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 1.89 ต่อปี จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ไร้อยละ 2.48จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าขนส่ง และค่าสาธารณูปโภคที่ปรับตัวลดลง โดยรัฐยกเลิกอัตราค่าไฟพิเศษในช่วงฤดูร้อน ตามมาตรการบรรเทาผลกระทบโควิด-19 มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 35.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้า เดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 42.3จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้า เดือน มิ.ย. 64เกินดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 5.15พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จดัชนีฯ PMIภาคบริการ เดือน มิ.ย. 64 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 62.4 จุด จาก 62.9จุด ในเดือน พ.ค. 64อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีดังกล่าวยังคงสูงกว่าระดับ 50.0จุด ซึ่งบ่งชี้ว่า ธุรกิจภาคบริการยังคงมีการขยายตัว โดยได้รับปัจจัยหนุนจากการผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนดัชนีSETปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่นๆในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงเช่นNikkei225(ญี่ปุ่น)HSI(ฮ่องกง)และKLCI(มาเลเซีย)เป็นต้นดัชนีSETปรับตัวเพิ่มขึ้นช่วงต้นสัปดาห์และปรับตัวลดลงต่อเนื่องจนถึงปลายสัปดาห์เมื่อวันที่8 ก.ค.64ดัชนีปิดที่ระดับ1,543.67จุดด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่5-8ก.ค.64อยู่ที่80,287.43ล้านบาทต่อวันโดยนักลงทุนต่างชาตินักลงทุนสถาบันในประเทศและนักลงทุนบัญชีหลักทรัพย์เป็นผู้ขายสุทธิขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศเป็นผู้ซื้อสุทธิทั้งนี้ระหว่างวันที่5-8ก.ค.64ต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ-1,522.01ล้านบาทอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวลดลงในช่วง-1ถึง-9bpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลทั้งนี้ระหว่างวันที่5-8ก.ค.64กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ985.97ล้านบาทและหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่8ก.ค.64กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดพันธบัตรสุทธิ71,873.69ล้านบาทเงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 8ก.ค. 64 เงินบาทปิดที่ 32.45บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -1.34จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ อาทิ เงินสกุลยูโร ริงกิต วอน และดอลลาร์สิงคโปร์ ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินสกุลเยน ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER)อ่อนค่าลงร้อยละ -1.34จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง