ฉบับที่ 41/2564 วันที่ 29 กันยายน 2564 รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังภูมิภาคประจำเดือนสิงหาคม 2564 ?เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนสิงหาคม 2564 ชะลอตัวลงในเกือบทุกภูมิภาคจากผลกระทบของสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) อย่างไรดี เศรษฐกิจภาคใต้ ภาคตะวันออก เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล และภาคตะวันตก ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนหน้า? นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนสิงหาคม 2564 ว่า ?เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนสิงหาคม 2564 ชะลอตัวลงในเกือบทุกภูมิภาค จากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) อย่างไรดี เศรษฐกิจภาคใต้ ภาคตะวันออก เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล และภาคตะวันตก ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนหน้า? โดยมีรายละเอียดดังนี้ เศรษฐกิจภาคใต้ชะลอตัวลง แต่ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัวสูงขึ้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง ในเดือนสิงหาคม 2564 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่ง จดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ชะลอตัวลงร้อยละ -18.8 และ -35.1 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลชะลอตัวลงร้อยละ -2.7 และ -22.7 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ที่ขยายตัวร้อยละ 9.5 และ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อนและเมื่อเทียบเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ที่ร้อยละ 290.9 และ 10.3 ตามลำดับ ด้วยจำนวนเงินทุน 612.41 ล้านบาท จากโรงงานผลิตน้ำแข็งซอง ในจังหวัดสุราษฏร์ธานี และโรงงานผลิตน้ำมันปาล์มดิบจากปาล์มทะลาย CPO เกรด A ในจังหวัดชุมพร เป็นสำคัญ ในขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลชะลอตัวลงที่ร้อยละ -19.3 และ -11.3 ตามลำดับ สำหรับจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ชะลอตัวลงร้อยละ -3.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 36.2 และ 75.7 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 37.4 และ 79.3 ตามลำดับ เศรษฐกิจภาคตะวันออกชะลอตัวลง แต่ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ ที่ขยายตัวสูงขึ้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง ในเดือนสิงหาคม 2564 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่ง จดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัวลงร้อยละ -17.2 และ -29.5 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน และชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ -15.1 และ -32.4 ตามลำดับ ในขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 35.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ที่ร้อยละ 99.2 และ 68.4 ตามลำดับ ด้วยจำนวนเงินทุน 5,686.24 ล้านบาท จากโรงงานทำหม้อเก็บพลังงานไฟฟ้าชนิดแห้ง และรวมถึงชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ในจังหวัดฉะเชิงเทรา และโรงงานผลิตกระดาษที่ใช้แล้วมาคัดแยกเศษพลาสติกและโลหะออกเพื่อนำไปผ่านกระบวนการบดและปั่นแห้งเป็นกระดาษอัดก้อนที่นำกลับคืนมาใช้ได้อีกในจังหวัดปราจีนบุรี เป็นสำคัญ ในขณะที่ จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่ร้อยละ -22.4 และ -15.6 และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลชะลอตัวลงร้อยละ -3.1 และ -24.0 ตามลำดับ ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 42.4 และ 100 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 43.8 และ 105.6 ตามลำดับ เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล ชะลอตัวลง แต่ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัวสูงขึ้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง ในเดือนสิงหาคม 2564 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่ง จดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ชะลอตัวลงร้อยละ -2.7 และ -22.2 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 54.9 และ 18.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.1 แต่ชะลอตัวลงร้อยละ -4.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจ ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ที่ร้อยละ 11.4 และ 311.1 ตามลำดับ ด้วยจำนวนเงินทุน 1,889.65 ล้านบาท จากโรงงานผลิตและแบ่งบรรจุน้ำมันพืชทุกชนิดและผลิตน้ำมันไบโอดีเซล ในจังหวัดสมุทรสาคร และโรงงานทำชิ้นส่วนพิเศษ หรืออุปกรณ์สำหรับรถยนต์หรือรถพ่วง ในจังหวัดสมุทรปราการ เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -1.2 แต่ขยายตัวร้อยละ 35.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ทั้งนี้ ในด้านความเชื่อมั่นพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 37.9 และ 75.0 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 39.3 และ 77.8 ตามลำดับ เศรษฐกิจภาคตะวันตกชะลอตัวลง แต่ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ ที่ขยายตัวสูงขึ้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง ในเดือนสิงหาคม 2564 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่ง จดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัวลงร้อยละ -26.6 และ -25.1 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน และชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลร้อยละ -14.5 และ -24.0 ตามลำดับ ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอตัวลงร้อยละ -5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ทรงตัวที่ร้อยละ 0.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ที่ร้อยละ 13.8 และ 462.8 ตามลำดับ ด้วยจำนวนเงินทุน 345.89 ล้านบาท จากโรงงานผสมปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ในจังหวัดราชบุรี และโรงงานผลิตอะลูมิเนียมแท่ง กำลังการผลิต 8 ตันต่อวัน ในจังหวัดเพชรบุรี เป็นสำคัญ ในขณะที่ จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ -19.1 และ -12.6 และเมื่อเทียบกับ เดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลชะลอตัวลงร้อยละ -8.1 และ -14.6 ตามลำดับ ทั้งนี้ หากพิจารณาในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 38.5 และ 75.0 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 39.9 และ 77.8 ตามลำดับ เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง ในเดือนสิงหาคม 2564 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภค สะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ทรงตัวร้อยละ 0.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล จดทะเบียนใหม่ จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัวลงที่ร้อยละ -16.5 -3.1 และ -29.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และชะลอตัวลงร้อยละ -11.5 -7.8 และ -62.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 44.0 และ 68.8 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 45.2 และ 69.5 ตามลำดับ เศรษฐกิจภาคเหนือชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ยังเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ เดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง ในเดือนสิงหาคม 2564 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัวลงร้อยละ -4.2 และ -29.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและชะลอตัวลงร้อยละ -2.7 และ -29.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ อย่างไรก็ดี จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวลงร้อยละ -6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัวลงที่ร้อยละ -9.5 -9.5 และ -18.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และชะลอตัวลงร้อยละ -5.7 -18.2 และ -18.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านความเชื่อมั่น พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลง มาอยู่ที่ระดับ 42.7 และ 54.8 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 43.9 และ 57.5 ตามลำดับ เศรษฐกิจภาคกลางชะลอตัวลง สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลง ในเดือนสิงหาคม 2564 เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัวลงร้อยละ -8.9 -26.0 และ -40.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และชะลอตัวลงร้อยละ -2.7 -32.3 และ -38.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ เช่นเดียวกับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงาน ที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัวลงร้อยละ -24.4 -15.5 และ -81.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และชะลอตัวลงร้อยละ -26.1 -10.4 และ -60.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ นอกจากนี้ หากพิจารณาในด้านความเชื่อมั่นพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 38.5 และ 75.0 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 39.9 และ 77.8 ตามลำดับ โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมปรากฏตามเอกสารแนบ? รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังภูมิภาคประจำเดือนสิงหาคม 2564 ตารางที่ 1 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคใต้ เครื่องชี้เศรษฐกิจ 2563 Q1/64 Q2/64 ก.ค.64 ส.ค.64 YTD เครื่องชี้ด้านการบริโภคภาคเอกชน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy) -12.9 -16.0 16.1 -1.1 9.3 -0.8 จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -23.7 -2.4 33.7 -0.5 -18.8 5.9 จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%yoy) -13.0 -7.6 42.8 -14.4 -35.1 1.5 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.หอการค้า) (ระดับ) 50.2 45.3 41.0 37.4 36.2 41.5 รายได้เกษตรกร (%yoy) 11.7 18.8 46.5 39.9 33.3 33.0 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -15.7 15.9 29.2 8.8 -19.3 13.8 จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -3.7 45.3 58.3 20.9 6.9 40.0 เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (พันล้านบาท) 15.8 1.6 3.9 0.4 0.6 6.5 เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (%yoy) 188.1 -61.0 237.5 -12.2 290.9 12.4 เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรม (%yoy) -6.9 1.8 14.9 2.8 -2.1 5.8 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ) 78.7 84.8 83.1 79.3 75.7 82.4 เครื่องชี้ด้านการท่องเที่ยว จำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมด (%yoy) -65.6 -73.3 149.5 -93.9 -94.0 -69.1 จำนวนผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -48.1 -49.8 169.9 -95.4 -95.5 -51.3 จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -82.4 -99.8 -77.4 78.8 82.1 -98.9 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือน (%yoy) -73.2 -91.5 64.2 -80.3 -79.6 -87.0 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -55.4 -64.9 197.7 -95.4 -95.5 -59.3 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -78.6 -99.9 -94.2 471.5 470.8 -98.4 ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้ง (%yoy) -24.0 -0.9 41.5 5.9 21.6 14.5 จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนเลิก (%yoy) -3.3 -9.8 -13.9 -5.7 -4.5 -9.9 เครื่องชี้ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (%yoy) -1.2 0.1 3.0 1.8 1.3 1.5 ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ (%ต่อจำนวนผู้ประกันตน ม. 33) 1.9 1.4 1.2 1.2 1.2 1.3 หมายเหตุ: ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานประกันสังคม คำนวณและรวบรวม: สศค. ? ตารางที่ 2 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตะวันออก เครื่องชี้เศรษฐกิจ 2563 Q1/64 Q2/64 ก.ค.64 ส.ค.64 YTD เครื่องชี้ด้านการบริโภคภาคเอกชน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy) -13.2 1.8 53.4 52.5 35.1 28.1 จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -27.5 -5.0 18.1 -7.9 -17.2 0.9 จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%yoy) -14.8 -2.6 42.9 -0.2 -29.5 8.2 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.หอการค้า) (ระดับ) 55.5 51.4 47.5 43.8 42.4 47.9 รายได้เกษตรกร (%yoy) 10.6 35.5 27.7 14.5 -11.9 20.3 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -15.2 -5.0 17.7 -13.4 -22.4 -0.9 จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -9.1 11.0 32.3 11.0 -15.6 15.0 เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (พันล้านบาท) 26.8 12.3 8.6 1.7 5.7 28.2 เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (%yoy) -46.3 133.6 187.1 9.4 99.2 123.2 เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรม (%yoy) -11.5 -1.8 25.8 5.2 -4.9 7.5 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ) 103.4 105.5 104.0 105.6 100.0 104.3 เครื่องชี้ด้านการท่องเที่ยว จำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมด (%yoy) -55.6 -76.6 42.8 -93.2 -93.8 -74.1 จำนวนผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -44.5 -68.9 51.0 -93.2 -93.9 -69.0 จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -84.4 -99.7 -89.8 -92.2 -90.9 -99.3 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือน (%yoy) -72.7 -89.7 5.4 -93.1 -93.3 -85.0 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -52.4 -72.0 81.3 -93.0 -93.2 -68.0 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -84.0 -99.8 -97.7 -96.8 -96.2 -99.6 ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้ง (%yoy) -15.2 -4.0 27.8 2.4 -0.5 6.5 จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนเลิก (%yoy) 0.0 -22.9 -4.6 -8.8 -21.4 -14.8 เครื่องชี้ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (%yoy) -1.1 0.2 3.2 2.3 1.7 1.8 ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ (%ต่อจำนวนผู้ประกันตน ม. 33) 0.8 0.7 0.6 0.6 0.7 0.7 หมายเหตุ: ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานประกันสังคม คำนวณและรวบรวม: สศค. ? ตารางที่ 3 เครื่องชี้เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล เครื่องชี้เศรษฐกิจ 2563 Q1/64 Q2/64 ก.ค.64 ส.ค.64 YTD เครื่องชี้ด้านการบริโภคภาคเอกชน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy) -5.4 -6.1 16.1 17.3 7.1 6.2 จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -22.0 -13.9 17.6 -33.0 -2.7 -4.9 จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%yoy) -9.9 -2.4 32.8 -35.6 -22.2 1.4 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.หอการค้า) (ระดับ) 51.9 47.6 43.3 39.3 37.9 43.7 รายได้เกษตรกร (%yoy) 0.5 16.7 14.6 2.3 -5.9 12.6 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -18.8 -13.6 16.4 -21.3 -1.2 -3.3 จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ (%yoy) 27.2 1.4 54.6 28.2 -28.9 14.6 เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (พันล้านบาท) 39.0 5.6 10.6 0.9 1.9 19.0 เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (%yoy) -12.8 -6.8 -7.0 -78.7 11.4 -18.3 เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรม (%yoy) -9.3 3.1 21.5 8.2 -2.6 9.2 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ) 85.2 86.5 82.7 77.8 75.0 82.6 เครื่องชี้ด้านการท่องเที่ยว จำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมด (%yoy) -64.0 -48.8 5.7 -87.3 -90.6 -51.4 จำนวนผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -55.6 -23.4 24.4 -88.4 -91.4 -35.8 จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -80.6 -96.5 -70.3 -59.1 -56.7 -93.8 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือน (%yoy) -75.9 -78.1 -58.0 -93.0 -94.9 -77.8 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -65.0 -48.4 10.5 -95.0 -96.4 -55.9 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -82.3 -96.3 -88.6 -80.1 -73.3 -94.8 ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้ง (%yoy) -11.3 4.9 18.2 -13.7 -20.1 3.6 จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนเลิก (%yoy) -5.7 -22.5 -23.0 -19.5 -20.0 -21.8 เครื่องชี้ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (%yoy) -0.8 -0.4 2.2 0.4 -0.1 0.7 ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ (%ต่อจำนวนผู้ประกันตน ม. 33) 0.5 0.5 0.4 0.4 0.4 0.4 หมายเหตุ: ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานประกันสังคม คำนวณและรวบรวม: สศค. ? ตารางที่ 4 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตะวันตก เครื่องชี้เศรษฐกิจ 2563 Q1/64 Q2/64 ก.ค.64 ส.ค.64 YTD เครื่องชี้ด้านการบริโภคภาคเอกชน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy) -9.8 -2.8 9.2 -5.1 -5.6 0.8 จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -22.8 -2.9 15.9 -11.0 -26.6 -0.8 จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%yoy) -10.9 5.8 42.7 -8.8 -25.1 10.5 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.หอการค้า) (ระดับ) 51.0 47.1 43.5 39.9 38.5 43.8 รายได้เกษตรกร (%yoy) 0.1 4.8 -0.5 -12.5 -7.5 1.4 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -9.8 8.1 14.7 -9.7 -19.1 4.2 จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -8.0 3.8 28.0 5.0 -12.6 9.3 เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (พันล้านบาท) 9.5 0.6 1.4 0.1 0.3 2.5 เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (%yoy) 57.6 -76.1 -52.2 -95.8 13.8 -69.5 เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรม (%yoy) -12.6 1.2 33.4 3.9 -8.1 10.2 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ) 85.2 86.5 82.7 77.8 75.0 82.6 เครื่องชี้ด้านการท่องเที่ยว จำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมด (%yoy) -41.3 -16.3 51.6 -95.8 -96.8 -41.0 จำนวนผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -38.0 -10.0 51.6 -95.8 -96.8 -38.8 จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -83.6 -99.4 88.9 77.4 -80.2 -98.9 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือน (%yoy) -52.6 -33.7 74.5 -96.4 -97.2 -45.0 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -45.4 -20.8 75.9 -96.4 -97.2 -38.8 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -84.6 -99.6 -59.3 -22.9 -88.2 -99.2 ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้ง (%yoy) -11.1 30.6 40.7 3.3 0.0 26.3 จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนเลิก (%yoy) -7.3 -25.0 -19.6 41.9 -5.1 -13.1 เครื่องชี้ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (%yoy) -1.3 -0.1 3.5 1.9 1.3 1.7 ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ (%ต่อจำนวนผู้ประกันตน ม. 33) 1.3 1.0 1.0 1.1 1.1 1.0 หมายเหตุ: ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานประกันสังคม คำนวณและรวบรวม: สศค. ? ตารางที่ 5 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เครื่องชี้เศรษฐกิจ 2563 Q1/64 Q2/64 ก.ค.64 ส.ค.64 YTD เครื่องชี้ด้านการบริโภคภาคเอกชน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy) 13.7 10.4 7.6 8.7 0.0 7.7 จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -18.2 4.9 20.8 5.4 -10.3 8.2 จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%yoy) -7.6 11.7 43.4 -12.9 -31.4 11.2 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.หอการค้า) (ระดับ) 55.2 51.9 48.3 45.2 44.0 48.8 รายได้เกษตรกร (%yoy) -12.2 9.4 4.2 1.1 0.1 7.1 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -14.7 5.4 25.0 -0.3 -16.5 8.1 จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -8.9 21.0 48.8 20.6 -3.1 26.0 เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (พันล้านบาท) 16.4 2.8 2.1 1.1 0.3 6.3 เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (%yoy) 4.1 -69.4 -0.3 253.3 -29.5 -47.3 เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรม (%yoy) -5.5 1.4 10.8 -1.7 -3.5 3.7 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ) 76.7 77.9 73.0 69.5 68.8 73.9 เครื่องชี้ด้านการท่องเที่ยว จำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมด (%yoy) -46.8 -29.2 83.9 -89.7 -90.3 -41.2 จำนวนผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -45.4 -26.1 83.5 -89.7 -90.3 -39.7 จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -80.4 -98.5 9,950.0 9,950.0 -73.1 -97.3 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือน (%yoy) -51.9 -43.8 74.6 -94.6 -94.0 -51.9 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -50.6 -40.8 74.2 -94.6 -94.0 -50.2 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -78.7 -98.7 1,996.7 3,500.0 -88.8 -97.9 ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้ง (%yoy) 3.4 100.2 40.9 22.2 46.5 62.9 จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนเลิก (%yoy) -13.1 -26.5 -17.0 4.3 33.6 -12.6 เครื่องชี้ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (%yoy) -0.6 -0.6 2.1 1.0 0.5 0.7 ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ (%ต่อจำนวนผู้ประกันตน ม. 33) 2.0 1.7 1.7 1.5 2.0 1.7 หมายเหตุ: ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานประกันสังคม คำนวณและรวบรวม: สศค. ? ตารางที่ 6 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคเหนือ เครื่องชี้เศรษฐกิจ 2563 Q1/64 Q2/64 ก.ค.64 ส.ค.64 YTD เครื่องชี้ด้านการบริโภคภาคเอกชน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy) -1.1 -3.6 9.4 0.3 -4.2 1.5 จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -22.9 0.0 29.2 -9.5 -6.8 6.9 จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%yoy) -8.2 1.6 44.7 -14.2 -29.2 7.9 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.หอการค้า) (ระดับ) 53.8 50.4 47.1 43.9 42.7 47.4 รายได้เกษตรกร (%yoy) -14.7 10.1 1.2 10.5 28.9 10.7 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -13.6 12.1 17.8 -2.7 -9.5 9.6 จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -11.2 8.3 33.0 13.8 -9.5 14.5 เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (พันล้านบาท) 8.9 0.8 2.2 0.2 0.2 3.4 เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (%yoy) 92.0 -35.8 -35.2 -17.6 -18.2 -33.8 เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรม (%yoy) -9.2 0.4 17.8 -0.7 -5.9 5.3 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ) 65.9 63.4 60.4 57.5 54.8 60.5 เครื่องชี้ด้านการท่องเที่ยว จำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมด (%yoy) -43.6 -51.4 202.5 -83.2 -81.9 -43.0 จำนวนผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -36.9 -45.0 205.6 -83.2 -81.9 -38.1 จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -81.7 -98.2 16.9 -76.1 -77.4 -96.4 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือน (%yoy) -51.9 -60.6 202.7 -87.7 -85.8 -52.5 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -39.6 -49.2 212.7 -87.8 -85.8 -42.9 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -82.7 -98.8 -31.7 -76.5 -79.4 -97.8 ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้ง (%yoy) -9.1 52.3 36.3 28.7 25.7 40.6 จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนเลิก (%yoy) -3.6 -20.7 3.0 17.1 0.0 -5.8 เครื่องชี้ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (%yoy) -0.7 -0.4 2.6 1.5 0.9 1.1 ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ (%ต่อจำนวนผู้ประกันตน ม. 33) 1.6 1.3 1.4 1.3 1.5 1.4 หมายเหตุ: ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานประกันสังคม คำนวณและรวบรวม: สศค. ? ตารางที่ 7 เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคกลาง เครื่องชี้เศรษฐกิจ 2563 Q1/64 Q2/64 ก.ค.64 ส.ค.64 YTD เครื่องชี้ด้านการบริโภคภาคเอกชน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (%yoy) 7.2 0.3 4.2 10.5 -9.2 1.7 จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -33.2 -4.1 22.7 13.0 -26.0 3.5 จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (%yoy) -17.1 -0.2 43.1 -17.2 -40.3 4.9 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ม.หอการค้า) (ระดับ) 51.0 47.1 43.5 39.9 38.5 43.8 รายได้เกษตรกร (%yoy) -4.3 4.1 -2.2 -10.7 -11.8 -0.8 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -26.2 -3.9 20.4 5.0 -24.4 2.6 จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ (%yoy) -2.1 1.6 37.3 18.7 -15.5 12.8 เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (พันล้านบาท) 8.9 6.4 19.1 0.7 0.3 26.4 เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ (%yoy) -89.9 139.2 1,570.4 260.8 -81.9 373.7 เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรม (%yoy) -7.8 2.5 19.1 4.9 -3.3 7.7 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (ระดับ) 85.2 86.5 82.7 77.8 75.0 82.6 เครื่องชี้ด้านการท่องเที่ยว จำนวนผู้เยี่ยมเยือนทั้งหมด (%yoy) -57.1 -25.0 424.4 -93.4 -94.5 -34.8 จำนวนผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -53.0 -14.5 423.7 -93.4 -94.5 -29.5 จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -86.2 -99.0 952.3 126.4 -48.9 -98.2 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือน (%yoy) -65.2 -31.9 442.6 -94.1 -94.8 -34.8 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนคนไทย (%yoy) -59.6 -20.1 441.8 -94.1 -94.8 -27.3 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ (%yoy) -89.6 -99.0 882.4 105.6 -57.7 -98.4 ข้อมูลการจดทะเบียนนิติบุคคล จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้ง (%yoy) -15.2 45.6 19.7 7.9 17.6 29.2 จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนเลิก (%yoy) -1.7 -28.8 -67.1 -10.0 -30.3 -47.4 เครื่องชี้ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (%yoy) -1.3 -0.3 2.8 1.8 1.4 1.4 ผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ (%ต่อจำนวนผู้ประกันตน ม. 33) 0.8 0.6 0.6 0.5 0.6 0.6 หมายเหตุ: ที่มา: กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมการท่องเที่ยว สำนักดัชนีการค้า สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานประกันสังคม คำนวณและรวบรวม: สศค. ? ตารางที่ 8 เครื่องชี้เศรษฐกิจรายภาคในเดือนสิงหาคม 2564 โดยปรับผลทางฤดูกาล (MoM_SA) เครื่องชี้เศรษฐกิจ ใต้
ตะวันออก
กทมปริฯ ตะวันตก อีสาน เหนือ กลาง เครื่องชี้ด้านการบริโภคภาคเอกชน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่_SA (%mom) 15.4 8.1 10.6 7.5 12.6 5.5 -2.4 จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ _SA (%mom) -2.7 -15.1 54.9 -14.5 -9.1 5.0 -32.3 จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ _SA (%mom) -22.7 -32.4 18.9 -24.0 -25.1 -29.8 -38.0 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค_SA (ม.หอการค้า) (ระดับ) รายได้เกษตรกร _SA (%mom) 3.9 -13.5 -7.5 1.7 6.9 12.9 1.2 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ _SA (%mom) -11.3 -3.1 35.5 -8.1 -11.5 -5.7 -26.1 จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ _SA (%mom) -3.5 -24.0 -14.4 -14.6 -7.8 -18.2 -10.4 เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ_SA (ล้านบาท) 0.7 4.4 2.3 0.2 0.5 0.2 0.5 เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ _SA (%mom) -7.0 105.6 209.6 103.6 -70.1 -22.7 -61.9 เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสินค้าอุตสาหกรรม _SA (%mom) -1.7 -5.9 -4.7 -7.9 -2.5 -4.8 -4.9 เครื่องชี้ด้านการท่องเที่ยว จำนวนผู้เยี่ยมเยือน _SA (%mom) -4.7 11.5 20.5 -87.9 -24.2 -33.6 -8.4 จำนวนผู้เยี่ยมเยือนคนไทย _SA (%mom) -22.7 -0.2 -50.8 -75.8 -26.1 -34.1 -3.8 จำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ _SA (%mom) 23.5 -11.0 -26.9 -65.3 -10.3 -7.7 -67.9 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือน _SA (%mom) -20.5 5.8 -1.8 -74.7 4.1 21.0 -18.7 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนคนไทย _SA (%mom) -14.5 -4.1 -53.8 -71.6 4.9 17.6 -17.0 รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ _SA (%mom) 6.6 5.8 -19.5 -28.7 -13.4 -7.6 -70.1 ข้อมูลนิติบุคคลจดทะเบียน จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้ง _SA (%mom) 7.5 -3.0 -11.5 -5.4 9.2 -5.5 -8.1 จำนวนนิติบุคคลจดทะเบียนเลิก _SA (%mom) 8.9 -0.6 -5.3 -17.4 -3.6 -3.9 -22.0 หมายเหตุ: ที่มา กรมสรรพากร กรมการขนส่งทางบก สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมการท่องเที่ยว และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า คำนวณและรวบรวม: สศค. *_SA หมายถึง ข้อมูลที่ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว
ที่มา: กระทรวงการคลัง