เศรษฐกิจไทยเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3ปี 64หดตัวที่ร้อยละ -0.3ต่อปี ชะลอลงเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.6ต่อปี ในไตรมาสก่อนหน้าปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ ร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ต.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -11.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ต.ค. 64หดตัวที่ร้อยละ -13.8เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เศรษฐกิจต่างประเทศGDP ญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 3ปี 64(เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.4จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
เศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ปี 64 ลดลงที่ร้อยละ -0.3 ต่อปี ชะลอลงเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 7.6 ต่อปี ในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ปี 2564 ลดลงจากไตรมาส 2 ปี 2564 ร้อยละ -1.1 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวได้ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปีโดยเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ชะลอลงจากการบริโภคภาคเอกชนที่ลดลงร้อยละ -3.2 เป็นผลจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่รุนแรงและต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า การดำเนินมาตรการป้องกันของภาครัฐ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาพรวม อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายของภาครัฐที่เข้ามาช่วยพยุงกำลังซื้อ และบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน เช่น โครงการคนละครึ่ง โครงการเพิ่มกำลังซื้อแก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการเยียวยาผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 โครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา รวมถึงมาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา รวมทั้งการผ่อนคลายมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19ในช่วงปลายไตรมาส ขณะที่การส่งออกสินค้าและการลงทุนภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยการส่งออกสินค้าขยายตัวทั้งสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม ตามอุปสงค์จากจีนและอาเซียนเป็นสำคัญ
ในส่วนของภาคการผลิต การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ -1.4 โดยการผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมเบา และวัตถุดิบลดลง ส่วนอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีชะลอตัว ทั้งนี้ ปัจจัยหลักมาจากการลดลงของอุปสงค์ในประเทศเป็นสำคัญ การผลิตสาขาเกษตรกรรมขยายตัวร้อยละ 4.3 เป็นการขยายตัวทั้งการผลิตในหมวดพืช ปศุสัตว์ และประมง ขณะที่การผลิตสาขาบริการขยายตัวร้อยละ 0.2 โดยสาขาบริการที่ขยายตัวได้ ได้แก่ สาขาการขายส่งและการขายปลีก สาขากิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย และสาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร ขณะที่สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าปรับตัวลดลง เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ต.ค. 64 กลับมาขยายตัวร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหากปรับผลทางฤดูกาล พบว่าขยายตัวร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยในเดือน ต.ค. 64 กิจกรรมการก่อสร้างที่เคยได้รับผลกระทบจากมาตรการปิดไซต์งานก่อสร้าง เริ่มกลับมาดำเนินการได้มากขึ้น ประกอบกับภาวะฝนตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มคลี่คลายลงและการเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยว ส่งผลให้ประชาชนเริ่มมีรายได้ ส่งผลให้ความต้องการใช้งานปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้น ขณะที่ในระยะถัดไป การประกาศเปิดประเทศ และการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย น่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างได้มากขึ้น เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ต.ค. 64 มีจำนวน 19,950คัน หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -11.2เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวที่ร้อยละ -7.0 แนวโน้มของตลาดรถยนต์เริ่มมีทิศทางดีขึ้นจากการที่ ศบค. ผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ส่งผลให้ภาคธุรกิจส่วนใหญ่กลับมาดำเนินการได้อย่างปกติ ประกอบกับการดำเนินมาตรการเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ การเปิดรับนักท่องเที่ยวในโครงการต่าง ๆ และสถานการณ์น้ำท่วมที่เริ่มคลี่คลายเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนให้กำลังซื้อของผู้บริโภคเริ่มฟืนตัวได้มากขึ้น
Indicators 2020 2021 (%yoy)ทั้งปีQ2 Q3 Sep Oct YTD ยอดขายรถยนต์นั่ง-30.6 33.2 -19.2 -13.5 -11.2 -7.2 %mom_sa,
--14.6 -6.5 52.7 -7.0 -%qoq_sa
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ต.ค. 64 มีจำนวน 44,512 คัน หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -13.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล ตามปริมาณการจำหน่ายรถกระบะ 1ตัน ที่ขยายตัวร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล ยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์แม้จะยังหดตัวเมื่อเทียบรายปี แต่หากเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล เริ่มเห็นทิศทางการฟืนตัวได้มากขึ้นหลังจากที่ยอดจำหน่ายฯ สามารถขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน (+37.2และ+9.0ในเดือน ก.ย. 64 และ ต.ค. 64 ตามลำดับ)โดยมีปัจจัยสำคัญมาจาก การทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 64 และการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ผ่านมาตรการกระตุ้นการบริโภค รวมถึงการประกันรายได้สินค้าเกษตร ทำให้ประชาชนมีความมั่นใจในการใช้จ่ายเงินมากขึ้น นอกจากนี้ กิจกรรมส่งเสริมการขาย ในงาน Motor Expo ช่วงปลายปี คาดว่าจะช่วยหนุนยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ได้มากขึ้น เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 64ขยายตัวที่ร้อยละ 14.7จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 14.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีแรงหนุนจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และยอดขายรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 64ขยายตัวที่ร้อยละ 5.0จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน ต.ค. 64หดตัวร้อยละ -0.7จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฐฤดูกาลแล้ว)ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -2.7จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางสฤดูกาลแล้ว) จากยอดสร้างบ้านแบบคอนโดมิเนียมและทาวน์โฮมที่ขยายตัวจากเดือนก่อนหน้ายอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน ต.ค. 64กลับมาขยายตัวร้อยละ 4.0จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) หลังหดตัวในเดือน ก.ย. 64ที่ร้อยละ -7.8จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากใบอนุญาตก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นในทุกประเภทจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (7-13พ.ย. 64) อยู่ที่ระดับ 2.68แสนราย ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 7และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดในสหรัฐฯ เมื่อเดือน มี.ค. 63เป็นผลจากการฟืนตัวอย่างต่อเนื่องของตลาดแรงงานสหรัฐฯผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ท่ามกลาง การดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และการขาดแคลนปัจจัย การผลิต โดยได้รับแรงหนุนจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มการสื่อสาร ไฟฟ้าและพลังงานความร้อน และเคมีภัณฑ์ เป็นสำคัญยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 3เดือน จากการบริโภคที่เพิ่มขึ้นหลังจากการระบาดของโควิด-19 ในบางภูมิภาคบรรเทาลง ส่งผลให้ยอดค้าปลีก10 เดือนแรกของปี 64 ขยายตัวร้อยละ 14.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนอัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 64 ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.9 ของกำลังแรงงานรวมและเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 61 อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย. 64ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.4เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
GDPไตรมาสที่ 3 ปี 64 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 1.4จากช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -3.0 เมื่อคำนวณแบบ annualizedrateและเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -0.8จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) เป็นผลจากการบริโภคภาคเอกชนและการผลิตยานยนต์ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 13จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการนำเข้า เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 26.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงญจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 38.6จากช่วงเดียวกันของปีก่อนดุลการค้า เดือน ต.ค. 64 ขาดดุลที่ 67.4 พันล้านเยน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลที่ 622.8พันล้านเยนผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน ก.ย. 64 หดตัวที่ร้อยละ -2.3จากช่วงเดียวกันปีของก่อน ขณะที่เดือน ส.ค. 64 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 8.8จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็น การกลับมาหดตัวครั้งแรกในรอบ 7 เดือนอัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.15จากช่วงเดียวกันปีของก่อนลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนอัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 ของกำลังแรงงานรวมลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.5ของกำลังแรงงานรวม เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8ติดต่อกันและถือเป็นอัตราการว่างงานที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 63 มูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 53.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 47.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการนำเข้า เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 51.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 40.3จากช่วงเดียวกันของปีก่อนดุลการค้า เดือน ต.ค. 64 เกินดุลที่ 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ 4.4พันล้านดอลลาร์สหรัฐธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.5 ต่อปีเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน
ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2 ต่อปี เพื่อสนับสนุนการฟืนตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศมูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 22.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 18.6จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการนำเข้า เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 25.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 18.7จากช่วงเดียวกันของปีก่อนดุลการค้า เดือน ต.ค. 64 เกินดุลที่ 5.9 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ 4.9พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์
อัตราการว่างงาน เดือน ก.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือน ส.ค. 64ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.5ของกำลังแรงงานรวม และต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.4ของกำลังแรงงานรวม อัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ย. 64ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.1เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาที่อยู่อาศัยและราคาพลังงาน
เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนดัชนี SETปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เช่น STI (สิงคโปร์) PSEi(ฟิลิปินส์)และ DJIA(สหรัฐอเมริกา) เป็นต้น เมื่อวันที่ 18พ.ย. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,651.02จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 15-18 พ.ย. 64อยู่ที่78,961.39 ล้านบาทต่อวันโดย นักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ซื้อสุทธิขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 15-18พ.ย. 64 ต่างชาติ ซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 1,269.33ล้านบาทอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1ถึง 14bpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 22 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 0.98เท่าของวงเงินประมูล ตามลำดับ ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 15-18 พ.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 11,873.81ล้านบาทและหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 18พ.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 138,382.15 ล้านบาทเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 18พ.ย. 64 เงินบาทปิดที่ 32.61บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.82จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลหยวนที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิตวอน และดอลลาร์สิงคโปร์ ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER)แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.04จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง