เศรษฐกิจไทย
ExecutiveSummary
เศรษฐกิจไทยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 2.9 ต่อปีปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ต.ค. 64ขยายตัวร้อยละ 9.0ต่อปีปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน พ.ย. 64ขยายตัวที่ร้อยละ 20.2เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อนการเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ต.ค. ปีงบประมาณ 65ขยายตัวร้อยละ 36.2ต่อปีรัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ต.ค. ปีงบประมาณ 65ขยายตัวร้อยละ 13.2ต่อปี ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ต.ค. ปีงบประมาณ 65ขาดดุลจำนวน -347,824ล้านบาทหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 58.76 ของ GDP ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ต.ค. 64ขยายตัวที่ร้อยละ 10.6ต่อปีภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ต.ค. 64หดตัวที่ร้อยละ -7.2ต่อปีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 2.71 ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ขยายตัวร้อยละ 0.29 ต่อปีดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ย. 64ขยายตัวร้อยละ 10.4เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนภาคการเงินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ต.ค. 64ขาดดุล -1,058.0ล้านดอลลาร์สหรัฐสินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ต.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 4.5จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ต.ค. 64ขยายตัวที่ร้อยละ 5.5จากช่วงเดียวกันปีก่อน เศรษฐกิจต่างประเทศGDP ออสเตรเลีย ไตรมาสที่ 3ปี 64ขยายตัวร้อยละ 3.9เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนGDP เกาหลีใต้ ไตรมาส 3 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลของฤดูกาล
การขยายตัวของดัชนี MPIในเดือน ต.ค. 64 เป็นผลมาจากการขยายตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม อุตสาหกรรมผลิตเฟอร์นิเจอร์ และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ที่ขยายตัวร้อยละ 6.0 12.4 6.3 36.2 และ 12.9 ต่อปี ตามลำดับ* ขณะที่อุตสาหกรรมที่หดตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วง อุตสาหกรรมเครื่องใช้ในครัวเรือน อุตสาหกรรมผลิตจักรยานยนต์ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และอุตสาหกรรมการแปรรูปและถนอมผลไม้และผักที่หดตัวร้อยละ -17.0 -19.0 -25.3 -59.4 และ -9.2 ต่อปี ตามลำดับ* (*เรียงตามสัดส่วน)
ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ต.ค. 64 ขยายตัว ร้อยละ 9.0 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 8.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลปริมาณการจำหน่ายเหล็กในประเทศกลับมาขยายตัวได้ครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยมีปัจจัยสำคัญมาจาก การขยายตัวต่อเนื่องของเหล็กที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม อาทิ เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ที่ขยายตัวร้อยละ 71.1 และ 29.8 ต่อปี ตามลำดับ ตามการฟืนตัวของภาคการผลิตและการส่งออก ขณะที่เหล็กที่ใช้ในภาคการก่อสร้างแม้จะยังคงหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน แต่มีทิศทางปรับตัวดีขึ้นจากความต้องการใช้งานในประเทศที่เพิ่มขึ้น หลังสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลายและการเร่งลงทุนก่อสร้างของภาครัฐ อย่างไรก็ดีสถานการณ์การระบาดที่มีความไม่แน่นอนสูงจากการพบการการระบาดของเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ อาจส่งผลให้ความต้องการใช้งานเหล็กในระยะถัดไปชะลอลง เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน พ.ย. 64 กลับมาขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 20.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 28.1 ซึ่งเป็นการขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 เดือนนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 64 โดยเป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ในประเทศไทย และมาตรการเปิดประเทศ ประกอบกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายรวมถึงความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กำลังซื้อเริ่มฟืนตัวได้ดีขึ้นกว่าในช่วงที่ผ่านมา เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย การเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือน ต.ค. ปีงบประมาณ 65เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 510,234 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 36.2ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 15.3 โดย (1) รายจ่ายปีปัจจุบัน เบิกจ่ายได้ 493,513 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 38.9 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 15.9 ทั้งนี้ แบ่งออกเป็น (1.1) รายจ่ายประจำ 439,168 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 28.4 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 17.6 และ (1.2) รายจ่ายลงทุน 54,344 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 312.1 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 8.9 (2) รายจ่าย ปีก่อน เบิกจ่ายได้ 16,721 ล้านบาท หดตัว ร้อยละ -13.4 ต่อปี คิดเป็นอัตราเบิกจ่ายสะสมที่ร้อยละ 7.0ต่อปี รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ต.ค. ปีงบประมาณ 65 ได้ 194,335ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.2ต่อปี โดยรายได้ขยายตัวจากภาษีมูลค่าเพิ่มขยายตัวร้อยละ 14.3 ต่อปี เนื่องจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจาก การนำเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 16.5 และภาษีเงินได้นิติบุคคลขยายตัวร้อยละ 26.1 ต่อปี เนื่องจากภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายภาคเอกชน (ภ.ง.ด. 53) และภาษีจากค่าบริการและจำหน่ายเงินกำไร (ภ.ง.ด. 54) สูงกว่าประมาณการเป็นสำคัญ เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ต.ค. ปีงบประมาณ 65พบว่า ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน -347,824 ล้านบาท ทั้งนี้เมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณแล้วพบว่าขาดดุล
รายได้-16,950 ล้านบาท ดุลเงินสด
รายจ่ายก่อนกู้ขาดดุล -364,774 ล้านบาท โดยในเดือนนี้ รัฐบาลมี การกู้เงิน 82,000ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสุดหลังกู้ขาดดุล -282,774ล้านบาท ทั้งนี้จำนวนเงินคงคลังปลายงวดอยู่ที่ 305,973ล้านบาทหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ต.ค. 64 มีจำนวนทั้งสิ้น 9,461,003 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 58.76 ของ GDPและเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 123,460ล้านบาท
ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้ จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 70 ของ GDP และหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุคงเหลือ คิดเป็นร้อยละ 85.74 ของยอดหนี้สาธารณะและเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 98.2ของยอดหนี้สาธารณะ
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลจัดเก็บได้ ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 10.6 ต่อปีแต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวที่ร้อยละ -3.4 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการนำเข้าที่ขยายตัวได้ดีจากปัจจัยฐานต่ำจากปีก่อน และ ทิศทางการนำเข้าที่ยังคงขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิง ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการใช้จ่ายภายในประเทศยังคงหดตัวเนื่องจากการดำเนินมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ โควิด-19ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการดำเนินชีวิตของประชาชน ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ต.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -7.2 ต่อปี และหดตัวที่ ร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาล การจัดเก็บภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ต.ค. 64 หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากหมวดการจัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะที่หดตัวเร่งขึ้นอยู่ที่ร้อยละ -11.5 ต่อปี หลัง ประชาชนยังคงได้รับผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 ส่งผลโดยตรงต่อความเชื่อมั่นด้านการจ้างงาน รวมถึงรายได้ในอนาคต อย่างไรก็ดี การทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิดจนทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มฟืนตัวมากขึ้น การเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และการผ่อนคลายมาตรการ LTV คาดว่าจะช่วยให้เกิดการบริโภคอสังหาริมทรัพย์มากขึ้นในระยะถัดไป เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 2.71 ต่อปี ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศประกอบกับฐานราคาปีที่ผ่านมาอยู่ระดับต่ำ รวมถึงราคาผักสดที่ยังคงได้รับผลกระทบจากอุทกภัยจากช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ เนื้อสุกร อาหารบริโภคในบ้าน-นอกบ้าน และ เครื่องประกอบอาหาร ราคาปรับสูงขึ้นตามต้นทุน อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมาส่วนหนึ่งยังเป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์และการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทั้งมาตรการด้านการท่องเที่ยว และมาตรการสนับสนุนให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย ในประเทศ ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมและกำลังซื้อของประชาชนปรับตัวดีขึ้น เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ขยายตัวร้อยละ 0.29 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 14 จากการเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะในหมวดสินค้าสำคัญอย่างหมวดเหล็ก ผลิตภัณฑ์คอนกรีต และอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา ที่ขยายตัวร้อยละ 38.6 6.0 และ 3.8 ต่อปี ตามลำดับ โดยมีปัจจัยสำคัญจากราคาต้นทุนวัตถุดิบโดยเฉพาะเหล็กที่ยังลอยตัวในระดับสูง ประกอบกับตลาดวัสดุก่อสร้างในประเทศที่ได้ปัจจัยหนุนจากการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหลังสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายลง อย่างไรก็ดี ความกังวลเกี่ยวกับการระบาดรอบใหม่ของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (Omicron)คาดว่าจะเป็นปัจจัยกดดันภาคการก่อสร้าง รวมถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ให้ฟืนตัวได้ช้าลง และจะส่งผลต่อดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างได้ในระยะถัดไป
โดยดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลที่ -4,862.1ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP)เกินดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 3,804.1ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 64 ขาดดุลรวม -10,909.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ต.ค. 64 มียอดคงค้าง 19.7ล้านล้านบาท คิดเป็น การขยายตัวร้อยละ 4.5จากช่วงเดียวกันปีก่อน
หรือขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.5จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อพบว่า สินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 6.1ขณะที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 3.6จากช่วงเดียวกันปีก่อนเงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ต.ค. 64มียอดคงค้าง 23.2ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 5.5จากช่วงเดียวกันปีก่อน
หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.8จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์และเงินฝากสถาบันการเงิน เฉพาะกิจขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 6.2 และ 4.4จากช่วงเดียวกันปีก่อนตามลำดับ
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 51.7 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.0จุดดัชนีฯ PMIภาคการผลิต เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 58.1 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 57.8จุด อย่างไรก็ตาม ต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์เล็กน้อยว่าจะอยู่ที่ระดับ 58.2จุด
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง