รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 17 ธ.ค. 64

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 20, 2021 14:44 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน พ.ย. 64เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3และปรับตัวสูงสุดในรอบ 8เดือนที่ระดับ 85.4จากระดับ 82.1 ในเดือนก่อนปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน พ.ย. 64 หดตัวร้อยละ -4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน พ.ย. 64ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 44.9จากระดับ 43.9ในเดือนก่อนภาคการเงินระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ต.ค. 64คิดเป็น 1.95เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI)เดือน พ.ย. 64 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และปรับตัวสูงสุดในรอบ 8 เดือนที่ระดับ 85.4 จากระดับ 82.1 ในเดือนก่อนดัชนีฯ เดือน พ.ย. 64ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกขนาดอุตสาหกรรมและทุกภูมิภาคต่อเนื่องจากเดือนก่อน ขณะที่องค์ประกอบของดัชนีฯ เพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการ ทั้งยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ยกเว้นต้นทุนประกอบการ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ในประเทศมีแนวโน้มคลี่คลายลง ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับอุปสงค์ในต่างประเทศที่ยังคงขยายตัวได้ดีตามการฟืนตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ อาทิ สหรัฐฯ จีน อาเซียน และ อินเดีย เป็นต้น อย่างไรก็ดี ราคาต้นทุนวัตถุดิบและราคาพลังงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและค่าขนส่ง อีกทั้งการกลับมาระบาดของโควิด-19รอบใหม่ในหลายประเทศ อาจส่งผลต่อภาคการส่งออกและภาคการผลิตได้ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน พ.ย. 64 หดตัวร้อยละ -4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หากปรับผลทางฤดูกาล พบว่าขยายตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

โดยในเดือน พ.ย. 64 ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์กลับมาหดตัวเมื่อเทียบรายปี อันมีสาเหตุมาจากปัญหาด้านการผลิตปูนซีเมนต์ในบริษัทเอกชนบางราย ส่งผลให้การผลิตและการจำหน่ายชะลอลง อย่างไรก็ดี หากพิจารณาเมื่อเทียบรายเดือนหลังหักผลของฤดูกาลยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือน 2 ตามกิจกรรมการก่อสร้างที่กลับมาดำเนินการได้มากขึ้น หลังสถานการณ์ โควิด-19 และน้ำท่วมในหลายจังหวัดคลี่คลายลง ขณะที่ในระยะถัดไป ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการระบาดของโควิด-19สายพันธุ์ใหม่ที่อาจส่งผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึงการก่อสร้างให้กลับมาชะลอตัวลง

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน พ.ย.64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 44.9 จากระดับ 43.9 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 3 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 7เดือน นับตั้งแต่เดือนพ.ค. 64 เป็นต้นมา

โดยเป็นผลมาจาก ศบค. ผ่อนปรนมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดเพื่อเป็นการรองรับมาตรการเปิดประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 64 เป็นต้นไป เพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ (ประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ) เดินทางเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่ต้องกักตัวและได้ปรับโดยลดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) พื้นที่เฝาระวังสูง (สีเหลือง) และพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟา) พร้อมทั้งยกเลิกการเคอร์ฟิวเพื่อให้ธุรกิจและประชาชนสามารถดำเนินชีวิตและประกอบธุรกิจได้ใกล้เคียงกับระดับปกติ เพื่อลดผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟืนตัวขึ้น เป็นลำดับเครื่องชี้ภาคการเงินระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ต.ค. 64 คิดเป็น 1.95เท่าของสินทรัพย์ สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย

โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ 5.4ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (LiquidityCoverageRatio:LCR)ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59 เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 18.2จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 16.3จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 5 เดือน เนื่องจากสหรัฐฯ ได้เข้าสู่ช่วงเทศกาลวันหยุดปลายปีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวคงที่จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.3จากช่วงเดียวกันของปีก่อนท่ามกลางปัญหาด้านอุปทานติดขัดยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน พ.ย. 64ขยายตัวร้อยละ 11.8จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)สวนทางกับเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -3.1จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากยอดสร้างบ้านใหม่ที่ขยายตัวสูงในทุกประเภทยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน พ.ย. 64ขยายตัวร้อยละ 3.6จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.2จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาล) จากยอดทาวน์โฮมส์ที่หดตัวลง และยอดบ้านเดี่ยวและคอนโดมิเนียมที่ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐ (FOMC)มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 0.00-0.25 ต่อไป แต่จะเร่งดำเนินการ Taperingโดยจะลดจำนวนการซื้อพันธบัตรรัฐบาลลงเดือนละ 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และลดจำนวนการซื้อ mortgage backed securities ลงเดือนละ 1หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (5-11ธ.ค. 64) อยู่ที่ระดับ 2.06แสนราย ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับ1.88แสนราย แต่เป็นระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดที่ระดับ 2.20 แสนรายผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.5จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้รับแรงหนุนจากการฟืนตัวของการผลิตพลังงานและราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวลดลงยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการบริโภคที่ลดลงท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19โดยมียอดขายเครื่องประดับ เครื่องใช้ในบ้าน โทรคมนาคม และผลิตภัณฑ์น้ำมัน ที่ชะลอลงเป็นสำคัญอัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 5.0 ของกำลังแรงงานรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.9ของกำลังแรงงานรวม

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศดัชนี PMIภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น)เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 58.0 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 58.4จุด อย่างไรก็ดี สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 57.8 จุดดัชนี PMIภาคบริการ (เบื้องต้น)เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 53.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 55.9จุด เนื่องจากการกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งของโรคโควิด-19ในภูมิภาคยุโรป ธนาคารกลางยุโรปมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.0 ต่อปี จากการประชุมในเดือน ธ.ค. 64 นอกจากนี้ทางธนาคารกลางยุโรปได้ประกาศปรับลดวงเงินซื้อพันธบัตรในโครงการ PandemicEmergencyPurchaseProgramme(PEPP)และจะยุติโครงการดังกล่าวในเดือน มี.ค. 65และทางธนาคารกลางยุโรปได้กล่าวเสริมว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟอในช่วงที่ผ่านมานี้เป็นการเพิ่มขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้นผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ไตรมาส 3 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.8 ของช่วงเดียวกันของ         ปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการขยายตัวที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4ปี 31โดยได้รับแรงหนุนจากการผลิตอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ และสินค้าเบ็ดเตล็ด ที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญอัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ของกำลังแรงงานรวมลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.3ของกำลังแรงงานรวมมูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 31.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 22.6จากช่วงเดียวกันปีก่อนมูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 31.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 25.6จากช่วงเดียวกันปีก่อนดุลการค้า เดือน พ.ย. 64 เกินดุลที่ 6.24 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 5.9พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์อัตราว่างงาน ไตรมาส 3 ปี 64 อยู่ที่ร้อยละ 2.6 ของกำลังแรงงานรวมลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.7ของกำลังแรงงานรวมมูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 49.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 53.4จากช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 52.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 51.1จากช่วงเดียวกันปีก่อน ดุลการค้า เดือน พ.ย. 64 เกินดุลที่ 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 5.7พันล้านดอลลาร์สหรัฐธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปีเพื่อสนับสนุนการฟืนตัวทางเศรษฐกิจ
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศดัชนี PMIภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น)เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 57.4 จุด ลดลงจากเดือน พ.ย. 64ที่อยู่ที่ระดับ 59.2จุด อย่างไรก็ดี ระดับดัชนียังคงสูงกว่าระดับ 50จุด แสดงถึงภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงขยายตัวดัชนี PMIภาคบริการ (เบื้องต้น)เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 55.1 จุด ลดลงจากเดือน พ.ย. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 55.7จุด อย่างไรก็ดี ถือเป็นเดือนที่ 3ติดต่อกันที่ระดับดัชนีสูงกว่าระดับ 50 จุด สะท้อนถึงภาคบริการที่ยังคงขยายตัวอัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือน ต.ค. 64ที่อยู่ที่ร้อยละ 5.2ของกำลังแรงงานรวม เนื่องจากทางภาครัฐได้ผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19ที่มากขึ้นธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปีอัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.2ของกำลังแรงงานรวม โดยได้รับแรงหนุนจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19และอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มสูงขึ้น
          ธนาคารกลางไต้หวันประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.125 ต่อปีอัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือน             ก.ย. 64ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.3ของกำลังแรงงานรวม และอัตราการว่างงานของสหราชอาณาจักรได้ลดลงมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ ธ.ค. 63 อัตราการเงินเฟอ เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. 64ที่ขยายตัวร้อยละ 4.2เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และเป็นการขยายตัวที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ ก.ย. 54 ธนาคารกลางอังกฤษมีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 0.25 ต่อปี จากร้อยละ 0.1 ต่อปี จากการประชุมในเดือน ธ.ค. 64โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดแรงกดดันจากอัตราเงินเฟอที่เพิ่มสูงขึ้นดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม (เบื้องต้น)เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 57.6 จุด ลดลงจากเดือน พ.ย. 64ที่อยู่ที่ระดับ 58.1จุด และสอดคล้องกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 57.6จุด เช่นกันดัชนีฯ PMIภาคบริการ (เบื้องต้น)เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 53.2 จุด ลดลงจากเดือน              พ.ย. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 58.5จุด เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19สายพันธุ์โอมิครอน ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อกิจกรรมทางเศรฐกิจในภาคบริการ
เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนดัชนี SETปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนสวนทางกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่น HSI (ฮ่องกง) STI(สิงคโปร์) และ DAX(เยอรมนี) เป็นต้น เมื่อวันที่ 16ธ.ค. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,645.32จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 13-16ธ.ค. 64อยู่ที่73,202.05ล้านบาทต่อวันโดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ระหว่างวันที่13-16ธ.ค.64 ต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 8,531.67ล้านบาทอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง0ถึง22ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.79เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่13-16ธ.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาด16ธ.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 142,464.51 ล้านบาทเงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 16ธ.ค. 64 เงินบาทปิดที่ 33.45บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.06จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลเยน ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวนที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินสกุลยูโรปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าน้อยกว่าสกุลเงินหลักอื่น ๆ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER)แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.16 จากสัปดาห์ก่อน8bpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ          พันธบัตรสุทธิ 6,064.26ล้านบาทและหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่



ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ