รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 26 พ.ย. 64

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 29, 2021 13:53 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย

ExecutiveSummary

เศรษฐกิจไทยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ต.ค. 64ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมหดตัวที่ร้อยละ -8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในเดือน ต.ค. 2564 ขยายตัวที่ร้อยละ 1,588.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการส่งออกในเดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 17.4 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 34.6 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน

          เศรษฐกิจต่างประเทศGDP สิงคโปร์ ไตรมาสที่ 3ปี 64ขยายตัวที่ร้อยละ 7.1จากช่วงเดียวกันปีก่อนเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -0.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลัง         ขจัดผลทางฤดูกาลดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ต.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลัง                 ขจัดผลทางฤดูกาล หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ต.ค. 64 พบว่า ผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวในหมวดพืชผลสำคัญและหมวดปศุสัตว์ที่ร้อยละ 0.9และ 1.6ตามลำดับ ขณะที่ผลผลิตในหมวดประมงหดตัวที่ ร้อยละ -3.0โดยสินค้าเกษตรสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง กลุ่มไม้ผล ไก่ และสุกร ขณะที่สินค้าสำคัญที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ไข่ไก่ และกุ้งขาวแวนนาไมหากพิจารณารายหมวดราคาสินค้าเกษตรในเดือน      ต.ค. 64 พบว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวใน                ทุกหมวดสินค้า โดยหมวดพืชผลสำคัญ หมวดปศุสัตว์ และหมวดประมงหดตัวที่ร้อยละ -8.6-7.3และ -4.1 ตามลำดับโดยสินค้าเกษตรสำคัญที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และไข่ไก่ ขณะที่สินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก ยางพารา กลุ่มไม้ผล สุกร ไก่ และกุ้งขาวแวนนาไม
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยเดือน ต.ค. 64 จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 19 เดือนขณะจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในเดือน ต.ค. 2564นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประเภทพิเศษ นักท่องเที่ยวกลุ่มสิทธิพิเศษ นักธุรกิจ และกลุ่มสุขภาพที่เข้ามารับบริการทางการแพทย์เดินทางเข้าประเทศไทย จำนวน 20,272 คน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวสูงที่ร้อยละ 1,588.0และเมื่อขจัดผลทางฤดูการพบว่าขยายตัวที่ร้อยละ 58.5โดยเป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น และการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวของชาวไทย สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทยในเดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ 4.6 ล้านคน หดตัวในอัตราชะลอที่ร้อยละ -66.5 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลพบว่าขยายตัวที่ร้อยละ 69.0 โดยมีสาเหตุมาจากการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมยังมีการเปิดให้ลงทะเบียนคนละครึ่งเฟส 3 ตั้งแต่วันที่ 8 ต.ค. เป็นต้นมา

อย่างไรก็ตามมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม ได้แก่ การแพร่ระบาดระลอกใหม่ในทวีปยุโรป โดยหลายประเทศมีการพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ทำให้บางประเทศเริ่มกลับมาใช้มาตรการควบคุมอีกครั้ง ขณะที่จังหวัดเชียงใหม่มีทิศทางมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น อาจส่งผลต่อการท่องเที่ยวในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

มูลค่าการส่งออกในเดือน ต.ค. 64 มีมูลค่า 22,739 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 17.4 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อนโดยนับเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 สำหรับสินค้าสำคัญที่ยังคงเป็นปัจจัยหนุนการส่งออกในเดือนดังกล่าว อาทิ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (10.3%) สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน (67.3%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (35.9%) อัญมณีและเครื่องประดับไม่รวมทองคำ (20.6%) แผงวงจรไฟฟ้า (18.6%) กลุ่มผลไม้ฯ อาทิ ลำไยสด (97.7%) และมะม่วงสด (27.0%) ยางพารา (51.7%) ข้าว (33.7%) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (29.5%) น้ำตาลทราย (111.6%) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (24.5%) และอาหารสัตว์เลี้ยง (14.4%) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายตลาดคู่ค้าหลักของไทย พบว่า การส่งออกไปยังตลาดคู่ค้าที่สำคัญขยายตัวในทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดสหรัฐ จีน เกาหลีใต้ กลุ่มอาเซียน และกลุ่มเอเชียใต้โดยเฉพาะอินเดีย ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ร้อยละ 16.1 14.1 30.5 31.0 และ 58.3 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 64 ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 15.7 ต่อปีมูลค่าการนำเข้าในเดือน ต.ค. 64 มีมูลค่า 23,109 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ยังคงขยายตัวในอัตราสูงที่ร้อยละ 34.6 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อนจากสินค้านำเข้าที่ขยายตัวได้ดีในทุกกลุ่มสำคัญ ได้แก่ กลุ่มสินค้าเชื้อเพลิง (104.4%) กลุ่มสินค้าทุน (25.4%) กลุ่มสินค้าวัตถุดิบฯ (26.7%) กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (34.3%) กลุ่มยานพาหนะและอุปกรณ์ฯ (2.5%) ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าช่วง 10 เดือนแรกของปี 64 ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 31.3 ต่อปี สำหรับดุลการค้า ในเดือน ต.ค. 64 ขาดดุลมูลค่า -370.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้าสะสมของไทยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 64 เกินดุลมูลค่า 1,646.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

ยอดขายบ้านใหม่ เดือน ต.ค. 64ขยายตัวร้อยละ 4.0จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 7.1จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) จากยอดขายบ้านในเขต Midwestและ Southที่ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า และยอดขายในเขต Northeastและ West ที่หดตัวลงจากเดือนก่อนหน้ายอดขายบ้านมือสอง เดือน ต.ค. 64ขยายตัวร้อยละ 0.8จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 7.0จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลฐแล้ว) จากยอดขายคอนโดมิเนียมมือสองที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนสราคากลางบ้านมือสอง เดือน ต.ค. 64ขยายตัวร้อยละ 13.1จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 12.7จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากราคากลางบ้านมือสองที่เพิ่มขึ้นในทุกเขตจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (14-20พ.ย. 64) อยู่ที่ระดับ 1.99แสนราย ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 8และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 52ปี นับตั้งแต่เดือน พ.ย. 12 ดัชนีฯ PMIภาคการผลิต เดือน พ.ย. 64 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 54.2 จุด จาก 53.2จุด ในเดือน ก.ย. 64เนื่องจากผลผลิต และคำสั่งซื้อใหม่ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นญดัชนีฯ PMIภาคบริการ เดือน ต.ค. 64 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 52.1 จุด จาก 50.7จุด ในเดือน ก.ย. 64 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ -6.8 จุด ลดลงจากเดือน ต.ค. 64ที่อยู่ที่ระดับ -4.8จุด เนื่องจากภาคครัวเรือนมีความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาด โรคโควิด-19ระลอกใหม่ดัชนีฯ PMIภาคการผลิต (เบื้องต้น)เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 58.6 จุด เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 58.3 จุดและมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 57.3จุดดัชนีฯ PMIภาคบริการ (เบื้องต้น)เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 56.6 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 54.6 จุดและมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 53.5จุดอัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.7จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.4จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการส่งออก เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 21.4จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 16.5จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการนำเข้า เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 17.7จากช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 23.5จากช่วงเดียวกันของปีก่อนดุลการค้า เดือน ต.ค. 64 ขาดดุลที่ -30.5พันล้านดอลลาร์ฮ่องกงลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลที่ -42.4พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

ดัชนีฯ PMIภาคการผลิต (เบื้องต้น)เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 58.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 58.2จุด เนื่องจากภาคการผลิตมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจมากขึ้นจากเสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19ที่ปรับตัวดีขึ้น ดัชนีฯ PMIภาคบริการ (เบื้องต้น)เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 55.0 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน อต.ค. 64ที่อยู่ที่ระดับ 51.8จุด เนื่องจากรัฐบาลออสเตรเลียได้มีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19เพิ่มมากขึ้น

GDPไตรมาสที่ 3 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 15.2จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 1.3เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)ปอัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.5จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากราคาค่าขนส่งเป็นสำคัญสผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 64ขยายตัวที่ร้อยละ 16.9จากช่วงเดียวกันปีก่อน ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -2.2จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมเป็นสำคัญ

ยอัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนาก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.2จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากราคาบ้านเป็นสำคัญมีใธนาคารกลางเกาหลีใต้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ร้อยละ 1.0ต่อปี จากร้อยละ 0.75 ต่อปีเพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อและหนี้สินภาคครัวเรือนเอัตราการว่างงาน เดือน ต.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 3.8ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.9ของกำลังแรงงานรวม และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 64 นผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 11.3จากช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 11.6จากช่วงเดียวกันของปีก่อนใยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.0จากช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีฯ PMIภาคการผลิต (เบื้องต้น) เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 58.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน จต.ค. 64ที่อยู่ที่ระดับ 57.8จุด อย่างไรก็ตาม ภาคการผลิตของสหราชอาณาจักรยังคงประสบกับปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบการผลิตและแรงงานดัชนีฯ PMIภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ระดับ 58.6 จุด ลดลงจากเดือน ต.ค. 64ที่อยู่ที่ระดับ 59.1จุด อย่างไรก็ดี ระดับดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50จุด สะท้อนให้สเห็นถึงภาคบริการที่ยังคงสามารถขยายตัวได้ เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนดัชนี SETปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยสวนทางกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่น Nikkei225(ญี่ปุ่น)CSI300(เซี่ยงไฮ้) และ STI(สิงคโปร์) เป็นต้น เมื่อวันที่ 25พ.ย. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,648.46จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 22-25 พ.ย. 64อยู่ที่86,099.68 ล้านบาทต่อวันโดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 22-25พ.ย. 64 ต่างชาติ ซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 3,045.87ล้านบาทอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1ถึง 4bpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 15 และ 3ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 2.46และ 0.79เท่าของวงเงินประมูล ตามลำดับ ทั้งนี้ระหว่างวันที่22-25พ.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -1,495.36 ล้านบาทและหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 25พ.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 143,224.31 ล้านบาทเงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 25พ.ย. 64 เงินบาทปิดที่ 33.33บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -2.20จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลเยน ยูโร ริงกิตวอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER)อ่อนค่าลงร้อยละ -1.56 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ