เศรษฐกิจไทย
ExecutiveSummary
เศรษฐกิจไทยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ธ.ค. 64ขยายตัวร้อยละ 2.17ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ขยายตัวร้อยละ 0.29ต่อปีดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ธ.ค. 64ขยายตัวร้อยละ 8.9เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ธ.ค. 64ขยายตัวที่ร้อยละ 16.6เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ภาคการเงินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน พ.ย. 64กลับมาเกินดุลที่ 345.8ล้านดอลลาร์สหรัฐสินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน พ.ย. 64ขยายตัวร้อยละ 4.6จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
เศรษฐกิจต่างประเทศGDP สิงคโปร์ ไตรมาสที่ 4ปี 64ขยายตัวที่ร้อยละ 5.9จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 2.17 ต่อปี ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาเนื่องจากมาตรการพยุงราคาน้ำมันดีเซล และการตรึงราคาพลังงานของภาครัฐ สินค้ากลุ่มอาหารสดราคาสูงขึ้นเล็กน้อย จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกรที่ปรับสูงขึ้นตามต้นทุน และราคาผักสดที่ยังคงสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา สินค้าสำคัญที่ราคาต่ำกว่า ปีก่อน อาทิ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และผลไม้สดส่วนราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ
อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมาส่วนหนึ่งยังเป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์และการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทั้งมาตรการด้านการท่องเที่ยว และมาตรการสนับสนุนให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย ในประเทศ ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมและกำลังซื้อของประชาชนปรับตัวดีขึ้น เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ขยายตัวร้อยละ 0.29 ส่งผลให้ทั้งปี 64 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 2.17 และ 0.23 ต่อปี ตามลำดับ
Inflation Rate
Headline Core 4.000 Indicators 3.41 2020 3.500
(%yoy)ทั้งปีQ3 Q4 Nov Dec 2.71 3.000 2.44 2.38 2.500 2.17 2.000 1.68
2.71 2.17 1.25 1.500 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป-0.85 0.70 2.42 0.83 1.000
0.30 0.49 0.52 0.45
0.29 0.29 0.500 0.09 0.14 0.07 0.19 0.21
อัตราเงินเฟ้อ0.000 0.29 0.12 0.12 0.29 0.29 0.23 -0.500 -0.081 -0.02 พื้นฐาน4. 6 4. 6 . 6 4. 6 4. 6 4. 6 44. 6 . 6 4. 6 4. 6 4.คม.ย.คิ.ยม.คก.คส.ยก.คตพธเมพดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 และเป็นการสูงขึ้นในทุกหมวดสินค้า นำโดยสินค้าสำคัญอย่างหมวดเหล็ก ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ซีเมนต์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา (ทั้ง 4 หมวด คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 64.6 ของดัชนีรวม)ที่ขยายตัวร้อยละ 28.7 5.6 3.0 และ 3.8 ต่อปี ตามลำดับ โดยมีปัจจัยสำคัญจากราคาต้นทุนวัตถุดิบโดยเฉพาะเหล็กที่ยังลอยตัวในระดับสูง การเร่งดำเนินโครงการก่อสร้างภาครัฐ ประกอบสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เริ่มคลี่คลายส่งผลให้ภาพรวมการก่อสร้างเริ่มฟื้นตัว อย่างไรก็ดี การระบาดรอบใหม่ของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (Omicron)ช่วงปลายปี คาดว่าจะสร้างความกังวลต่อผู้ประกอบการภาคการก่อสร้าง และทำให้ภาพรวมการก่อสร้างในโครงการใหม่ ๆ ชะลอลงในช่วงต้นปี 65 เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 16.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน
โดยเป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ในประเทศไทย ประกอบกับการจัดกิจกรรมส่งเสริม การขายในช่วงที่ผ่านมาและในงาน MotorExpo2021ซึ่งได้รับผลตอบรับค่อนข้างดี รวมถึงความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กำลังซื้อเริ่มฟื้นตัวได้ในระดับหนึ่ง เครื่องชี้ภาคการเงินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน พ.ย. 64 กลับมาเกินดุลที่ 345.8ล้านดอลลาร์สหรัฐหลังขาดดุลในเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ -1,058.0ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลที่ -3,891.7ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP)เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 4,237.5ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 64 ขาดดุลรวม -9,423.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐสินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน พ.ย. 64 มียอดคงค้าง 19.7ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.6จากช่วงเดียวกันปีก่อน
หรือขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.4จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อพบว่า สินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 6.5ขณะที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 3.5จากช่วงเดียวกันปีก่อนเงินฝากในสถาบันการเงินเดือน พ.ย. 64มียอดคงค้าง 23.3ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 4.5จากช่วงเดียวกันปีก่อน
หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.4จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์และเงินฝากสถาบันการเงิน เฉพาะกิจขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.0และ3.2จากช่วงเดียวกันปีก่อนตามลำดับ เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
ดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม(ISM)เดือน ธ.ค. 64อยู่ที่ระดับ 58.7จุดลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ61.1 จุด และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. 64 โดยเป็นผลจากการชะลอลงของดัชนีในหมวดยอดคำสั่งซื้อใหม่ เป็นสำคัญ การแพร่ระบาดยังคงจำกัดศักยภาพในการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ โดยภาคอุตสาหกรรมยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาห่วงโซ่อุปทาน การขาดแคลนวัตถุดิบ ราคาสินค้าที่สูง และปัญหาด้านการขนส่งดัชนีฯPMIนอกภาคอุตสาหกรรม(ISM) เดือนธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ62.0 จุดลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 69.1จุด และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 3เดือน โดยอุปสงค์ในภาคบริการของสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง ขณะที่ผู้ประกอบการยังคงเผชิญปัญหาด้านห่วงโซ่ฐอุปทาน การขาดแคลนแรงงานและวัตถุดิบ ความท้าทายด้านการขนส่ง และเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (26 ธ.ค.64-1 ม.ค. 65) อยู่ที่ระดับ2.07แสนรายปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับ 1.88 แสนราย แต่เป็นระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดที่ระดับ 2.15แสนรายมูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 23.9จากช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 24.6จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 22.2จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 14.4จากช่วงเดียวกันของปีก่อนดุลการค้า เดือน พ.ย. 64 ขาดดุลที่ระดับ -104.0พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลที่ระดับ -87.4พันล้านดอลลาร์สหรัฐดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม (Caixin)เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 50.9 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 49.9 จุด เป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 64เป็นผลจากความสำเร็จในการควบคุมผลกระทบจากการแพร่ระบาด ส่งผลให้ผลผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบปี จากปัญหาด้านอุปทานที่บรรเทาลง รวมถึงคำสั่งซื้อใหม่และระดับการซื้อจที่ปรับตัวดีขึ้นดัชนีฯ PMIภาคบริการ (Caixin)เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 53.1 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 52.1 จุด เป็นผลจากกิจกรรมทางธุรกิจและคำสั่งซื้อใหม่ขยายที่ตัวเร่งขึ้น รวมถึงคำสั่งซื้อเพื่อการส่งออกและการจ้างงานปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นสำคัญดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 54.3 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 54.2จุดญดัชนีฯ PMIภาคการบริการ เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 52.1 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 53.0 เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
ดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 58.0 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 58.4 จุด และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 64อย่างไรก็ดี ระดับดัชนียังคงสูงกว่าระดับ 50จุด ซึ่งบ่งชี้ถึงภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงขยายตัว โดัชนีฯ PMIภาคบริการ เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 53.1 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ยระดับ 55.9จุด เนื่องจากการลดลงของธุรกิจใหม่จากลูกค้าต่างชาติท่ามกลางการติดเชื้อโควิด-19ที่เพิ่มสูงขึ้นยอดค้าปลีกเดือนพ.ย.64ขยายตัวที่ร้อยละ4.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอลงจากกเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 9.4จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมียอดขายสินค้าในกลุ่มฮสินค้าคงทน และอาหาร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาสูบที่ปรับตัวลดลง เป็นสำคัญดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 57.7 จุด ลดลงจากเดือน พ.ย. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 59.2จุด อย่างไรก็ดี ทางฝั่งผู้ผลิตในออสเตรเลียยังคงมีมุมมองในเชิงบวกว่าภาคอุตสาหกรรมจะเติบโตอย่างต่อเนื่องดัชนีฯ PMIภาคบริการ เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 55.1 จุด ลดลงจากเดือน พ.ย. 64ที่อยู่ที่อระดับ 55.7จุด อย่างไรก็ดี ระดับดัชนียังคงสูงกว่าระดับ 50จุด ซึ่งบ่งชี้ถึงภาคบริการที่ยังคงขยายตัวาดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 52.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 52.2จุดเGDPไตรมาสที่ 4 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 7.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 2.6เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ส่งผลให้ทั้งปี 64เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 7.2ต่อปีดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 55.1 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนสหน้าที่อยู่ที่ระดับ 52.0จุดยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 7.5จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากยอดขายนาฬิกาและเครื่องประดับเป็นสำคัญ ดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 53.5 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ซอยู่ที่ระดับ 53.9จุดโอัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนอหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.8จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากราคาค่าขนส่งเป็นสำคัญ เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
ยดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 52.8 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนาหน้าที่อยู่ที่ระดับ 52.3จุดมดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 51.8 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.7จุดผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 26.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 25.9จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลจาก การผลผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญฟอัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.2จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากราคาค่าขนส่งเป็นสำคัญอัตราว่างงาน เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 6.5 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 7.4ของกำลังแรงงานรวมดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรมเดือน ธ.ค. 64อยู่ที่ระดับ 55.5 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ออยู่ที่ระดับ57.6 จุด และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 3 เดือนตดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 51.9 จุดเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนลหน้าที่อยู่ที่ระดับ 50.9จุด และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 3เดือน โดยได้รับแรงหนุนจากคำเสั่งซื้อใหม่ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นสำคัญดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 55.5 จุดเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 54.9 จุด เป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 64โดยได้รับแรงหนุนจากนผลผลิตที่กลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ท่ามกลางสัญญาณบวกที่บ่งชี้ว่า ปัญหาห่วงโซ่ไอุปทานเริ่มบรรเทาลงอัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 2.62 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.84จากช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 57.9 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือน จพ.ย. 64ที่อยู่ที่ระดับ 58.1จุด และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 57.6จุดอดัชนีฯ PMIภาคบริการ เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 53.6 จุด ลดลงจากเดือน พ.ย. 64ที่อยู่ที่าระดับ 58.5จุด เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19สายพันธุ์โอมิครอน ส่งผลให้มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคบริการลดลงสเครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนดัชนี SETปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เช่น Nikkei225(ญี่ปุ่น) STI(สิงคโปร์) และ DAX(เยอรมนี) เป็นต้น เมื่อวันที่ 6ม.ค. 65ดัชนีปิดที่ระดับ 1,653.03 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 4-6ม.ค. 65อยู่ที่ 99,873.09 ล้านบาทต่อวันโดยนักลงทุนต่างชาตินักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ระหว่างวันที่4-6ม.ค.65นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 6,685.76ล้านบาทอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1ถึง14bpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 4-6ม.ค. 65กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 15,156.51 ล้านบาทเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 6ม.ค. 65เงินบาทปิดที่ 33.37บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.03จากสัปดาห์ก่อนหน้า สวนทางกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ยูโร วอน ริงกิตดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.42จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง