เศรษฐกิจไทย
เศรษฐกิจไทยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ธ.ค. 64ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 86.8จากระดับ 85.4ในเดือนก่อนปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ธ.ค. 64หดตัวร้อยละ -0.2เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ธ.ค. 64ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.2จากระดับ 44.9ในเดือนก่อนหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 59.58 ของ GDP
ภาคการเงินระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 64คิดเป็น 1.93เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมายเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI)เดือน ธ.ค. 64 เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ที่ระดับ 86.8 จากระดับ 85.4 ในเดือนก่อน
ดัชนีฯ เดือน ธ.ค. 64ปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกขนาดอุตสาหกรรมและทุกภูมิภาคต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4ขณะที่องค์ประกอบของดัชนีฯ เพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการ ทั้งยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และ ผลประกอบการ ยกเว้นต้นทุนประกอบการ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นทั้งภาค การผลิต การค้า และการเดินทางระหว่างประเทศ ประกอบกับการฟืนตัวของอุปสงค์ทั้งในประเทศและในต่างประเทศที่ยังคงขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ดี การระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่ในไทยและหลายประเทศทั่วโลกคาดว่าจะเริ่มส่งผลกระทบต่อการผลิตรวมถึงการส่งออกมากขึ้นในช่วงต้นปี 65 รวมถึงในช่วงถัดไปหากสถานการณ์การระบาดคลี่คลายได้ช้ากว่าที่คาด ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการมีแนวโน้มลดลงสะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ในอีก 3เดือนข้างหน้า ปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 6เดือน มาอยู่ที่ระดับ 95.2จากระดับ 97.3ในเดือน พ.ย. 64
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศเดือน ธ.ค. 64 หดตัวร้อยละ -0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่หากปรับผลทางฤดูกาล พบว่าขยายตัวร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
โดยในเดือน ธ.ค. 64 ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 เมื่อเทียบรายเดือนหลังหักผลของฤดูกาล ตามกิจกรรมการก่อสร้างที่ฟืนตัวดีขึ้น จากสถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลายมากขึ้น และการเร่งก่อสร้างในโครงการของรัฐโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ ขณะที่ในระยะถัดไป การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่ส่งผลให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในระยะเวลาอันสั้น ๆอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนและผู้ประกอบการให้ลดลง และให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึงภาคการก่อสร้างชะลอตัวลงดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ธ.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.2 จากระดับ 44.9 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 9เดือน นับตั้งแต่เดือนเม.ย. 64 เป็นต้นมา
โดยเป็นผลมาจาก ศบค. ผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์เพื่อเป็นการรองรับมาตรการเปิดประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 64 เป็นต้นไป เพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ (ประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ) บินเข้ามาประเทศไทยโดยไม่ต้องกักตัว แม้ว่า ศบค. จะมีคำสั่งยกเลิก Test&Goและให้ใช้ระบบกักตัว พร้อมปิดรับลงทะเบียนนักท่องเที่ยวรายใหม่เข้าไทยตั้งแต่วันที่ 21 ธ.ค. 64 จนถึง 4 ม.ค. 65 ประกอบกับการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร ส่งผลทางจิตวิทยาในเชิงบวกต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่คาดว่าทำให้การจับจ่ายใช้สอยของคนไทยในการบริโภคและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะมีมากขึ้นในช่วงปลายปีรวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่จะเข้ามาหมุนเวียนเพิ่มเติมในระบบเศรษฐกิจเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 64 มีจำนวนทั้งสิ้น9,620,306 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 59.58 ของ GDPและเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 159,302ล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้ จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 70 ของ GDPและหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุคงเหลือ คิดเป็นร้อยละ 86.74ของยอดหนี้สาธารณะและเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็น ร้อยละ 98.2ของยอดหนี้สาธารณะเครื่องชี้ภาคการเงินที่มา :สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน พ.ย. 64 คิดเป็น 1.93เท่าของสินทรัพย์ สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย
โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ 5.3ล้านล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (LiquidityCoverageRatio:LCR)ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59 เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
อัตราเงินเฟ้อ (CPI)เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 7.0จากช่วงเดียวกันปีก่อนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบประมาณ 38 ปี โดยได้รับผลจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปี 64อยู่ที่ร้อยละ 4.7จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากปี 63ที่อยู่ที่ร้อยละ 1.2จากช่วงเดียวกันของปีก่อนฐจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (2-8ม.ค. 65) อยู่ที่ระดับ2.30แสนสรายปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับ 2.07แสนราย และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 8สัปดาห์ จากการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัสโควิด-19สายพันธุ์โอมิครอน ที่กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจตั้งแต่การเดินทางทางอากาศจนถึงแผนการเปิดการเรียนการสอน อย่างไรก็ดี ยังเป็นระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดที่ระดับ 2.15แสนรายซึ่งบ่งชี้ว่าสภาวะตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงตึงตัวต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และความต้องการแรงงานยังคงแข็งแกร่งอัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากราคาต้นทุนเนื้อหมูและราคาอาหารที่ลดลง จากการที่รัฐบาลได้เข้ามาควบคุมราคาวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้นและแก้ไขปัญหา การขาดแคลนพลังงาน ขณะที่ราคาค่าบริการโรงแรมและที่พักลดลง เนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ตัวเลขการเดินทางลดลง และได้มีการนำมาตราการล็อกดาวน์กลับมาใช้ใหม่ในบางภูมิภาคด้วยมูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 20.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 22.0จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ท่ามกลางอุปสงค์ทั่วโลกที่ชะลอตัวจากการระบาดของโควิด-19สายพันธุ์โอมิครอนมูลค่าการนำเข้า เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 19.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 31.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศอ่อนตัวลงจากการระบาดรอลอกใหม่ของโควิด-19 ดุลการค้า เดือน ธ.ค. 64 เกินดุลที่ระดับ 94.5พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ระดับ 71.7พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 7.2 ของกำลังแรงงานรวมลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 7.3ของกำลังแรงงานรวม และเป็นอัตราการว่างงานที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 63 โผลผลิตอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 64 หดตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน พลิกยกลับมาหดตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.2เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 8เดือนเครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 28.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 25.6จากช่วงเดียวกันปีก่อนมูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 11.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.6จากช่วงเดียวกันปีก่อนอดุลการค้า เดือน พ.ย. 64 เกินดุลที่ระดับ 6.3 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ระดับ 9.5พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.7จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากยอดขายเชื้อเพลิงรถยนต์เป็นสำคัญยเผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.5จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลจาก การผลผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญอัตราว่างงาน เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 ของกำลังแรงงานรวม คงที่จากเดือนก่อนหน้า
ยอดค้าปลีก เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 10.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 6.5จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากยอดขายอาหารเครื่องดื่มและยาสูบเป็นสำคัญ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 118.3 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 118.5จุด มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.0จากช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่าการนำเข้า เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 36.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 25.1จากช่วงเดียวกันปีก่อน ดุลการค้า เดือน พ.ย. 64 ขาดดุลที่ 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลที่ 4.0พันล้านดอลลาร์สหรัฐธนาคารกลางเกาหลีใต้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปีจาก ร้อยละ 1.0 ต่อปี ในการประชุมเมื่อเดือน พ.ย. 64จากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องและหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นอัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 ของกำลังแรงงานรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.1 ของกำลังแรงงานรวม และเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 64จากการดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโอมิครอนทำให้แรงงานบางส่วนต้องตกงาน เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ดัชนี SETปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนสวนทางกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่น Nikkei225(ญี่ปุ่น) CSI300(เซี่ยงไฮ้) และ DJIA(สหรัฐอเมริกา) เป็นต้น เมื่อวันที่ 13ม.ค. 65ดัชนีปิดที่ระดับ 1,680.02 จุด ด้วย มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 10-13ม.ค. 65อยู่ที่ 82,304.80 ล้านบาทต่อวันโดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ระหว่างวันที่10-13ม.ค.65นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 6,337.52 ล้านบาทอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1ถึง8 bpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 15 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.68เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 10-13ม.ค. 65กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 22,125.99 ล้านบาทและหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 13ม.ค. 64กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 39,843.32ล้านบาทเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่13ม.ค. 65เงินบาทปิดที่ 33.24บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.40จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ยูโร วอน ริงกิตดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าน้อยกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.24จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง