รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 21 ม.ค. 65

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 24, 2022 14:20 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย

ExecutiveSummary

เศรษฐกิจไทยมูลค่าการส่งออกในเดือน ธ.ค. 64ขยายตัวที่ร้อยละ 24.2เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 33.4เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อนดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ธ.ค. 64ขยายตัวที่ร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมหดตัวที่ร้อยละ -2.3เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

เศรษฐกิจต่างประเทศGDP จีน ไตรมาสที่ 4ปี 64ขยายตัวที่ร้อยละ 4.0จากช่วงเดียวกันของ ปีก่อน เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

          มูลค่าการส่งออกในเดือน ธ.ค. 64 มีมูลค่า 24,930 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 24.2 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อนโดยนับเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกันสำหรับสินค้าสำคัญที่ยังคงเป็นปัจจัยหนุนการส่งออกในเดือนดังกล่าว อาทิ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (45%) สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน (34%) อัญมณีและเครื่องประดับไม่รวมทองคำ (29%) คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (29%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (28%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (26%) กลุ่มผลไม้ฯ อาทิ มังคุดสด (871%) ทุเรียนสด (255%) และมะม่วงสด (71%) เป็นต้น ยางพารา (23%) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (48%) น้ำตาลทราย (124%) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง แห้ง กระป๋องและ      แปรรูป (25%) และอาหารสัตว์เลี้ยง (35%) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจำแนกเป็นรายตลาดคู่ค้าหลักของไทย พบว่า       การส่งออกไปยังตลาดคู่ค้าสำคัญโดยส่วนใหญ่ขยายตัวต่อเนื่อง อาทิ ตลาดสหรัฐ (37%) จีน(14%) กลุ่มทวีปออสเตรเลีย (54%)และกลุ่มอาเซียน 9(24%) ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกในภาพรวมของปี 64 ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 17.1 ต่อปี โดยนับเป็นอัตราการเติบโตสูงที่สุดในรอบ 11 ปีมูลค่าการนำเข้าในเดือน ธ.ค. 64 มีมูลค่า 25,285 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวที่ร้อยละ 33.4 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อนจากการนำเข้าที่ยังคงขยายตัวดีในทุกกลุ่มสำคัญ 80.0 import (%yoy)export (%yoy)ได้แก่ กลุ่มสินค้าเชื้อเพลิง (118%) กลุ่มสินค้าทุน

60.0 (4.5%) กลุ่มสินค้าวัตถุดิบฯ (39%) กลุ่มสินค้า

40.0 33.4 อุปโภคบริโภค (13%) กลุ่มยานพาหนะและอุปกรณ์ฯ (1.6%) ทั้งนี้ มูลค่าการนำเข้าใน20.0 24.2 ภาพรวมของปี 64 ขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 29.8 0.0 ต่อปี สำหรับดุลการค้า ในเดือน ธ.ค. 64 ขาดดุล

-20.0 มูลค่า -354.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้

-40.0 ดุลการค้าสะสมของไทยในปี 64 เกินดุลมูลค่า

          888889999990000111-3,573.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ-naa1J-pvo-n-a-pv-n-a2-pv-n-aaJpoaJ2 เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ธ.ค. 64ขยายตัวที่ร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการหดตัวร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลัง         ขจัดผลทางฤดูกาลดัชนีราคาสินค้าเกษตรกรรมในเดือน ธ.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลัง                 ขจัดผลทางฤดูกาล หากพิจารณารายหมวดผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ธ.ค. 64พบว่า ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมขยายตัวในหมวดพืชผลสำคัญที่ร้อยละ 7.0ขณะที่ผลผลิตในหมวดปศุสัตว์และหมวดประมงหดตัวที่ร้อยละ -17.4 และ -2.2ตามลำดับ โดยสินค้าเกษตรสำคัญที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ อ้อย และปาล์มน้ำมัน ขณะที่สินค้าสำคัญที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวโพด มันสำปะหลัง กลุ่มไม้ผล สุกร และไก่หากพิจารณารายหมวดราคาสินค้าเกษตรในเดือน        ธ.ค. 64 พบว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรหดตัวในหมวดพืชผลสำคัญที่ร้อยละ -5.9 ขณะที่ผลผลิตในหมวด     ปศุสัตว์และหมวดประมงขยายตัวที่ร้อยละ 9.2 และ 6.3 ตามลำดับ โดยสินค้าเกษตรสำคัญที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน สุกร ไก่ และไข่ไก่ ขณะที่สินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือก ยางพารา และกลุ่มไม้ผลรายได้เกษตรที่แท้จริง(หักผลของเงินเฟ้อชุดชนบท) ในเดือน ธ.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ    -4.2 จากกลุ่มไม้ผล ข้าวเปลือก หมวด      ปศุสัตว์ และยางพารา ที่ลดลงเป็นสำคัญเครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
          ยอดสร้างบ้านใหม่ เดือน ธ.ค. 64ขยายตัวร้อยละ 1.4จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.1จากยอดสร้างบ้านแบบทาวน์โฮมส์และบ้านเดี่ยวที่หดตัวจากเดือนก่อนหน้ายอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่ เดือน ธ.ค. 64ขยายตัวร้อยละ 9.1จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.9โดยที่ยอดใบอนุญาตก่อสร้างบ้านใหม่แบบทาวน์โฮมส์และคอนโดมิเนียมขยายตัวเร่งขึ้นยอดขายบ้านมือสอง เดือน ธ.ค. 64หดตัวร้อยละ -4.3จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฐฤดูกาลแล้ว)สวนทางกับเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ1.9 จากเดือนก่อนหน้าสราคากลางบ้านมือสอง เดือน ธ.ค. 64ขยายตัวร้อยละ 1.0จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.5จากเดือนก่อนหน้าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (9-15ม.ค. 65) อยู่ที่ระดับ2.86แสนรายปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับ 2.31แสนราย และเป็นระดับที่สูงที่สุดทับตั้งแต่ช่วงกลางเดือน ต.ค. 64จากการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัสโควิด-19สายพันธุ์        โอมิครอน ที่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และทำให้มีการออกจากงานเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์
          GDPไตรมาสที่ 4 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือเป็นการคิดขยายตัวที่ร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) เป็น       การขยายตัวที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 63 เป็นผลจากการแพร่ระบาดของไวรัส           โควิด-19 รวมถึงปัจจัยเสี่ยงในภาคอสังหาริมทรัพย์ วิกฤตพลังงาน และปัญหาห่วงโซ่อุปทาน ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนปี 64ขยายตัวที่ร้อยละ 8.1จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากปี 63ที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็น        การขยายตัวที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 64หลังวิกฤตพลังงานคลี่คลายคง โดยมีการผลิตวัตถุดิบสำหรับผลิตเคมีและผลิตภัณฑ์ทางเคมี และรถยนต์เพิ่มมากขึ้น เป็นสำคัญยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 63 ทั้งนี้ ยอดค้าปลีกทั้งปี 64ขยายตัวที่ร้อยละ 12.5จากช่วงเดียวกันของปีก่อนอัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 5.1 ของกำลังแรงงานรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.0 ของกำลังแรงงานรวม อย่างไรก็ดี ตัวเลยยังต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ที่ร้อยละ 5.5 ของกำลังแรงงานรวม
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 17.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 20.5จากช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่าการนำเข้า เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 41.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 43.8จากช่วงเดียวกันปีก่อน ญดุลการค้า เดือน ธ.ค. 64 ขาดดุลที่ -582.4 พันล้านเยน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลที่ -955.6 พันล้านเยนผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -4.1จากช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 5.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือน พ.ย. 64ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.9เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยได้รับแรงโยหนุนจากราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นสำคัญ

          อัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 3.9 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ของกำลังแรงงานรวม และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 63 โดยมีระดับการว่างงานลดลงอย่างเด่นชัดที่สุดในภาคการก่อสร้าง ภาคการค้าปลีก ที่พักและฮบริการด้านอาหาร และภาคการศึกษาอัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 5 เดือนอัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือน         พ.ย. 64ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.6ของกำลังแรงงานรวม และเป็นอัตราการว่างงานที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 51 มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 28.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 31.3จากช่วงเดียวกันปีก่อนมูลค่าการนำเข้า เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 35.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 31.7จากช่วงเดียวกันปีก่อนดุลการค้า เดือน ธ.ค. 64 เกินดุลที่ 4.6 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุล 6.2พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.3จากช่วงเดียวกันปีก่อนธนาคารกลางมาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.75ต่อปี เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 35.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 49.7จากช่วงเดียวกันปีก่อน มูลค่าการนำเข้า เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 47.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากซเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 52.6จากช่วงเดียวกันปีก่อน ดุลการค้า เดือน ธ.ค. 64 เกินดุลที่ 1.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่โเกินดุล 3.5พันล้านดอลลาร์สหรัฐอธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปีเพื่อสนับสนุนการฟืนตัวทางเศรษฐกิจจากวิกฤตสุขภาพ และรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนท่ามกลางแนวโน้มเงินเฟ้อที่ต่ำ

อัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือน ต.ค. 64ที่อยู่ที่ร้อยละ 4.2ของกำลังแรงงานรวม และเป็นอัตราการว่างงานที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 63 อัตราการเงินเฟ้อ เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ย. 64 ที่อยู่ที่ร้อยละ 5.1เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยได้รับแรงหนุนจากราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้น ภาวะอุปทานชะงักงัน และปัจจัยฐานต่ำ

เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนดัชนี SETปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่น Nikkei225(ญี่ปุ่น) JCI(อินโดนีเซีย) และ STOXX50E(สหภาพยุโรป) เป็นต้น เมื่อวันที่ 20ม.ค. 65ดัชนีปิดที่ระดับ 1,656.96 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 17-20ม.ค. 65อยู่ที่ 93,349.74 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ระหว่างวันที่17-20ม.ค.65 นักลงทุนต่างชาติขายหลักทรัพย์สุทธิ -5,737.03ล้านบาทอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1ถึง12 bpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 6 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ2.00 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 17-20 ม.ค. 65กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 19,370.25 ล้านบาทและหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 20 ม.ค. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 63,753.76ล้านบาทเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 20ม.ค. 65เงินบาทปิดที่ 32.94บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.90จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน และหยวน ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินสกุลยูโร วอน ริงกิตและดอลลาร์สิงคโปร์ ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่ามากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.12จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ