เศรษฐกิจไทย
ExecutiveSummary
เศรษฐกิจไทยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ธ.ค. 64ขยายตัวที่ร้อยละ 6.8ต่อปีปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ธ.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -22.7ต่อปี หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 59.6 ของ GDP ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ม.ค. 65ขยายตัวที่ร้อยละ 7.2เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค. 65ขยายตัวที่ร้อยละ 3.23ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.52ต่อปีดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ม.ค. 65ขยายตัวที่ร้อยละ 6.1เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ภาคการเงินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ธ.ค. 64ขาดดุลดุลที่ -1,378.0ล้านดอลลาร์สหรัฐสินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 4.3จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ธ.ค. 64ขยายตัวที่ร้อยละ 4.5จากช่วงเดียวกันปีก่อน
เศรษฐกิจต่างประเทศGDP ยูโรโซน ไตรมาสที่ 4ปี 64(เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 4.6เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI)เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.8 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลของฤดูกาล
การขยายตัวของดัชนี MPIในเดือน ธ.ค. 64 เป็นผลมาจากการขยายตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ที่ขยายตัวร้อยละ 9.2 7.5 31.5 14.2 และ 16.1 ต่อปี ตามลำดับ* ขณะที่อุตสาหกรรมที่หดตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาสูบ อุตสาหกรรมจักรยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ในครัวเรือน และอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ที่หดตัวร้อยละ -11.8 -42.0 -11.3 -8.8 และ -9.6 ต่อปี ตามลำดับ* (*เรียงตามสัดส่วน)ปริมาณการจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศเดือน ธ.ค. 64 หดตัวที่ ร้อยละ -22.7 ต่อปี และหดตัวร้อยละ -5.9เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังปรับผลทางฤดูกาลปริมาณการจำหน่ายเหล็กในประเทศหดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อน โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการหดตัวของปริมาณจำหน่ายเหล็กที่ใช้ในภาคการก่อสร้าง โดยเฉพาะเหล็กเส้นข้ออ้อย และเหล็กลวด ที่หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนอยู่ที่ร้อยละ -21.7 และ -40.7 ต่อปี ตามลำดับ จากในเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -11.0 และ -22.4 ตามการก่อสร้างโดยเฉพาะการก่อสร้างภาคเอกชนที่ยังคงฟืนตัวได้ช้าจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ Omicron ในประเทศที่ยังไม่คลี่คลาย และปัญหาต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การจำหน่ายเหล็กที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมยังคงเติบโตได้ตามภาคการส่งออก เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 64 มีจำนวนทั้งสิ้น9,644,257 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 59.57ของ GDPและเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างลดลงสุทธิ 23,951ล้านบาท ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDPยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 70 ของ GDPและหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุคงเหลือคิดเป็นร้อยละ 85.34ของยอดหนี้สาธารณะและเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 98.1ของยอดหนี้สาธารณะปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ม.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวที่ร้อยละ -9.9
ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 นับตั้งแต่เดือน พ.ย. 64 โดยเป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ภายในประเทศ ประกอบกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กำลังซื้อฟืนตัวขึ้นจากช่วงก่อนหน้า เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยอัตราเงินเฟ้อในเดือน ม.ค. 65ขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 3.23ต่อปี
สาเหตุสำคัญจากฐานต่ำของปีที่ผ่านมา การสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน การปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ประกอบกับราคาสินค้ากลุ่มอาหารปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะเนื้อสุกร น้ำมันพืช อาหาร-บริโภคในบ้านและนอกบ้าน จากต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ดี ราคาสินค้าสำคัญบางกลุ่มปรับตัวลดลง อาทิ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และผักสด เนื่องจากปริมาณผลผลิตกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และสภาพอากาศที่เอื้ออ่านวยต่อการเพาะปลูก สำหรับสินค้าและบริการอื่นๆ ราคายังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ และเมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้วเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.52ต่อปีดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ม.ค. 65 ขยายตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 16 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของราคาต้นทุนวัตถุดิบเป็นสำคัญ ส่งผลให้ราคาสินค้าวัสดุก่อสร้างทุกชนิดปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาในหมวดสินค้าสำคัญอย่างหมวดเหล็ก ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ซีเมนต์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา (ทั้ง 4 หมวด คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 64.6 ของดัชนีรวม)ที่ขยายตัวร้อยละ 10.8 5.6 4.2 และ 5.8 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่ในระยะถัดไป ราคาวัสดุก่อสร้างคาดว่าจะยังคงเพิ่มขึ้นแต่ในอัตราที่ชะลอลง จากปัจจัยด้านต้นทุนวัตถุดิบที่ยังทรงตัวในระดับสูงจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายประเทศทั่วโลก ประกอบกับปัจจัยในประเทศอย่างการขาดแคลนแรงงาน และภาระค่าใช้จ่ายประชาชนที่เพิ่มขึ้นจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ประชาชนชะลอการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างลง เครื่องชี้ภาคการเงินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ธ.ค. 64 ขาดดุลดุลที่ -1,378.0ล้านดอลลาร์สหรัฐหลังเกินดุลในเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 345.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลที่ -4,212.6ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP)เกินดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2,834.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 64 ขาดดุลรวม -10,901.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐสินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ธ.ค. 64มียอดคงค้าง 19.9 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
หรือขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.3จากเดือนก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) เมื่อแยกประเภทการขอสินเชื่อพบว่า สินเชื่อเพื่อธุรกิจและสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 6.0 และ 3.4จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับเงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ธ.ค. 64มียอดคงค้าง 23.5 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 4.5จากช่วงเดียวกันปีก่อน
หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ เงินฝากสถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวเร่งขึ้น ร้อยละ 5.1จากช่วงเดียวกันปีก่อน เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 57.6 จุดลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 58.8 จุด และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 63 โดยภาคการผลิตสหรัฐฯ ยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาห่วงโซ่อุปทานติดขัด การขาดแคลนวัตถุดิบขั้นกลางใน การผลิต ปัญหาด้านการขนส่ง และการขาดแคลนแรงงาน จากการแพร่ระบาดของโอมิครอนเป็นสำคัญดัชนีฯ PMIนอกภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 59.9 จุดลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 62.3จุด และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 64 ดัชนีราคากลางบ้าน เดือน ธ.ค. 64ขยายตัวร้อยละ 1.1จากเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)คงที่จากเดือนก่อนหน้า และหากเทียบเป็นรายปีพบว่าดัชนีขยายตัวเร่งขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 17.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (23-29 ม.ค. 65) อยู่ที่ระดับ 2.38 แสนรายปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับ 2.61แสนราย เป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 จากความต้องการแรงงานยังคงแข็งแกร่ง และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโอมิครอนต่อตลาดแรงงานที่เริ่มปรับตัวลดลงยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 55.4จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 54.6จุด และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบหลายปี อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นยังคงเผชิญแรงกดดันจากการขาดแคลนชิปในการผลิตดัชนีฯ PMIภาคบริการ เดือน ม.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 47.6 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 52.1 จุด และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 64จากการดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดมากขึ้น หลังมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.8ของกำลังแรงงานรวมยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวทีร้อยละ 4.3จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศGDPไตรมาสที่ 4 ปี 64 (เบื้องต้น) ขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.9 และขยายตัวน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์เล็กน้อยว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.7 อัตราการว่างงาน เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 7.0 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 7.1ของกำลังแรงงานรวม เนื่องจากอุปสงค์แรงงานปรับตัวดีขึ้นท่ามกลางโยเศรษฐกิจที่ยังคงฟืนตัวอัตราเงินเฟ้อ (เบื้องต้น)เดือน ม.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.0ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นยังคงได้รับแรงหนุนจากราคาอาหาร และพลังงานที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญยดัชนี ฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 50.5 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 52.8จุด มธนาคารกลางออสเตรเลียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.1 จากการประชุมในเดือน ก.พ. 65 โดยทางธนาคารกลางออสเตรเลียยังได้กล่าวว่าจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจนกว่าตัวเลขเงินเฟ้อจะปรับตัวขึ้นสู่กรอบเป้าหมายที่ช่วงร้อยละ 2-3 มูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 20.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อนชะลอจากเดือนก่อนหน้า ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 31.8จากช่วงเดียวกันปีก่อนมูลค่าการนำเข้า เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 23.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อนเร่งขึ้นจากอเดือนก่อนหน้า ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 13.2จากช่วงเดียวกันปีก่อนดุลการค้า เดือน ธ.ค. 64 เกินดุลที่ระดับ 9.0 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ระดับ 6.7 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ไตรมาสที่ 4 ปี 64 อยู่ที่ระดับ 8.0 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 16.0จุดสดัชนี ฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 53.7 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซเล็กน้อยที่อยู่ที่ระดับ 53.5จุดโอัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนอหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.9จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลมาจากราคาอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบเป็นสำคัญ เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 54.0 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 55.5จุด และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 64 ดัชนีฯ PMIภาคบริการ เดือน ม.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 51.5 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 55.5 จุด และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 64 อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.6จากช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.7จากช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 52.8 จุดเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 51.9 จุด เป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 64 มูลค่าการส่งออก เดือน ม.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 15.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 18.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 64จากอุปสงค์จากต่างประเทศที่ชะลอลงจากการแพร่ระบาดของไวรัสโอมิครอน ขณะที่ปัญหาห่วงโซ่อุปทานติดขัดยังคงมีอยู่มูลค่าการนำเข้า เดือน ม.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 35.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 37.1จากช่วงเดียวกันของปีก่อนดุลการค้า เดือน ม.ค. 65 ขาดดุลที่ -4.89 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลที่ -0.45พันล้านดอลลาร์สหรัฐดัชนีฯ PMIภาคอุตสาหกรรม เดือน ม.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 57.3 จุด ลดลงจากเดือน ธ.ค. 64 ที่อยู่ที่ระดับ 57.9จุด อย่างไรก็ดี ระดับดัชนียังอยู่เหนือระดับ 50.0จุด แสดงถึงภาคอุตสาหกรรมที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวดัชนีฯ PMIภาคบริการ เดือน ม.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 54.1 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค. 64ที่อยู่ที่ระดับ 53.6จุด เนื่องจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19สายพันธุ์โอมิครอนเริ่มคลี่คลาย และอุปสงค์ได้เริ่มฟืนตัวขึ้นธนาคารกลางอังกฤษมีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 0.50 ต่อปี จากร้อยละ 0.25 ต่อปี จากการประชุมในเดือน ก.พ. 65โดยมีจุดประสงค์เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น
เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนดัชนี SETปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่นNikkei225 (ญี่ปุ่น)STI (สิงคโปร์) และ DJIA (สหรัฐอเมริกา)เป็นต้นเมื่อวันที่3 ก.พ.65ดัชนีปิดที่ระดับ1,669.050จุด ด้วยมูลค่า ซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 31ม.ค. -3 ก.พ.65อยู่ที่ 64,285.50 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และ นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 31 ม.ค. -3 ก.พ. 65 นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 716.30ล้านบาทอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวลดลงในช่วง -1 ถึง -11bpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10.6ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ1.79เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 31 ม.ค. -3 ก.พ. 65กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -7,361.50 ล้านบาทและหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 3 ก.พ. 65กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 68,490.71ล้านบาทเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 3ก.พ. 65เงินบาทปิดที่ 33.16 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.09 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิตและดอลลาร์สิงคโปร์ ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินสกุลวอน และหยวนปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่าน้อยกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.03 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง