รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 11 ก.พ. 65

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 14, 2022 13:56 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย
ExecutiveSummary
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI)เดือน ม.ค. 65 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 88.0 จากระดับ 86.8 ในเดือนก่อน

ดัชนีฯ เดือน ม.ค. 65 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และกลับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงช่วงก่อนโควิด โดยองค์ประกอบของดัชนีฯ เกือบทุกรายการเพิ่มขึ้น มีเพียงต้นทุนประกอบการที่ความเชื่อมั่นยังคงลดลงต่อเนื่อง จากภาวะต้นทุนการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งราคาวัตถุดิบ ราคาพลังงาน และค่าขนส่ง อย่างไรก็ดี ปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ที่ฟื้นตัวทั้งในประเทศและต่างประเทศ การผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 รวมถึงผลกระทบจาก Omicronต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจรวมถึงภาคการผลิตที่ไม่มากนัก ทำให้ดัชนีฯ มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า กลับมาเพิ่มขึ้นจากที่ลดลงในเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 96.4 เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ รวมถึงผู้ประกอบการคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถฟื้นตัวได้มากขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ นโยบายการเปิดประเทศ และการขยายตัวของภาคการส่งออก

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ม.ค. 65 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.8 จากระดับ 46.2           ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือนโดยเป็นผลมาจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ประกอบกับ        ศบค. มีคำสั่งยกเลิกTest&Goทำให้ผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ การที่ระดับราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นและปัญหาราคาสินค้าแพง โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาหมูและสินค้าอุปโภคบริโภคหลายรายการ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบับและในอนาคตปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ       5เดือนเครื่องชี้ภาคการเงินระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ธ.ค. 64 คิดเป็น 1.89เท่าของสินทรัพย์     สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามกฎหมาย

โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน ธ.ค. 64อยู่ที่ 5.4ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์ สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (LiquidityCoverageRatio:LCR)ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศมูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 20.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 24.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 3เดือน ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกทั้งปี 64กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 23.1จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังจากหดตัวในปีก่อนหน้ามูลค่าการนำเข้า เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 19.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 22.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และส่งผลให้มูลค่า        การส่งออกทั้งปี 64ขยายตัวที่ร้อยละ 21.3จากช่วงเดียวกันของปีก่อนดุลการค้า เดือน ธ.ค. 64 ขาดดุลที่ -99.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลที่ -103.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐอัตราเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 7.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 7.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 40 ปี นับตั้งแต่เดือน มี.ค. 25 โดยเป็นผลจากราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น การขาดแคลนแรงงาน และปัญหาห่วงโซ่อุปทานติดขัด ขณะที่อุปสงค์สินค้าและบริการยังคงแข็งแกร่งจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (30ม.ค. -5 ก.พ. 65) อยู่ที่ระดับ 2.33 แสนรายปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับ 2.39แสนราย เป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3จากความต้องการแรงงานยังคงแข็งแกร่ง และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโอมิครอนต่อตลาดแรงงานที่เริ่มปรับตัวลดลง ดัชนีฯ PMIภาคบริการ (Caixin)เดือน ม.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 51.4 จุดลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 53.1จุด และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5เดือน จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการใช้มาตรการที่เข้มงวดในการควบคุมการระบาดดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.พ. 65 อยู่ที่ระดับ 100.8 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 102.2 จุด ฝั่งผู้บริโภคมีความกังวลเรื่องค่าครองชีพที่สูงขึ้นและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างแรงกดดันต่อครัวเรือนให้มีภาระด้านหนี้สินมากขึ้นธนาคารกลางอินเดียมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ที่ร้อยละ 4.0 ต่อปีและคงอัตราดอกเบี้ย reverserepoซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางใช้อ้างอิงในการกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ ที่ร้อยละ 3.35 ต่อปี จากการประชุมในเดือน ก.พ. 65โดยมีจุดประสงค์เพื่อรองรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และบรรเทาผลกระทบด้านลบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

GDPไตรมาสที่ 4 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -4.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ส่งผลให้ทั้งปี 64เศรษฐกิจมาเลเซียขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.1ต่อปียผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 9.4จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการผลผลิตไฟฟ้ามเป็นสำคัญยอดค้าปลีก เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.7จากช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราว่างงาน เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.3ของกำลังแรงงานรวมGDPไตรมาสที่ 4 ปี 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ ซ1.1เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) ส่งผลให้ทั้งปี 64เศรษฐกิจอินโดนีเซียขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.7ต่อปีโธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 3.5ต่อปี อดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ม.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 119.6 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 118.3จุดอัตราว่างงาน เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 6.6 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากเดือนสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 6.5ของกำลังแรงงานรวมผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ธ.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 18.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงฟจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 27.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลมาจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญGDPไตรมาสที่ 4 ปี 64 (เบื้องต้น)ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ดี ขยายตัวมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 6.4เมื่อเทียบกับช่วงจเดียวกันปีก่อนมูลค่าการส่งออก เดือน ธ.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือน พ.ย. 64ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 5.0จากช่วงเดียวกันปีก่อนามูลค่าการนำเข้า เดือน ธ.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -2.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่มูลค่าสการนำเข้าเดือน พ.ย. 64ขยายตัวที่ร้อยละ 2.02จากช่วงเดียวกันปีก่อนดุลการค้า เดือน ธ.ค. 64 ขาดดุลที่ระดับ -2.3 พันล้านปอนด์ ขาดดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลที่ระดับ -2.6 พันล้านดอลลาร์ปอนด์

เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนดัชนี SETปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่นNikkei225 (ญี่ปุ่น)HSI (ฮ่องกง) และ STI (สิงคโปร์)เป็นต้น เมื่อวันที่10 ก.พ.65ดัชนีปิดที่ระดับ 1,703.00จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 7-10 ก.พ. 65อยู่ที่ 102,212.29 ล้านบาทต่อวัน โดย    นักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 7-10 ก.พ. 65นักลงทุนต่างชาติซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 36,223.39ล้านบาทอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง          1 ถึง 11 bpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 50.7ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ1.50เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 7-10 ก.พ. 65กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 46,106.32 ล้านบาทและหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่     10 ก.พ. 65กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 119,587.57ล้านบาทเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 10 ก.พ. 65เงินบาทปิดที่ 32.72 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.31 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลยูโร วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินสกุลเยน และริงกิตปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่ามากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 1.26 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ