แท็ก
พระราชพิธีพระราชทานเพลิง
พิธีพระราชทานเพลิงพระศพ
ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี
กระทรวงการคลัง
กรมธนารักษ์
รัฐมนตรี
ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง มอบนโยบายให้แก่ผู้บริหารระดับสูง กรมธนารักษ์ เนื่องในโอกาสที่เดินทางมาตรวจเยี่ยม และรับฟังสรุปผลการดำเนินงาน เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2551 ซึ่งสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1. นโยบายด้านเหรียญกษาปณ์
1) การผลิตเหรียญที่ระลึกพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อการจำหน่ายขอให้ผลิตให้เพียงพอและทันกำหนดเวลา โดยเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์โดยเร็ว พร้อมทั้งเพิ่มช่องทางการรับจองเหรียญให้ทั่วถึง
2) การใช้เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ชะลอเงินเฟ้อ และลดค่าใช้จ่ายการผลิตเงินเหรียญสู่ระบบ
- ขอให้เร่งรัดและดำเนินการเพื่อให้มีการนำเหรียญที่เก็บไว้ (hoarding) ออกมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเริ่มจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ คนในครอบครัว และคนที่รู้จัก
- ประสานกับธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ เพื่อขอความร่วมมือไม่คิดค่าใช้จ่ายในการนับเหรียญที่ประชาชนนำมาฝาก หรือแลกเป็นธนบัตร
- จัดส่งเจ้าหน้าที่ออกไปรับคืนเหรียญนอกสถานที่ โดยให้ตั้งเป้าหมายจำนวนที่รับคืนให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการดำเนินงาน
- ปลูกจิตสำนึกในการนำเหรียญออกมาใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ว่าเหรียญเป็นเงินตราที่มีค่าเท่ากับธนบัตร
2. นโยบายด้านที่ราชพัสดุและประเมินราคาทรัพย์สิน ได้แก่
1) การขอคืนที่ราชพัสดุจากส่วนราชการ/ หน่วยงาน เพื่อพัฒนาเชิงพาณิชย์ เช่น ให้กรมธนารักษ์ตั้งเป้าหมายจำนวนที่ดินที่จะขอคืนในแต่ละปี พร้อมกับจัดทำแผนการพัฒนาที่จะรองรับพื้นที่ที่ได้รับคืนให้ชัดเจน
2) การพัฒนาที่ราชพัสดุ เพื่อรองรับโครงการต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ขอให้จัดทำรายละเอียดข้อมูล พื้นที่ ว่าจะดำเนินการที่ใดบ้าง จะพัฒนาเป็นโครงการประเภทใดบ้าง เช่น การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งรวมถึงการจัดสร้างเป็นศูนย์ประชุมนานาชาติ การจัดสร้างสวนสาธารณะ ลานกีฬา ให้ดำเนินการครอบคลุมทุกตำบล โดยให้ประสานกับ อบต. เพื่อส่งเสริมให้จัดสร้างลานกีฬาระดับหมู่บ้านตามขนาดของพื้นที่ (S,M,L) เพื่อกำหนดรูปแบบของลานกีฬาให้เหมาะสมและสามารถตั้งงบประมาณได้เพียงพอ
3) ให้สำรวจพื้นที่ที่ราชพัสดุในจังหวัดต่างๆ เพื่อใช้จัดสร้างสถานที่ตั้งของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังในบริเวณพื้นที่เดียวกัน
4) การนำที่ราชพัสดุเพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริ ขอให้กรมธนารักษ์ดำเนินการต่อไป โดยนำเสนอพื้นที่ เพื่อการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการมากขึ้น
5) การพัฒนาพื้นที่บริเวณโรงงานยาสูบ ท่านรัฐมนตรีว่าการฯ จะพยายามผลักดันให้มีการโยกย้ายโรงงานยาสูบให้เป็นไปตามแผนดำเนินการที่เคยกำหนดไว้
6) ขอให้นำเสนอรายละเอียด โครงการพัฒนาที่ราชพัสดุบริเวณสถานีขนส่งหมอชิต (เดิม) เพื่อกำหนดแนวทางบริหารจัดการต่อไป
7) การพัฒนาที่ราชพัสดุในเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างรายได้และมูลค่าเพิ่ม หากเป็นไปได้ขอให้กรมฯ ตั้งเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท
3. นโยบายด้านทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน
การบริหารจัดการทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน - ควรมีการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์แสดงทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน โดยให้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ เพื่อให้มีความสง่างาม อลังการ เท่าเทียมกับพิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศ
“เท่าที่ได้รับข้อมูล ปัจจุบันมีที่ราชพัสดุในความดูแลของกรมธนารักษ์ที่อยู่ในความดูแลของส่วนราชการต่างๆ ถึงร้อยละ 90 ซึ่งได้ขอให้เจ้าที่เข้าไปศึกษาข้อมูล หากพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร ก็ควรขอคืนจากส่วนราชการนั้นๆ และนำมาจัดทำโครงการที่อยู่อาศัย และที่ทำกินแก่ผู้ที่มีรายได้น้อย หรือใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมต่อไป” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในตอนท้าย
กลุ่มประชาสัมพันธ์
สำนักบริหารกลาง กรมธนารักษ์
โทรศัพท์ 0-2278-5641
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 17/2551 13 มีนาคม 51--
1. นโยบายด้านเหรียญกษาปณ์
1) การผลิตเหรียญที่ระลึกพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อการจำหน่ายขอให้ผลิตให้เพียงพอและทันกำหนดเวลา โดยเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์โดยเร็ว พร้อมทั้งเพิ่มช่องทางการรับจองเหรียญให้ทั่วถึง
2) การใช้เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ชะลอเงินเฟ้อ และลดค่าใช้จ่ายการผลิตเงินเหรียญสู่ระบบ
- ขอให้เร่งรัดและดำเนินการเพื่อให้มีการนำเหรียญที่เก็บไว้ (hoarding) ออกมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเริ่มจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ คนในครอบครัว และคนที่รู้จัก
- ประสานกับธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ เพื่อขอความร่วมมือไม่คิดค่าใช้จ่ายในการนับเหรียญที่ประชาชนนำมาฝาก หรือแลกเป็นธนบัตร
- จัดส่งเจ้าหน้าที่ออกไปรับคืนเหรียญนอกสถานที่ โดยให้ตั้งเป้าหมายจำนวนที่รับคืนให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการดำเนินงาน
- ปลูกจิตสำนึกในการนำเหรียญออกมาใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ว่าเหรียญเป็นเงินตราที่มีค่าเท่ากับธนบัตร
2. นโยบายด้านที่ราชพัสดุและประเมินราคาทรัพย์สิน ได้แก่
1) การขอคืนที่ราชพัสดุจากส่วนราชการ/ หน่วยงาน เพื่อพัฒนาเชิงพาณิชย์ เช่น ให้กรมธนารักษ์ตั้งเป้าหมายจำนวนที่ดินที่จะขอคืนในแต่ละปี พร้อมกับจัดทำแผนการพัฒนาที่จะรองรับพื้นที่ที่ได้รับคืนให้ชัดเจน
2) การพัฒนาที่ราชพัสดุ เพื่อรองรับโครงการต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ขอให้จัดทำรายละเอียดข้อมูล พื้นที่ ว่าจะดำเนินการที่ใดบ้าง จะพัฒนาเป็นโครงการประเภทใดบ้าง เช่น การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งรวมถึงการจัดสร้างเป็นศูนย์ประชุมนานาชาติ การจัดสร้างสวนสาธารณะ ลานกีฬา ให้ดำเนินการครอบคลุมทุกตำบล โดยให้ประสานกับ อบต. เพื่อส่งเสริมให้จัดสร้างลานกีฬาระดับหมู่บ้านตามขนาดของพื้นที่ (S,M,L) เพื่อกำหนดรูปแบบของลานกีฬาให้เหมาะสมและสามารถตั้งงบประมาณได้เพียงพอ
3) ให้สำรวจพื้นที่ที่ราชพัสดุในจังหวัดต่างๆ เพื่อใช้จัดสร้างสถานที่ตั้งของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังในบริเวณพื้นที่เดียวกัน
4) การนำที่ราชพัสดุเพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริ ขอให้กรมธนารักษ์ดำเนินการต่อไป โดยนำเสนอพื้นที่ เพื่อการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการมากขึ้น
5) การพัฒนาพื้นที่บริเวณโรงงานยาสูบ ท่านรัฐมนตรีว่าการฯ จะพยายามผลักดันให้มีการโยกย้ายโรงงานยาสูบให้เป็นไปตามแผนดำเนินการที่เคยกำหนดไว้
6) ขอให้นำเสนอรายละเอียด โครงการพัฒนาที่ราชพัสดุบริเวณสถานีขนส่งหมอชิต (เดิม) เพื่อกำหนดแนวทางบริหารจัดการต่อไป
7) การพัฒนาที่ราชพัสดุในเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างรายได้และมูลค่าเพิ่ม หากเป็นไปได้ขอให้กรมฯ ตั้งเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท
3. นโยบายด้านทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน
การบริหารจัดการทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน - ควรมีการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์แสดงทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน โดยให้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ เพื่อให้มีความสง่างาม อลังการ เท่าเทียมกับพิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศ
“เท่าที่ได้รับข้อมูล ปัจจุบันมีที่ราชพัสดุในความดูแลของกรมธนารักษ์ที่อยู่ในความดูแลของส่วนราชการต่างๆ ถึงร้อยละ 90 ซึ่งได้ขอให้เจ้าที่เข้าไปศึกษาข้อมูล หากพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร ก็ควรขอคืนจากส่วนราชการนั้นๆ และนำมาจัดทำโครงการที่อยู่อาศัย และที่ทำกินแก่ผู้ที่มีรายได้น้อย หรือใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อระบบเศรษฐกิจในภาพรวมต่อไป” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในตอนท้าย
กลุ่มประชาสัมพันธ์
สำนักบริหารกลาง กรมธนารักษ์
โทรศัพท์ 0-2278-5641
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 17/2551 13 มีนาคม 51--