เศรษฐกิจไทย
Executive Summary
1 1
? ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน เม.ย. 65 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 40.7
จากระดับ 42.0 ในเดือนก่อน
เศรษฐกิจไทย
เศรษฐกิจต่างประเทศ
? GDP อินโดนีเซีย ไตรมาสที่ 1 ปี 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
? GDP ฟิลิปปินส์ ไตรมาสที่ 1 ปี 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ภาคการเงิน
? ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน มี.ค. 65 คิดเป็น 1.92 เท่า
ของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดารงตามกฎหมาย
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
5
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน เม.ย. 65 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 40.7 จากระดับ 42.0
ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน และอยู่ในระดับต่าสุดในรอบ 8 เดือน
โดยเป็นผลมาจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอมิครอน และปัญหา
ค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน
ที่อาจส่งผลให้ราคาน้ามันโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า ซึ่งอาจเป็นปัจจัยกดดัน
ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้ช้าและมีแนวโน้มชะลอตัวลง และอาจส่งผลต่อการส่งออกและเศรษฐกิจไทยใน
อนาคต นอกจากนี้ การที่ระดับราคาน้ามันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและปัญหาราคาสินค้าแพง ส่งผลให้
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและในอนาคตปรับตัวลดลงต่อเนื่อง
เครื่องชี้ภาคการเงิน
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน มี.ค. 65 คิดเป็น 1.92 เท่าของสินทรัพย์
สภาพคล่องที่ต้องดารงตามกฎหมาย
โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน มี.ค. 65 อยู่ที่ 5.6 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน
ก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดารงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดารงสินทรัพย์สภาพ
คล่องไม่ต่ากว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ากว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิใน
สภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
สหรัฐฯ
อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 65 อยู่ที่ร้อยละ 8.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือน
ก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 8.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกหลังปรับตัว
เพิ่มขึ้นต่อเนื่องถึง 7 เดือน
อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 65 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
หน้าที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน
ธ.ค. 64 ท่ามกลางการหยุดชะงักของโลจิสติกส์เนื่องจากมาตรการควบคุมโควิด-19 ที่เข้มงวด
มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลง
จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 14.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
มูลค่านาเข้า เดือน เม.ย. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.01 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังจากเดือน
ก่อนหน้าหดตัวที่ร้อยละ -0.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดุลการค้า เดือน เม.ย. 65 เกินดุลที่ระดับ 51.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
หน้าที่ที่เกินดุลที่ระดับ 47.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
จีน
ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ Tradingeconomics รวมรวบโดย สศค.
ออสเตรเลีย
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 90.4 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่
อยู่ที่ระดับ 95.8 จุด สาเหตุที่ลดลงเนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับราคาสิ่งของที่
ปรับตัวเพิ่มขึ้น และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากธนาคารกลางออสเตรเลีย
อินโดนีเซีย
GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวเท่ากับไตรมาส
ก่อนหน้า หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -1.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทาง
ฤดูกาลแล้ว)
ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือน
ก่อนหน้าที่ร้อยละ 12.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากยอดขายอาหารและเครื่องดื่มเป็น
สาคัญ
อัตราเงินเฟ้อ เดือน เม.ย. 65 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 จากช่วงเดียวกัน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่
ที่ร้อยละ 2.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากราคาอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบเป็นสาคัญ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน เม.ย. 65 อยู่ที่ระดับ 113.1 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่
ที่ระดับ 111.0 จุด
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
มาเลเซีย
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการผลผลิต
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นสาคัญ
ยอดค้าปลีก เดือน มี.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 10.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือน
ก่อนหน้าที่ร้อยละ 10.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี จากระดับต่าสุดเป็น
ประวัติการณ์ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ
อัตราว่างงาน เดือน มี.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ของกาลังแรงงานรวม คงที่จากเดือนก่อนหน้า
GDP ไตรมาสที่ 1 ปี 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อน
หน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 7.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 1.9 เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มี.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 358.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 82.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากการผลผลิต
จากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมกลั่นเป็นสาคัญ
ฟิลิปปินส์
ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ Tradingeconomics รวมรวบโดย สศค.
เกาหลีใต้
อัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 65 คงที่จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.7 ของกาลังแรงงานรวม
ไต้หวัน
มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 18.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลง
จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 21.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
มูลค่านาเข้า เดือน เม.ย. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 26.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจาก
เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 20.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดุลการค้า เดือน เม.ย. 65 เกินดุลที่ระดับ 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
หน้าที่เกินดุลที่ระดับ 4.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
Foreign
E xchange 11 May 22 1w %
chg 1m %
chg YTD %
chg Avg
2021 % chg
USD/THB
34.68
-
0.62 -
3.08 -
3.88 -
8.35
USD/JPY
129.97
0.11
-
3.77 -
12.90 -
18.31
EUR/USD
1.06
0.21
-
3.18 -
7.06 -
10.78
USD/MYR
4.38
-
0.56 -
3.71 -
5.09 -
5.74
USD/KRW
1,275.50
-
0.77 -
4.21 -
7.59 -
11.45
USD/SGD
1.39
-
0.35 -
1.69 -
2.81 -
3.34
USD/CNY
6.73
-
1.68 -
5.73 -
5.54 -
4.30
NEER
108.97
-
0.06 0.13
1.73
-
1.17
ค่าเงินสกุลต่างๆ เครื่องหมาย + คือแข็งค่าขึ้น และเครื่องหมาย -คืออ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้น (+) หรืออ่อนค่าลง (-) ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวโดยคิดเป็นอัตราร้อยละ
ดัชนี SETSETปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่น Nikkei 225 ญี่ปุ่น) HSI ฮ่องกง) และ CSI 300 เซี่ยงไฮ้) เป็นต้น เมื่อวันที่ 1111พ.ค. 655ดัชนีปิดที่ระดับ 1,613.34 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 99-1111พ.ค. 655อยู่ที่ 78,894.44ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนทั่วไปในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 9 11 พ.ค. 655นักลงทุนต่างชาติ ขายหลักทรัพย์สุทธิ 928.25 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 44ถึง 50 bpsbpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 1515ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 2.042.04เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 9 1111พ.ค. 655กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 3,597.44 ล้านบาทและหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 1111พ.ค. 6565กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 16,554.27ล้านบาท
เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 11 พ.ค. 655เงินบาทปิดที่ 34.4.68 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.0.62จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลริงกิตวอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินสกุลเยน และยูโรปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่ามากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEERNEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.0.06 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง