เศรษฐกิจไทย
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.10 ต่อปี
เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 2.28 ต่อปี
? ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ค. 65 ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อน
? ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน พ.ค. 65 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ
40.2 จากระดับ 40.7 ในเดือนก่อน
? หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน เม.ย. 65 อยู่ที่ร้อยละ 60.81 ของ GDP
เศรษฐกิจไทย
ภาคการเงิน
? ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน เม.ย. 65 คิดเป็น
1.89 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ด รงตามกฎหมาย
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.10 ต่อปี
อัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ค. 65 สูงขึ้นร้อยละ 7.1 (YoY) สูงกว่าที่ สศค. คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 6.00 (YoY)
มีสาเหตุหลักจากราคาพลังงานและอาหารเป็นส คัญ โดยสินค้ากลุ่มพลังงาน สูงขึ้นถึงร้อยละ 37.24 จากราคา
น้ มันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้นตามสถานการณ์พลังงานโลก และการยกเลิกการตรึงราคาก๊าซหุงต้มท ให้ราคา
ทยอยปรับเพิ่มขึ้นแบบขั้นบันได ถึงเดือน มิ.ย. 65 รวมทั้งการปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ในรอบเดือน
พ.ค.?ส.ค. 65 ส หรับสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ราคาปรับตัวสูงขึ้นในเกือบทุกกลุ่มสินค้า
โดยสินค้าส คัญที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ ผักสด และเครื่องประกอบ อาหาร ตามการสูงขึ้น
ของต้นทุนการผลิต ในขณะที่มีสินค้าส คัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวสาร เครื่องนุ่งห่ม และค่าการศึกษา ทั้งนี้
เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 2.28 ต่อปี
Inflation Rate
Indicators
(%yoy)
2021 2022
Q4 ทั้งปี Q1 Apr May YTD
อัตราเงินเฟ้อ
ทั่วไป 2.42 1.23 4.75 4.65 7.10 5.19
อัตราเงินเฟ้อ
พื้นฐาน 0.12 0.23 1.43 2.00 2.28 1.72
ที่มา : กระทรวงพาณิชย์
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ค. 65 ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ค. 65 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 20 แต่ในอัตราที่ชะลอลง ตามราคา
เหล็กในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ขณะที่ราคาวัตถุดิบและพลังงานยังคงอยู่ในระดับสูง เช่น น้ มัน ถ่านหิน และ
อลูมิเนียม โดยดัชนีฯ หมวดสินค้าส คัญ อาทิ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ผลิตภัณฑ์คอนกรีต
อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา และซีเมนต์ (ทั้ง 4 หมวดคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 65) ยังคงขยายตัวต่อเนื่องใน
เดือน พ.ค. 65 ที่ร้อยละ 10.1, 5.7, 3.5 และ 7.6 ต่อปี ตามล ดับ จากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 19.3, 6.7, 4.4
และ 6.9 ต่อป
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน พ.ค. 65 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 40.2 จากระดับ 40.7
ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และอยู่ในระดับต่ สุดในรอบ 9 เดือน
โดยเป็นผลมาจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของราคาน้ มันขายปลีกในประเทศ โดยเฉพาะราคา
น้ มันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นเดือนแรกหลังจากที่รัฐบาลยกเลิกการตรึงราคาน้ มันดีเซลที่ 30 บาทต่อลิตร
ตลอดจนปัญหาค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับสถานการณ์สงครามระหว่าง
รัสเซียและยูเครนที่อาจส่งผลให้ราคาน้ มันโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า
ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันของการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโลกให้ช้าลงหรือชะลอตัวลง และอาจส่งผล
กระทบในเชิงลบต่อการส่งออกและเศรษฐกิจไทยในอนาคต
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน เม.ย. 65 มีจ นวนทั้งสิ้น 10,046,605 ล้านบาท หรือคิดเป็น
ร้อยละ 60.81 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้น
สุทธิ 94,642 ล้านบาท
ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังอยู่ใน
ระดับต่ กว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 70 ของ GDP และหนี้สาธารณะ
ส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุคงเหลือคิดเป็นร้อยละ 85.28 ของยอดหนี้สาธารณะและเป็น
หนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 98.26 ของยอดหนี้สาธารณะ
ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน เม.ย. 65 คิดเป็น 1.89 เท่าของสินทรัพย์
สภาพคล่องที่ด รงตามกฎหมาย
โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน เม.ย. 65 อยู่ที่ 5.4 ล้านล้านบาท
ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การด รงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จาก
เกณฑ์เดิมที่ต้องด รงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ กว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ กว่าร้อยละ 100 (หรือ
1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR)
ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ สหรัฐฯ
ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ Tradingeconomics รวมรวบโดย สศค. ยูโรโซน
ธนาคารกลางยุโรปมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.0 ต่อปี จากการประชุม
ในเดือน มิ.ย. 65 โดยธนาคารกลางยุโรปกล่าวว่าจะยุติมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรโครงการ
Asset Purchase Programme (APP) ตั้งแต่ 1 ก.ค. 65 เป็นต้นไป และมีความตั้งใจจะขึ้น
อัตราดอกเบี้ยนโยบายส หรับการประชุมในเดือน ก.ค. 65
มูลค่าการส่งออก เดือน เม.ย. 65 ขยายตัวร้อยละ 21.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้น
จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 18.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
มูลค่าการน เข้า เดือน เม.ย. 65 ขยายตัวร้อยละ 20.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลง
จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 25.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดุลการค้า เดือน เม.ย. 65 ขาดดุลที่ -1.0 แสนล้านดอลลาร์ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่
ขาดดุลอยู่ที่ -1.2 แสนล้านดอลลาร์
จ นวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (29 พ.ค.?4 มิ.ย. 65) อยู่ที่ระดับ 2.29
แสนราย ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับ 2.00 แสนราย เป็นระดับที่สูงที่สุด
นับตั้งแต่กลางเดือน ม.ค. 65 ทางด้านจ นวนผู้ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานระยะเฉลี่ย
4 สัปดาห์ (4 week moving average) ซึ่งขจัดความผันผวนรายสัปดาห์แล้ว ปรับตัว
เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนมาอยู่ที่ 2.15 แสนราย
จีน
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 65 คงที่จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน ซึ่งต่ กว่าเป้าหมายที่ทางการจีนก หนดไว้ที่ร้อยละ 3.0 ในปี 65
ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ (Caixin) เดือน พ.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 41.4 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือน
ก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 37.2 จุด นับเป็นเดือนที่ 3 ของการหดตัวในภาคบริการ ท่ามกลาง
มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19
มูลค่าส่งออก เดือน พ.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 16.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจาก
เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากโรงงานกลับมา
ด เนินการผลิตอีกครั้ง และปัญหาด้านโลจิสติกส์เริ่มฟื้นตัวดีขึ้นหลังจากการผ่อนคลาย
มาตรการควบคุมโควิด-19
มูลค่าน เข้าเดือน พ.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจาก
เดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 0.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากอุปสงค์
ภายในประเทศฟื้นตัวหลังจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ในเมืองใหญ่
ดุลการค้า เดือน พ.ค. 65 เกินดุลที่ระดับ 78.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือน
ก่อนหน้าที่เกินดุลที่ระดับ 51.12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์
ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ Tradingeconomics รวมรวบโดย สศค.
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 65 ขยายตัวร้อยละ 5.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้น
จากเดือน เม.ย. 65 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.9 และเป็นการขยายตัวในระดับสูงสุดนับตั้งแต่
เดือน พ.ย. 61 จากราคาของอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และราคาบ้านที่เพิ่มขึ้น
เป็นส คัญ
การส่งออก เดือน เม.ย. 65 ขยายตัวร้อยละ 6.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สู่ระดับ
6.13 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว
ร้อยละ 5.9 นับเป็นการขยายตัวเป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกัน ท่ามกลางสถานการณ์
ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และประเด็นด้านห่วงโซ่อุปทาน
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน เม.ย. 65 ขยายตัวร้อยละ 9.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
หน้า ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 375.1 ท่ามกลางปัญหา
ความขัดแย้ง เนื่องจากสงครามในยูเครนที่ยังคงยึดเยื้อ
อินเดีย
ดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือน พ.ค. 65 อยู่ที่ 54.6 จุด ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า
แต่ยังคงเป็นการขยายตัวในภาคการผลิตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11
ดัชนี PMI ภาคบริการ เดือน พ.ค. 65 อยู่ที่ 58.6 จุด สูงที่สุดนับจาก เม.ย. 54 จากอุปสงค์
ที่เพิ่มจากนโยบายที่ผ่อนคลายต่อสถานการณ์โควิด-19
ดุลการค้า เดือน พ.ค. 65 ขาดดุล -23.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการน เข้า
เครื่องใช้ไฟฟ้าและทองค ที่เพิ่มขึ้น
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรรม เดือน มี.ค. 65 ขยายตัวร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันของ
ปีก่อนหน้า เร่งตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.0 และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์
เอาไว้ว่าจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
ยอดค้าปลีก เดือน เม.ย. 65 ขยายตัวร้อยละ 20.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เร่งตัว
ขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 10.8 โดยเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 5
ติดต่อกัน และนับเป็นการขยายตัวสูงสุดตั้งแต่เดือน เม.ย. 64 ซึ่งมีการออกมาตรการจ กัด
การแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างเข้มงวด
ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ
10 ปี เดือน เม.ย. 65 อยู่ที่ร้อยละ -0.1 และร้อยละ 0.0 ตามล ดับ โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษา
ญี่ปุ่น
ต้นทุนการกู้ยืม เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจและครัวเรือน
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ Tradingeconomics รวมรวบโดย สศค. ออสเตรเลีย
ธนาคารกลางออสเตรเลียมีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ร้อยละ 0.85 ต่อปี จาก
การประชุมในเดือน มิ.ย. 65 โดยทางธนาคารกลางออสเตรเลียได้กล่าวว่านโยบายการเงินแบบ
ผ่อนคลายนั้นไม่จ เป็นอีกต่อไปจากความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของออสเตรเลีย และอัตรา
เงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น
เกาหลีใต้
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 5.4 ต่อปี (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากเดือน
ก่อนหน้า) เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 จากปัจจัยราคาน้ มันและสินค้าโภคภัณฑ์
ดัชนี PMI ภาคการผลิต เดือน พ.ค. 65 อยู่ที่ 51.8 จุด จากนโยบายการจัดการโรคระบาด
ของจีน และสงครามยูเครนที่ยังคงต่อเนื่อง
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค CCSI เดือน พ.ค. 65 อยู่ที่ 102.6 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า
จากมุมมองที่ลดลงด้านค่าครองชีพ สภาวะเศรษฐกิจ รายได้ครัวเรือน เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
Foreign Exchange 9-Jun-22 1w %chg 1m %chg YTD %chg Avg 20 %chg
USD/THB 34.52 -0.38 0.03 -3.62 -7.85
USD/JPY 133.48 -2.76 -1.74 -15.33 -21.50
EUR/USD 1.07 0.48 1.74 -4.75 -9.17
USD/MYR 4.39 0.02 -0.29 -5.03 -5.95
USD/KRW 1,255.40 -1.37 1.36 -5.42 -9.70
USD/SGD 1.38 0.06 1.09 -1.55 -2.37
USD/CNY 6.68 0.42 0.13 -4.73 -3.56
NEER 109.37 0.01 -0.10 1.63 -0.81
ค่าเงินสกุลต่างๆ เครื่องหมาย + คือแข็งค่าขึ้น และเครื่องหมาย - คืออ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้น (+) หรืออ่อนค่าลง (-) ในชว่ งระยะเวลาดังกลา วโดยคดิเป็นอัตรารอ้ ยละ
ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน สอดคล้องกับตลาด
หลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เช่น
TWSE (ไต้หวัน) STI (สิงคโปร์) และ DJIA (สหรัฐอเมริกา) เป็นต้น
เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 65 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,641.34 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขาย
เฉลี่ยระหว่างวันที่ 6 มิ.ย. 65 ถึง 9 มิ.ย. 65 อยู่ที่ 64,683.83 ล้าน
บาทต่อวัน โดยนักลงทุนทั่วไปในประเทศป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุน
ต่างชาตินักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์
เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 6 มิ.ย. 65 ถึง 9 มิ.ย. 65 นักลงทุน
ต่างชาติ ขาย หลักทรัพย์สุทธิ 2,029.45 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุต่ กว่า 9 ปี โดยรวมปรับตัว
เพิ่มขึ้นในช่วง 1 ถึง 8 bps ขณะที่ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล
อายุ 9 - 17 ปี ปรับตัวลดลงในช่วง -2 ถึง -5 bps และอัตรา
ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุมากกว่า 18 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง
1 ถึง 2 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ
6 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 3.45 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่
6 มิ.ย. 65 ถึง 9 มิ.ย. 65 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออก
จากตลาดพันธบัตรสุทธิ -9,039.18 ล้านบาท และหากนับจากต้นปี
จนถึงวันที่ 9 มิ.ย. 65 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ใน
ตลาดพันธบัตรสุทธิ 21,426.01 ล้านบาท
เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 9 มิ.ย. 65 เงินบาท
ปิดที่ 34.52 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.38
จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ
เงินสกุลเยน และวอน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบ
กับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินสกุล ยูโร ริงกิต และดอลลาร์สิงคโปร์
ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้
เงินบาทอ่อนค่าน้อยกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาคเล็กน้อย ส่งผลให้ดัชนี
ค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.01 จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง