รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 8 ก.ค. 65

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 11, 2022 14:40 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มิ.ย. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.66 ต่อปี และ

อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ขยายตัวที่ร้อยละ 2.51 ต่อปี

? ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มิ.ย. 65 ขยายตัวร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบ

กับช่วงเดียวกันของปีก่อน

? ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มิ.ย. 65 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่

ระดับ 41.6 จากระดับ 40.2 ในเดือนก่อน

? ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน มิ.ย. 65 ขยายตัวที่

ร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

? หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 60.87 ของ GDP

เศรษฐกิจไทย

ภาคการเงิน

? ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน พ.ค. 65 ขาดดุลดุลที่ -3,716.16 ล้านดอลลาร์

สหรัฐ

? สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน พ.ค. 65 ขยายตัวร้อยละ 4.1 จากช่วง

เดียวกันปีก่อน เช่นเดียวกับเงินฝากในสถาบันการเงิน ขยายตัวที่ร้อยละ

5.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน มิ.ย. 65ขยายตัวที่ร้อยละ 7.66ต่อปี

อัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน 25652565สูงขึ้นร้อยละ 7.66 ( สูงสุดในรอบ 13 ปี โดยมีปัจจัยสาคัญจากราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการสูงขึ้นในหมวดหลักๆดังนี้ (1) หมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ร้อยละ 6.42 โดยเฉพาะกลุ่มเนื้อสัตว์ อาทิ เนื้อสุกร ที่สูงขึ้นร้อยละ 24.25 (2) หมวดพาหนะขนส่ง การสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 14.75 จากการสูงขึ้นของราคาค่าโดยสารสาธารณะ อาทิ ค่าโดยสาร จักรยานยนต์รับจ้าง เนื่องจากต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้นส่งผ่านไปยังราคาสินค้าและบริการ (3) หมวดไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้าประปาและแสงสว่างที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 33.03 เนื่องจากค่าไฟฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น และเมื่อเทียบกับเดือนอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 0.90 ( ในอัตราที่ชะลอตัวลง จากการลดลงของสินค้าบางรายการ อาทิ ไข่ไก่ ผลไม้สด ผงซักฟอก และสบู่ เป็นต้น และเมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้วเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 2.51

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มิ.ย. 65 ขยายตัวร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน มิ.ย. 65 ขยายตัวชะลอลง จากราคาเหล็กในตลาดโลกเริ่มมีแนวโน้มลดลง ขณะที่ราคาวัตถุดิบสาคัญอื่น ๆ เช่น น้ามัน ถ่านหิน ซีเมนต์ และอลูมิเนียม ยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้น จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนในต่างประเทศ โดยดัชนีฯ หมวดสินค้าสาคัญ อาทิ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ผลิตภัณฑ์คอนกรีต อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา และซีเมนต์ ทั้ง 4 หมวดคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 65

ขยายตัวร้อยละ 6.2 5.75.73.3 และ 7.8 ต่อปี ตามลาดับ จากเดือน พ.ค. ที่ระดับ 10.115.73.53.5และ 7.6 ต่อปี ตามลาดับ

Construction Materials Price Index : CMI

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มิ.ย. 65 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 41.6 จากระดับ 40.2 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน

โดยเป็นผลมาจากผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยหลังจากที่สถานการณ์โควิดในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้นและมีการผ่อนคลายกฎระเบียบต่าง ๆ ให้ธุรกิจเริ่มเปิดดาเนินการได้เป็นปกติตลอดจน การผ่อนคลายให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเขาประเทศได้สะดวกมากขึ้น แม้ว่าผู้บริโภคยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของราคาน้ามันขายปลีกในประเทศ ตลอดจนปัญหาค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นรวมถึงความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่อาจส่งผลให้ราคาน้ามันโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินคา ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันของการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโลกให้ช้าลงหรือชะลอตัวลง

ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน มิ.ย. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขยายตัวที่ร้อยละ 1.9

ขยายตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องจากราคาและผลผลิตสินค้าทางการเกษตรที่ขยายตัว ประกอบกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นจาก ความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลาย รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค และมาตรการเดินทางเข้าประเทศไทย อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยที่น่ากังวล ได้แก่ ราคาน้ามันในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น และหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

5

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ค. 65 มีจานวนทั้งสิ้น10,115,929 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 60.87ของ GDPGDPและเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า พบว่า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 69,324ล้านบาท

ทั้งนี้ สถานะหนี้สาธารณะของไทยถือว่ามีความมั่นคง สะท้อนได้จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDPGDPยังอยู่ในระดับต่ากว่ากรอบวินัยในการบริหารหนี้สาธารณะที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 770 ของ GDPGDPและหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นหนี้ระยะยาว โดยแบ่งตามอายุคงเหลือคิดเป็นร้อยละ 85.33ของยอดหนี้สาธารณะและเป็นหนี้ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 98.227ของยอดหนี้สาธารณะ

เครื่องชี้ภาคการเงิน

ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน พ.ค. 65 ขาดดุลดุลที่ -3,716.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังขาดดุลในเดือน

ก่อนหน้าที่ -3,057.07 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยเดือน พ.ค. 65 ดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลที่ -5,701.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจาก

เดือนก่อนหน้า ขณะที่ดุลการค้า (ตามระบบ BOP) เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 1,985.45

ล้านด อลล ร์สห รัฐ สาหรับดุล บัญชีเ ดินส พัด ในช่วง 5 เดือน แรก ของปี 65 ขาดดุลรวม -8,962.42

ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน พ.ค. 65 มียอด

คงค้าง 20.1 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัว

ร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน พ.ค. 65 มียอด

คงค้าง 24.1 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวที่

ร้อยละ 5.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ห รือ ข ย ย ตัวช ล อ ล ง ที่ร้อ ย ล 0 . 1 จ ก เ ดือ น

ก่อ น ห น้า ( ห ลัง ข จัด ผล ท ง ฤ ดูก ล ) เ มื่อ แ ย ก

ปร เ ภท กา รข อสินเ ชื่อพบว่า สิน เชื่อเ พื่อ ธุร กิจ

ขยายตัวคงที่ที่ร้อยละ 6.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ขณะที่ สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวคงที่

ที่ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน

หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวที่ร้อยละ

0.3 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากจากธนาคาร

พาณิชย์ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ

5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ เงินฝากสถาบัน

ก ร เ งิน เ ฉพา กิจ ข ย ย ตัวเ ร่ง ขึ้น ที่ร้อ ย ล 5 . 7

จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

ดัชนีฯ PMIPMIนอกภาคอุตสาหกรรม (ISMISM) เดือน มิ.ย. 65 อยู่ที่ระดับ 55.3 จุดลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 55.9 จุด เป็นผลจากยอดคาสั่งซื้อใหม่และการจ้างงานที่ชะลอลง ขณะที่สินค้าคลคลังหดตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบปี 65 ทั้งนี้ สหรัฐฯ ยังเผชิญความท้าทายด้านการขนส่ง การขาดแคลนกาลังแรงงานและวัตถุดิบการผลิต และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูง ขณะเดียวกันการแพร่ระบาดของโควิด-19และสงครามในยูเครนยังคงส่งผลกระทบทางลบต่อภาคการบริการ

จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (26 มิ.ย.-2 ก.ค. 65) อยู่ที่ระดับ 2.35 แสนราย ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ระดับ 2.31 แสนราย และสูงกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ 2.30 แสนราย และสูงกว่า 2.15 แสนราย ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยต่อสัปดาห์ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐฯ ขณะที่จานวนผู้ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานระยะเฉลี่ย 4 สัปดาห์ (4 week moving average) ซึ่งขจัดความผันผวนรายสัปดาห์แล้ว ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนมาอยู่ที่ 2.325แสนราย ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 64

ยูโรโซน

อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 6.6 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือน เม.ย. 65ที่อยู่ร้อยละ 6.7ของกาลังแรงงานรวม ทั้งนี้ อัตราการว่างงานของยูโรโซนได้ลดลงมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี 2564

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มิ.ย. 65 อยู่ที่ระดับ -23.6 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ที่อยู่ที่ระดับ -21.2จุด และเป็นระดับที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 63สะท้อนถึงภาคครัวเรือนของยูโรโซนที่มีมุมมองในเชิงลบต่อเศรษฐกิจในอนาคต

จีน

ดัชนีฯ PMIPMIภาคบริการ (Caixin) เดือน มิ.ย. 65 อยู่ที่ระดับ 54.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 41.4 จุด เป็นการขยายตัวของภาคบริการครั้งแรกในรอบ 4 เดือน ท่ามกลางสถานการณ์โควิด 1919ที่เริ่มดีขึ้นจากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาน์

ไต้หวัน

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 65 อยู่ที่ร้อยละ 3.59 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.39 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นระดับที่สูดสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 51ท่ามกลางการเร่งตัวขึ้นของราคาที่อยู่อาศัย ด้านสุขภาพ การศึกษาและความบันเทิง เป็นสาคัญ

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ ไตรมาสที่ 2 ปี 65 อยู่ที่ 134.7 จุด ลดลงจากไตรมาสแรกปี 65ที่อยู่ที่ 137.8จุด

ดัชนี PMIPMIภาคการผลิต เดือน มิ.ย. 65 อยู่ที่ 53.9 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 54.6จุด สะท้อนการเติบโตในภาคการผลิตที่อ่อนแอ

ดัชนี PMIPMIภาคบริการ เดือน มิ.ย. 65 อยู่ที่ 59.2 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ 58.9จุด สะท้อนการขยายตัวของภาคบริการ เนื่องจากการเติบโตของภาคธุรกิจ และอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้น

เกาหลีใต้

อัตราเงินเฟ้อ เดือน มิ.ย. 65 อยู่ที่ร้อยละ 6.0 ต่อปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6จากเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5จากปัจจัยราคาสินค้าอุตสาหกรรม บริการ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และสาธารณูปโภค

ออสเตรเลีย

ธนาคารกลางออสเตรเลียมีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ร้อยละ 1.35 ต่อปี จาก การประชุมในเดือน ก.ค. 65 โดยทางธนาคารกลางออสเตรเลียกล่าวว่าจะดาเนินทุกอย่างที่จาเป็นที่จะทาให้อัตราเงินเฟ้อเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ร้อยละ 2-3ในระยะปานกลาง

มูลค่าการส่งออก เดือน พ.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 37.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 33.8จากช่วงเดียวกันปีก่อน

มูลค่าการนาเข้า เดือน พ.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 32.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 20.4จากช่วงเดียวกันปีก่อน

ดุลการค้า เดือน พ.ค. 65 เกินดุลที่ระดับ 17.3 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ระดับ 15.3พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย

มาเลเซีย

อัตราการว่างงาน พ.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 3.9 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากสถานการณ์เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัว ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

ธนาคารกลางมาเลเซียมีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี จากการประชุมในเดือน ก.ค. 65 เนื่องจากแรงกดดันจากสถานการณ์เงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 65 ขยายตัวร้อยละ 29.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 20.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเป็นการขยายตัวเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.6จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยนับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9ติดต่อกัน

ครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 8.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยนับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 ติดต่อกัน ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ปรับตัวดีขึ้น

อัตราการว่างงาน เดือน พ.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 6.0 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 7.7ของกาลังแรงงานรวม จากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว ภายหลังจากสถานการณ์โควิด-19

สิงคโปร์

ยอดค้าปลีก เดือน พ.ค. 65 ขยายตัวร้อยละ 17.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 12.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเป็นการขยายตัวเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน

เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

ดัช นี SET ป รับ ตัว ล ด ล ง จ ก สัป ด ห์ก่อ น ส อ ด ค ล้อ ง กับ ต ล ด

หลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เช่น

NIKKEI225 (ญี่ปุ่น ) HSI (ฮ่อ ง ก ง ) TWSE (ไ ต้ห วัน ) แ ล STI

(สิงคโปร์) เป็นต้น เมื่อวันที่ 7 ก.ค. 65 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,562.37 จุด

ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 4 - 7 ก.ค. 65 อยู่ที่ 67,617.84

ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และ

นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปใน

ป ร เ ท ศ เ ป็น ผู้ ซื้อ สุท ธิ ทั้ง นี้ ร ห ว่า ง วัน ที่ 4 ? 7 ก . ค . 6 5

นักลงทุนต่างชาติ ขาย หลักทรัพย์สุทธิ -364.7 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุมากกว่า 6 เดือน ปรับตัวลดลง

ในช่วง -1 ถึง -21 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตร

รัฐบาลอายุ 6 ปี และ 36 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 3.7 และ 4.9 เท่าของ

วงเงินประมูล ตามลาดับ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 4 - 7 ก.ค 65 กระแสเงินทุน

ของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออก จากตลาดพันธบัตรสุทธิ -3,447.23

ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 7 ก.ค. 65 กระแสเงินทุนของ

นักลงทุนต่างชาติ ไหลออก ในตลาดพันธบัตรสุทธิ -8,360.17 ล้านบาท

เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 7 ก.ค. 65 เงินบาท

ปิด ที่ 3 6 . 1 9 บ ท ต่อ ด อ ล ล ร์ส ห รัฐ อ่อ น ค่า ล ง ร้อ ย ล - 2 . 5 6

จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ

เงินสกุลยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวอ่อนค่าลง

จากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ขณะที่ เงินสกุลเยน ปรับตัว

แข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ทั้งนี้ เงินบาท

อ่อนค่ามากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท

(NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -2.0 จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ