รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ (Weekly) ณ 11 ส.ค. 65

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 11, 2022 14:35 —กระทรวงการคลัง

เศรษฐกิจไทย

Executive Summaryดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ก.ค. 65 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่

ระดับ 42.4 จากระดับ 41.6 ของเดือนก่อน

? ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ก.ค. 65 ปรับตัว

เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 89.0 จากระดับ 86.3 ของเดือนก่อน

เศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจต่างประเทศ

? เศรษฐกิจสิงคโปร์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 จาก

ช่วงเดียวกันของปีก่อน

? เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ ไตรมาสที่ 2 ของปี 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.4 จาก

ช่วงเดียวกันของปีก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

3

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ก.ค. 65 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 42.4 จากระดับ 41.6 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ในรอบ 7 เดือน

โดยเป็นผลมาจากผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยหลังจากที่สถานการณ์โควิดในประเทศ เริ่มปรับตัวดีขึ้น และมีการผ่อนคลายกฎระเบียบต่าง ๆ ให้ธุรกิจเริ่มเปิดดาเนินการได้เป็นปกติตลอดจน การผ่อนคลายให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศได้สะดวกมากขึ้น ประกอบกับราคาน้ามันเบนซินปรับตัวลดลงอย่างมาก อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับการที่ราคาน้ามันขายปลีกในประเทศยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ตลอดจนปัญหาค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นรวมถึงความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ตลอดจนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่อาจเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันของการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโลกให้ช้าลงหรือ ชะลอตัวลง

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย

4

ดัชนี TISITISIเดือน ก.ค. 65 ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยมีปัจจัยมาจากภาคการผลิตที่ขยายตัวจาก ความต้องการทั้งสินค้าคงทนและสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้น การขยายตัวของตลาดทั้งในประเทศและตลาดส่งออก ที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง จานวนนักท่องเที่ยวที่ยังคงเพิ่มขึ้นรวมถึงการยกเลิก Thailand PassPassอย่างไรก็ดี ยังมี ความกังวลจากต้นทุนการผลิตที่ยังอยู่ในระดับสูงจากราคาวัตถุดิบและพลังงาน รวมถึงค่าขนส่งที่ยังเพิ่มขึ้น ปัญหาเงินเฟ้อที่ยังผลกระทบกับกาลังซื้อของประชาชน ภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง รวมถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่จะปรับตัวขึ้น

เครื่องชี้ภาคการเงิน

ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน มิ.ย. 65 คิดเป็น 1.866เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ดารงตามกฎหมาย

โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน มิ.ย. 65 อยู่ที่ 5.1.1ล้านล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดารงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดารงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ากว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ากว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR)

ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ TradingeconomicsTradingeconomicsรวมรวบโดย สศค.

จีน

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 63 โดยมีสาเหตุหลักมาจากราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น

เกาหลีใต้

อัตราการว่างงาน เดือน ก.ค. 65อยู่ที่ร้อยละ 2.9ของกาลังแรงงานรวม คงที่จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงทรงตัวเมื่อเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น

ไต้หวัน

มูลค่าส่งออก เดือน ก.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 14.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 15.2จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

มูลค่านาเข้า เดือน ก.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 19.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 19.2จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ท่ามกลางการซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น เป็นสาคัญ

ดุลการค้า เดือน ก.ค. 65 เกินดุลอยู่ที่ระดับ 5.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ระดับ 4.64พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ออสเตรเลีย

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ระดับ 81.2 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 83.8 จุด ท่ามกลางราคาที่เพิ่มขึ้นและแนวโน้มของธนาคารกลางของประเทศที่มีความเข้มงวดขึ้น

สหรัฐอเมริกา

อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 8.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 9.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และต่ากว่าคาดการณ์ตลาดที่อยู่ที่ร้อยละ 8.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

สิงคโปร์

เศรษฐกิจไตรมาสที่ 2 ปี 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.8จากช่วงเดียวกันปีก่อน

เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ

ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ TradingeconomicsTradingeconomicsรวมรวบโดย สศค.

อินโดนีเซีย

ยอดค้าปลีก เดือน มิ.ย. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยยอดขายอาหารเครื่องดื่มและยาสูบเร่งตัวขึ้น ขณะที่ยอดขายชิ้นส่วนและอุปกรณ์รถยนต์เริ่มฟื้นตัว

มาเลเซีย

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 12.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 4.1จากช่วงเดียวกันปีก่อน และนับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน

อัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย. 65 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.9ของกาลังแรงงานรวม เนื่องจากการฟื้นตัวของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

เศรษฐกิจไตรมาสที่ 2 ปี 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 8.2จากช่วงเดียวกันปีก่อน

มูลค่าส่งออก เดือน ก.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สะท้อนอุปสงค์จากต่างประเทศที่ซบเซาจากจานวนผู้ติดเชื้อ COVID 19 ที่เพิ่มขึ้นในบางประเทศและปัญหาห่วงโซ่อุปทาน

มูลค่านาเข้า เดือน มิ.ย. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 26.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 30.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ท่ามกลางอุปสงค์ภายในประเทศที่แข็งแกร่งเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19ที่ปรับดีขึ้น และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้น

ดุลการค้า เดือน มิ.ย. 65 ขาดดุลที่ -5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลอยู่ที่ -5.4พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

อัตราการว่างงาน เดือน มิ.ย. 65 อยู่ที่ร้อยละ 6 ของกาลังแรงงานรวม ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากการฟื้นตัวของสถานการณ์เศรษฐกิจภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19

เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน

Foreign

E xchange

10

Aug 22 1w %

chg 1m %

chg YTD %

chg Avg 20 %

chg Avg YTD

USD/THB

35.42

2.15

1.58

-

6.33 -

10.67 34.17

USD/JPY

134.95

-

1.30 0.66

-

16.60 -

22.84 125.59

EUR/USD

1.03

0.57

0.88

-

9.11 -

13.32 1.08

USD/MYR

4.46

0.00

-

0.71 -

6.59 -

7.52 4.30

USD/KRW

1,305.10

0.16

-

0.18 -

9.60 -

14.04 1247.21

USD/SGD

1.38

0.20

1.67

-

1.73 -

2.56 1.37

USD/CNY

6.76

0.30

-

0.77 -

5.98 -

4.80 6.54

NEER

108.48

2.30

1.35

0.80

-

1.62 108.40

ค่าเงินสกุลต่างๆ เครื่องหมาย + คือแข็งค่าขึ้น และเครื่องหมาย -คืออ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้น (+) หรืออ่อนค่าลง (-) ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวโดยคิดเป็นอัตราร้อยละ

ดัชนี SETSETปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เช่น Nikkei 225 ญี่ปุ่น S&P/ASX 200 ออสเตรเลีย) HSIHSI(ฮ่องกง) และ STISTI(สิงคโปร์) เป็นต้น เมื่อวันที่ 1010ส.ค. 655ดัชนีปิดที่ระดับ 1,617.211,617.21จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 8 1010ส.ค. 655อยู่ที่ 62,685.3362,685.33ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนทั่วไปในประเทศ นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 8 1010ส.ค. 65 นักลงทุนต่างชาติ ซื้อหลักทรัพย์สุทธิ11,294.48 ล้านบาท

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 66เดือน และอายุ 19 2020ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2 bpsbpsและ 1 bpsbpsตามลาดับ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 1616ปี ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงในช่วง 11ถึง 5 bpsbpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 8 1010ส.ค 65 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 7,359.397,359.39ล้านบาทและหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 1010ส.ค. 6565กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออกจากตลาดพันธบัตรสุทธิ -5,282.165,282.16ล้านบาท

เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 1010ส.ค. 655เงินบาทปิดที่ 35.4235.42บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.152.15จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลยูโร ริงกิต วอน ดอลลาร์สิงคโปริ และหยวน ที่ปรับแข็งค่าขึ้น จากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ขณะที่ เงินสกุลเยน ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ทั้งนี้ เงินบาท แข็งค่ามากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEERNEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.32.3จากสัปดาห์ก่อน

ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ