ภาคการเงินระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 65คิดเป็น 1.87 เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ดำรงตามกฎหมาย
เศรษฐกิจต่างประเทศเศรษฐกิจอินโดนีเซีย ไตรมาสที่ 3 ปี 65 ขยายตัวร้อยละ 5.7 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ ไตรมาสที่ 3 ปี 65 ขยายตัวร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน ExecutiveSummary เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI)เดือน ต.ค. 65เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 93.1จากระดับ 91.8ในเดือนก่อนหน้าดัชนี TISIเดือน ต.ค. 65 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน โดยขยายตัวในทุกองค์ประกอบของดัชนี (ยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย ต้นทุนประกอบการ ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ)โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการที่ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวได้ต่อเนื่อง ตามการฟืนตัวของการบริโภคภายในประเทศและ การท่องเที่ยว ประกอบกับคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับเทศกาลปีใหม่ และปัญหาขาดแคลนชิปเริ่มคลี่คลายลง ตลอดจนการออกมาตรการดูแลราคาพลังงานของภาครัฐที่ช่วยด้านต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการไม่ให้สูงขึ้นมากนัก อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ ที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรและกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรและกำลังซื้อในส่วนภูมิภาค เป็นปัจจัยลบที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า เดือน ต.ค. 65 ลดลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 98.8 โดยเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 5เดือน จากความกังวลด้านเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวมากขึ้น และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังไม่คลี่คลาย
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยอัตราเงินเฟอทั่วไปในเดือน ต.ค. 65ขยายตัวที่ร้อยละ 5.98ต่อปีอัตราเงินเฟอทั่วไปเดือน ต.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 5.98 (YoY)และร้อยละ 0.05 (MoM)ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ร้อยละ 6.41 จากการชะลอตัวของราคาเนื้อสัตว์และเครื่องประกอบอาหารเป็นสำคัญ ทั้งนี้ หมวดสินค้าหลักที่ส่งผลกระทบต่อเงินเฟอในเดือน ก.ย. 65 ได้แก่ 1) หมวดอาหารสด (ร้อยละ 10.5) เนื้อสุกร และไก่สด จากปริมาณผลผลิตที่มากขึ้น อีกทั้งสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลายส่งผลให้ ราคาผักสดเริ่มมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะปกติ 2) หมวดอาหารสำเร็จรูป (ร้อยละ 9.2) จากการปรับขึ้นแล้วในเดือนก่อนหน้า 3) หมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิง (ร้อยละ 14.4) เนื่องจากสินค้ากลุ่มพลังงานยังคงสูงขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และ 4) หมวดไฟฟา เชื้อเพลิง น้ำประปาและแสงสว่าง (ร้อยละ 13.2) จากการปรับขึ้นค่าไฟฟาผันแปร อย่างไรก็ดี มีสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและเครื่องซักผ้า เป็นต้น ขณะที่สินค้าและบริการในหมวดอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติสอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการในการบริโภคของประชาชน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้วเงินเฟอพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 3.17 (YoY)ขณะที่เงินเฟอทั่วไปและพื้นฐานเฉลี่ย 10 เดือนแรก (ม.ค.-ต.ค. 65)อยู่ที่ร้อยละ 6.15 (AoA)และร้อยละ 2.35 (AoA)ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ต.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ต.ค. 65 สูงขึ้นเมื่อเทียบปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากกสภาพภูมิอากาศและปัญหาอุทกภัยซึ่งทำให้วัตถุดิบขาดแคลนส่งผลให้ราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยหมวดสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หมวดปูนซีเมนต์ และหมวดกระเบื้อง ขยายตัวร้อยละ 8.1 6.9 และ 4.8 ต่อปี ตามลำดับ ในส่วนดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเมื่อเทียบกับเดือนก่อนพบว่า ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนที่ ผ่านมาเท่ากับ 119.6 เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ต.ค. 65 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.1จากระดับ 44.6ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5สูงสุดในรอบ 10 เดือนโดยเป็นผลมาจากผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่สถานการณ์โควิดในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้นและมีการผ่อนคลายกฎระเบียบต่าง ๆ ให้ธุรกิจเริ่มเปิดดำเนินการได้เป็นปกติตลอดจนการผ่อนคลายให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศได้สะดวกมากขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวลดลงอย่างมากจากช่วงครึ่งปีแรก อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับการที่ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศยัง ทรงตัวอยู่ในระดับสูง ตลอดจนปัญหาค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นรวมถึงความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ตลอดจนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟอของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่อาจเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันของการฟืนตัวของระบบเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ต.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 16.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวที่ร้อยละ -7.9 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากกำลังซื้อที่เริ่มฟืนตัวจากมาตรการรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศ เฟส2 ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการเดินทางระหว่างประเทศ ส่งผลให้ภาคธุรกิจและภาคบริการด้าน การท่องเที่ยวกลับมาฟืนตัวมากขึ้น นอกจากนี้ รายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ยังส่งผลดีต่อยอดขายรถจักรยานยนต์ อย่างไรก็ดี ค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง ยังเป็นปัจจัยกดดันต่อการฟืนตัวของกำลังซื้อในปัจจุบัน เครื่องชี้ภาคการเงิน ระดับสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 65 คิดเป็น 1.87เท่าของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ดำรงตามกฎหมาย โดยยอดคงค้างสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบในเดือน ก.ย. 65 อยู่ที่ 4.96ล้านล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ธปท. ได้ปรับเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์จากเกณฑ์เดิมที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของเงินรับฝากเป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100 (หรือ 1.0 เท่า) ของประมาณการกระแสเงินสดไหลออกสุทธิในสภาวะวิกฤต (LiquidityCoverageRatio:LCR)ตั้งแต่เดือน ม.ค. 59 เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์มวลรวมไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.5จากช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวที่ร้อยละ 1.7เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ณ เดือน ก.ย. 65 ขยายตัวร้อยละ 10.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 11.8จากช่วงเดียวกันปีก่อน อัตราการว่างงาน ณ เดือน ก.ย. 65 อยู่ที่ร้อยละ 5 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.3ของกำลังแรงงานรวม อัตราการว่างงาน ณ เดือน ก.ย. 65 อยู่ที่ร้อยละ 3.6 ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.7ของกำลังแรงงานรวมยอดค้าปลีก ณ เดือน ก.ย. 65 ขยายตัวร้อยละ 30.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 34.5จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการบริโภคชะลอลงท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟอที่เพิ่มสูงขึ้นผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ณ เดือน ก.ย. 65 ขยายตัวร้อยละ 10.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ที่ขยายตัวร้อยละ 13.5จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นการขยายตัวเป็นเดือนที่ 13ติดต่อกันของผลผลิตภาคอุตสาหกรรม มูลค่าส่งออก เดือน ต.ค. 65 หดตัวร้อยละ -0.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -5.3จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมูลค่านำเข้า เดือน ต.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -2.4จากช่วงเดียวกันของปีก่อนดุลการค้า เดือน ต.ค. 65 เกินดุลที่ระดับ 2.99 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ระดับ 6.11พันล้านดอลลาร์สหรัฐอัตราเงินเฟอ เดือน ต.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 2.72 จากช่วงเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับที่ตลาดคาดการณ์ร้อยละ 2.7จากช่วงเดียวกันปีก่อน และลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.75จากช่วงเดียวกันปีก่อน เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนดัชนี SETปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เช่น HangSeng(ฮ่องกง)Shanghai(จีน) STI(สิงคโปร์)และ DJIA (สหรัฐอเมริกา) เป็นต้น เมื่อวันที่ 10พ.ย. 65ดัชนีปิดที่ระดับ 1,619.23จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่ 7-10พ.ย. 65 อยู่ที่ 62,934.05ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ขายสุทธิ ขณะที่นักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 7-10 พ.ย. 65นักลงทุนต่างชาติ ซื้อหลักทรัพย์สุทธิ 8,753.59 ล้านบาทอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 3เดือน ถึง 20ปี ปรับตัวลดลงในช่วง -4ถึง -22bpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนไม่มีการประมูลพันธบัตรรัฐบาล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 7-10พ.ย. 65 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 71,859.43ล้านบาทและหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 10พ.ย. 65 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 35,682.51ล้านบาทเงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 10พ.ย. 65เงินบาทปิดที่ 36.88บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.56 จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลเยน ยูโร ริงกิต เปโซ วอน ดอลลาร์ไต้หวันใหม่ ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่ามากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ2.56จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง