ฉบับที่ 201/2565 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565
มหกรรมร่วมใจแก้หนี้?มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน? ครั้งที่ 2
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ?ในวันที่ 18 20 พฤศจิกายน 2565 จะมีการจัดงาน ?มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน? ครั้งที่ 2 ณ ศูนย์ประชุม และแสดงสินค้านานาชาติขอนแก่น ตั้งแต่เวลา 10.00 18.00 น. โดยงานมหกรรมครั้งนี้เป็นการจัดครั้งที่ 2 หลังจากครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานครได้รับความสนใจจากประชาชนและผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก? ?มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน? เป็นงานที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือของกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และหน่วยงานพันธมิตรอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 18 หน่วยงาน เพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบธุรกิจที่ประสบกับปัญหาหนี้สินเป็นภาระหนัก โดยมหกรรมดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่กาหนดให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ครัวเรือน การจัด ?มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน? แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการลงทะเบียนเพื่อแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างหนี้ออนไลน์ผ่านระบบของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งปัจจุบัน มีผู้ลงทะเบียนออนไลน์จานวนกว่า 135,000 ราย รายการสะสมมากกว่า 300,000 รายการ และระยะที่ 2 เป็นการจัดมหกรรมสัญจรทั้งในกรุงเทพมหานครและ 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ โดย ?มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน? ครั้งที่ 1 ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 ? 6 พฤศจิกายน 2565 ณ Hall 5 อิมแพค เมืองทองธานี ผลการจัดงานได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก โดยมีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 15,000 ราย ส่วนใหญ่ขอรับคาปรึกษาด้านการเงินและแนวทางในการประกอบอาชีพ รองลงมา คือ การขอแก้ไขปัญหาหนี้สินที่มีอยู่เดิม การขอสินเชื่อใหม่หรือสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อเสริมสภาพคล่องและสร้างรายได้เพิ่ม และการเข้าร่วมกิจกรรมอื่น ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เงินฝากเพื่อส่งเสริมการออม การตรวจข้อมูลเครดิต การขาย NPA เป็นต้น ดังนั้น เพื่อเป็นการต่อยอดความสาเร็จของการจัดงานครั้งที่ 1 กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ จึงกาหนดจัดงานมหกรรมสัญจรในครั้งที่ 2 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 20 พฤศจิกายน 2565 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติขอนแก่น โดยจะเพิ่มเติมหน่วยงานให้คาปรึกษาเกี่ยวกับ การประกอบธุรกิจหรือการพัฒนาอาชีพ และมุ่งเน้นการให้คาปรึกษาด้านการประกอบอาชีพเพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้าร่วมงานจากการจัดงานครั้งที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในงานจะมีกิจกรรมประกอบด้วย 3 ส่วนเช่นเดิม ได้แก่ 2 (1) การแก้ไขปัญหาหนี้สินที่มีอยู่เดิม ไม่ว่าจะเป็ นการแก้ไขหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือการ ปรับเงื่อนไขการชา ระนี้ เพื่อช่วยผ่อนปรนภาระหนี้ของประชาชนและผู้ประกอบการให้สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง เช่น ? การปรับเงื่อนไขการผ่อนชา ระ ลดภาระค่างวด ลดอัตราดอกเบี้ย พักชา ระเงินต้น ลดการผ่อน ชา ระเงินต้น ขยายระยะเวลาผ่อนชา ระ ยกเว้นดอกเบี้ยค้างชา ระหากสามารถจ่ายชา ระหนี้ปิ ดบัญชีได้ โดยสถาบันการเงิน ของรัฐทุกแห่งที่เข้าร่วมมหกรรมนี้ ? การคืนดอกเบี้ยให้กับลูกค้าที่ชา ระดี โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนาเข้าแห่งประเทศไทย ? มาตรการแก้หนี้สินเชื่อบ้าน สา หรับลูกหนี้สถานะ NPL จะได้รับการลดเงินงวดผ่อนชา ระ พร้อม กับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้พิเศษ โดยในระยะแรกผ่อนชา ระเพียงงวดละ 1,000 บาท อัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 0 ต่อปี โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (2) การสร้างรายได้ผ่านการสร้างอาชีพหรืออาชีพเสริม เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนและ ผู้ประกอบการ ให้เพียงพอต่อการชา ระหนี้ ซึ่งจะสามารถลดปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนได้ในระยะยาว และสามารถ ขอรับสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือเป็นแหล่งทุนเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม เช่น ? สินเชื่อแก้หนี้เพิ่มทุน สาหรับผู้มีรายได้ประจา ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกอบการราย ย่อย พ่อค้าแม่ค้า หาบเร่แผงลอย ให้กู้ไม่เกินรายละ 20,000 บาท ดอกเบี้ยต่า แบบคงที่ร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ไม่ต้องมี หลักประกัน ปลอดชาระเงินต้น 6 เดือน ผ่อนชาระสูงสุดไม่เกิน 2 ปี โดยธนาคารออมสิน ? สินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย เช่น สินเชื่อ GSB บ้านแลกเงิน สินเชื่อเคหะกู้ปี นี้ผ่อนปี หน้า โดยธนาคารออมสิน สินเชื่อที่อยู่อาศัยดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 3.90 นาน 6 เดือน โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ สินเชื่อที่อยู่ อาศัยอัตรากา ไรพิเศษร้อยละ 1.99 ต่อปี นาน 6 เดือน โดยธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ? สินเชื่อเพื่อ SMEs ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้า ประกัน ดอกเบี้ยเริ่มต้นร้อยละ 5.5 ต่อปี โดย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สินเชื่อ Krungthai SME Money ไม่ต้องใช้ หลักทรัพย์ค้า ประกัน โดยธนาคารกรุงไทย จา กัด (มหาชน) ? สินเชื่อผู้ส่งออกป้ายแดง ใช้เพียงบุคคลค้า ประกัน โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนา เข้า แห่งประเทศไทย ? มาตรการค้า ประกันสินเชื่อ ฟรีค่าดาเนินการค้าประกัน โดยบรรษัทประกันสินเชื่อ อุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) (3) การสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ประชาชนด้วยการส่งเสริมทักษะในการประกอบอาชีพ เพื่อให้ประชาชน สามารถมีรายได้ที่เพียงพอและมั่นคง และการเสริมสร้างความรู้ทางการเงิน เพื่อสร้างความตระหนักถึงการวางแผนทาง การเงินและส่งเสริมการบริหารจัดการด้านการเงินอย่างถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนเข้าใจถึงการเป็ นหนี้และ มีการวางแผนทางการเงิน ซึ่งจะสามารถแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนได้อย่างยั่งยืน เช่น 3 ? การให้คาปรึกษาทางออกให้ธุรกิจโดยโค้ชมืออาชีพ โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย การให้บริการคาปรึกษาทางการเงินผ่าน บสย. F.A. Center การให้คาปรึกษาผ่าน โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชนโดยธนาคารแห่งประเทศไทย การให้ข้อเสนอแนะในการประกอบธุรกิจโดย สานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ? การให้ความรู้ทางการเงินโดยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กองทุนการออมแห่งชาติ และสา นักงานคณะกรรมการกา กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ? การรับสมัครงานและการแนะแนวอาชีพจากกรมการจัดหางาน ? ผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการออม เช่น เงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยพิเศษแบบขั้นบันได สลากออม สินสลากออมทรัพย์ ธอส. เป็นต้น นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ที่น่าสนใจตลอดงาน เช่น การตรวจข้อมูลเครดิตโดยบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จากัด การขายสินทรัพย์ NPA ของสถาบันการเงิน บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จากัด และ บริษัท บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จา กัด รวมทั้งกิจกรรมเสวนาให้ความรู้เกี่ยวกับการประกอบ ธุรกิจโดยผู้ทรงคุณวุฒิตลอดงาน ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานสามารถลงทะเบียนได้ทางเว็บไซต์ https://ln15.gsb.or.th/WEB-DEBT หรือ Scan QR Code ท้ายแถลงข่าว หรือแจ้งความประสงค์เข้าร่วมงานได้ที่หน้างานมหกรรม ทั้งนี้ นอกจากงานมหกรรม ร่วมใจแก้หนี้ครั้งนี้แล้ว ยังมีกา หนดจัดมหกรรมในลักษณะเดียวกันอีก 3 ภูมิภาคทั่วประเทศ ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถ ลงทะเบียนเข้าร่วมงานผ่านช่องทางเดียวกัน ได้แก่ ครั้งที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 16 ? 18 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ เชียงใหม่ ครั้งที่ 4 จังหวัดชลบุรี วันที่ 20 ? 22 มกราคม 2566 ณ ศาลาประชาคมเทศบาลเมืองบ้านสวน ครั้งที่ 5 จังหวัดสงขลา วันที่ 27 ? 29 มกราคม 2566 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวเพิ่มเติมว่า ?ขอเชิญชวนลูกหนี้ในจังหวัดขอนแก่น และพื้นที่ใกล้เคียงที่ประสบปัญหาทุกท่านให้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานเพื่อเข้ารับการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนี้ จากหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งพร้อมจะให้ความช่วยเหลือ ซึ่งมหกรรมในครั้งนี้จะช่วยเหลือลูกหนี้ให้สามารถแก้ไขปัญหา ภาระหนี้สินที่มีอยู่ได้อย่างตรงจุด สอดคล้องกับศักยภาพในการชาระหนี้ รวมทั้งได้รับการส่งเสริมความรู้และการ สร้างวินัยทางด้านการเงิน เพื่อที่จะหลุดพ้นจากกับดักหนี้สินได้อย่างยั่งยืน และคาดหวังว่าการจัดงาน ในครั้งที่ 2 นี้จะได้รับความสนใจจากประชาชนและผู้ประกอบการเช่นเดียวกับการจัดงานครั้งที่ผ่านมา? 4 QR Code สาหรับลงทะเบียนเข้าร่วมงาน ?มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่ อย่างยั่งยืน? ครั้งที่ 2 - 5 https://ln15.gsb.or.th/WEB-DEBT QR Code สาหรับลงทะเบียนแก้ไขหรือปรับปรุง โครงสร้างหนี้ออนไลน์ https://www.bot.or.th/DebtFair สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 1. สมาคมสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ โทร. 02 202 1868 หรือ 02 202 1961 2. ธนาคารออมสิน โทร. 02 299 8000 หรือสายด่วน 1115 3. ธนาคารกรุงไทย จา กัด (มหาชน) โทร. 02 111 1111 4. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โทร. 02 555 0555 5. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทร. 02 645 9000 6. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โทร. 02 265 3000 หรือสายด่วน 1357 7. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนาเข้าแห่งประเทศไทย โทร. 02 169 9999 8. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โทร. 02 650 6999 หรือสายด่วน 1302 9. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม โทร. 02 890 9999 ที่มา: กระทรวงการคลัง