เศรษฐกิจไทย
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ย. 65 สูงขึ้นร้อยละ 5.55 ต่อปี ขณะที่อัตราเงิน
เฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นร้อยละ 3.22 ต่อปี
? ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ย. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน
? ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน พ.ย. 65 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ
47.9 จากระดับ 46.1 ในเดือนก่อน
เศรษฐกิจไทย
เศรษฐกิจต่างประเทศ
? เศรษฐกิจญี่ปุ่น ไตรมาส 3 ปี 65 (ปรับปรุงใหม่) ขยายตัวร้อยละ 1.5 จากช่วง
เดียวกันของปีก่อน
? เศรษฐกิจออสเตรเลีย ไตรมาสที่ 3 ปี 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 จากช่วง
เดียวกันของปีก่อน
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
3
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ย. 65ขยายตัวที่ร้อยละ 5.55ต่อปี
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ย. 65 สูงขึ้นร้อยละ 5.55 ต่อปี ชะลอตัวลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จากเดือน ก.ย. 65 และ ต.ค. 65 ที่ร้อยละ 6.41 และ 5.98 ต่อปี ตามลาดับ และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลงร้อยละ -0.13 ซึ่งเป็น การลดลงครั้งแรกในรอบ 10 เดือน ตั้งแต่เดือน ธ.ค. 64 โดยเป็นผลมาจากการลดลงของผักสดและผลไม้สด เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นหลังจากสถานการณ์น้าท่วมได้คลี่คลายลง รวมทั้งการลดลงของราคาเนื้อสุกรและไข่ไก่ ทั้งนี้ หมวดสินค้าหลักที่ส่งกระทบต่อเงินเฟ้อในเดือน พ.ย. 65 ได้แก่ 1) หมวดอาหารสด (ร้อยละ 8.08) 2) หมวดอาหารสาเร็จรูป (ร้อยละ 9.48) 3) หมวดยานพาหนะและน้ามันเชื้อเพลิง (ร้อยละ 6.66) และ 4) หมวดไฟฟ้า เชื้อเพลิง น้าประปาและแสงสว่าง (ร้อยละ 13.21) อย่างไรก็ดีมีสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องรับโทรทัศน์ และโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น และเมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว พบว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นร้อยละ 3.22 ต่อปี และเฉลี่ย 11 เดือน(ม.ค.-พ.ย.) อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 6.10ต่อปี
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ย. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ย.65 สูงขึ้นเมื่อเทียบปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากดัชนีราคายังสูงขึ้นทุกหมวดสินค้าจากสินค้าวัตถุดิบและราคาพลังงานที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามราคาเหล็กในประเทศเริ่มลดลง เนื่องจากราคาและความต้องการใช้ในประเทศจีนลดลง ขณะที่ปริมาณผลผลิตขยายตัว ส่งผลให้ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างมีทิศทางลดลง โดยหมวดสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ หมวดปูนซีเมนต์ และหมวดกระเบื้อง ขยายตัวร้อยละ 8.1 4.9และ 4.1ต่อปี ตามลาดับ ในส่วนดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเมื่อเทียบกับเดือนก่อนพบว่า ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างไม่มีการเปลี่ยนแปลง
ครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน พ.ย. 65 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 47 9 จากระดับ 46 1 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6และสูงสุดในรอบ 20เดือน
โดยเป็นผลมาจากผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่สถานการณ์โควิดในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้นและมีการผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ ให้ธุรกิจเริ่มเปิดดาเนินการได้เป็นปกติตลอดจนการผ่อนคลายให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเขาประเทศได้สะดวกมากขึ้น ส่งผลให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศมากขึ้นและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับราคาน้ามันเบนซินปรับตัวลดลงอย่างมากจากช่วงครึ่งปีแรก ทาให้ประชาชนรู้สึกผ่อนคลายเรื่องค่าครองชีพลง ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นรวมถึงความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ตลอดจนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อของประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่อาจเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันของการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
ดัชนีฯ PMIPMIนอกภาคอุตสาหกรรม เดือน พ.ย. 65 อยู่ที่ 56.5 จุด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 54.4จุด เป็นผลจากกิจกรรมทางธุรกิจและดัชนีการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้น เป็นสาคัญ
มูลค่าการส่งออกสินค้า เดือน ต.ค. 65 ขยายที่ร้อยละ 10.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวในอัตราชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 24.3จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่ต่าที่สุดในรอบเกือบ 2ปี นับตั้งแต่เดือน มี.ค. 64
มูลค่าการนาเข้าสินค้า เดือน ต.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 12.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 13.0และเป็นการขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3
ดุลการค้าสินค้า เดือน ต.ค. 65 ขาดดุลที่ 1.03 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ 1.00แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (27 พ.ย. -3 ธ.ค. 65) อยู่ที่ 2.30 แสนราย เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 2.26 แสนราย ขณะที่ จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ (four week moving average) ซึ่งขจัดความผันผวนรายสัปดาห์ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.30แสนราย ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ส.ค. 65
ยูโรโซน
ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 65 หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -2.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ร้อยละ -2.6จากช่วงเดียวกันปีก่อน และนับเป็นการหดตัวเป็นเดือนที่ 5ติดต่อกัน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อ PMIPMIภาคบริการ เดือน พ.ย. 65 อยู่ที่ระดับ 48.5 จุด จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 48.6 จุด และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ระดับ 46.0จุด ถือเป็นการหดตัวเป็นเดือนที่ 4ติดต่อกันของภาคบริการ และเป็นการหดตัวมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 64
ญี่ปุ่น
เศรษฐกิจญี่ปุ่น ไตรมาส 3ปี 65(ปรับปรุงใหม่) ขยายตัวร้อยละ 1.5จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ขยายตัวร้อยละ 1.1
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ Tradingeconomics รวมรวบโดย สศค.
จีน
ดัชนีฯ PMIPMIภาคบริการ (Caixin) เดือน พ.ย. 65 อยู่ที่ระดับ 46.7 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 48.4จุด ซึ่งลดลงต่ากว่า 50.0จุด ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3และเป็นการลดลงต่าที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค. 65
มูลค่าส่งออก เดือน พ.ย. 65 หดตัวร้อยละ -9.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -0.6จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวมากกว่าระดับที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ -3.5จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
มูลค่านาเข้า เดือน พ.ย. 65 หดตัวที่ร้อยละ -10.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -1.1จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดุลการค้า เดือน พ.ย. 65 เกินดุลที่ระดับ 69.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เกินดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 85.1พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 65 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราที่ต่าสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 65และต่ากว่าระดับที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 2.1จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ไต้หวัน
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 65 อยู่ที่ร้อยละ 2.35 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.74จากช่วงเดียวกันปีก่อน และต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 2.5รวมถึงเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ต่าสุดในรอบ 9เดือน
มูลค่าส่งออก เดือน พ.ย. 65 หดตัวร้อยละ -13.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -0.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวมากกว่าระดับที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ -6.7จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยยอดส่งออกที่ลดลงมากที่สุดคือพลาสติกและยาง
มูลค่านาเข้า เดือน พ.ย. 65 หดตัวที่ร้อยละ -8.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 8.2จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดุลการค้า เดือน พ.ย. 65 เกินดุลที่ระดับ 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 2.99พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 26.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 30.0จากช่วงเดียวกันปีก่อน
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
ที่มา: ฐานข้อมูล CEIC และ Tradingeconomics รวมรวบโดย สศค.
สิงคโปร์
ยอดค้าปลีก เดือน ต.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 10.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 11.3จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นการขยายตัวเป็นเดือนที่ 8ติดต่อกัน
ฟิลิปปินส์
อัตราเงินเฟ้อ เดือน พ.ย. 65 อยู่ที่ร้อยละ 8.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 7.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน และต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ที่ร้อยละ 7.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน นับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือน พ.ย. 51
อัตราการว่างงาน ณ เดือน ต.ค. 65 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ของกาลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.0ของกาลังแรงงานรวม
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ณ เดือน ต.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 12.7 จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ที่ขยายตัวร้อยละ 12.0จากช่วงเดียวกันปีก่อน และนับเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 7เดือน
ออสเตรเลีย
เศรษฐกิจออสเตรเลีย ไตรมาสที่ 3 ปี 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.4จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็น การขยายตัวที่ร้อยละ 0.6เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)
ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้นนโยบายจากร้อยละ 2.85 ต่อปี สู่ระดับร้อยละ 3.1ต่อปี
ดัชนีฯ PMI ภาคบริการ เดือน พ.ย. 65 อยู่ที่ระดับ 47.6 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 49.3จุด
มูลค่าส่งออก เดือน ต.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 39.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 41.4จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
มูลค่านาเข้า เดือน ต.ค. 65 ขยายตัวที่ร้อยละ 37.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 34.8จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดุลการค้า เดือน ต.ค. 65 เกินดุลที่ระดับ 13.8 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เกินดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ระดับ 14.2พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
เครื่องชี้ตลาดเงิน ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ดัชนี SETSETปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนสอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน เช่น NikkeiNikkei(ญี่ปุ่น) TWSETWSE(ไต้หวัน) และ STISTI(สิงคโปร์ เป็นต้น เมื่อวันที่ 88ธ.ค. 655ดัชนีปิดที่ระดับ 1,620.491,620.49จุด ด้วยมูลค่าซื้อขายเฉลี่ยระหว่างวันที่6 88ธ.ค. 6565อยู่ที่ 53,762.6453,762.64ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนทั่วไปในประเทศ และนักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 6 88ธ.ค. 6565นักลงทุนต่างชาติ ขายหลักทรัพย์สุทธิ 4,979.54 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 11เดือน และ 66เดือน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1 pbspbsขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 11ปี ถึง 2020ปี ปรับตัวลดลงในช่วง -11ถึง -17 bpsbpsโดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 44ปี และ 66ปี ซึ่งนักลงทุนสนใจ 2.72.7และ 3.63.6เท่าของวงเงินประมูล ตามลาดับ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 6 88ธ.ค. 6565กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 15,812.0115,812.01ล้านบาทและหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 88ธ.ค. 6565กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้าในตลาดพันธบัตรสุทธิ 47,102.5947,102.59ล้านบาท
เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 88ธ.ค. 655เงินบาทปิดที่ 34.8034.80บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.540.54จากสัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค อาทิ เงินสกุลยูโร ริงกิต เปโซ วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ขณะที่เงินสกุลเยน และดอลลาร์ไต้หวันใหม่ ที่ปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ทั้งนี้ เงินบาทแข็งค่ามากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEERNEER) แข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.140.14จากสัปดาห์ก่อน
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง