กระทรวงการคลังเสนอแก้ไขพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการและลูกจ้างประจำ โดยเพิ่มสิทธิในการส่งเสริมและป้องกันโรค และแก้ไขปัญหาสิทธิซ้ำซ้อนกับประกันสังคม ซึ่งจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเร็ว ๆ นี้
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (ร.ต. หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี) ระบุ ได้มอบนโยบายให้กรมบัญชีกลางในโอกาสไปตรวจเยี่ยมกรมบัญชีกลางเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2551 ให้กรมบัญชีกลางดำเนินการปรับปรุงแก้ไขพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2523 เพื่อแก้ไขปัญหาสิทธิซ้ำซ้อน รวมทั้งเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมและป้องกันให้กับผู้มีสิทธิ และบุคคลในครอบครัว โดยประเด็นหลักในการแก้ไข ประกอบด้วย
1. ให้ผู้มีสิทธิ หรือบุคคลในครอบครัวที่มีสิทธิซ้ำซ้อน เช่น มีสิทธิประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการฯ สามารถเลือกใช้สิทธิใดก็ได้ ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาปัจจุบันกำหนดว่าต้องใช้สิทธิอื่นก่อนเสมอ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีการร้องเรียนกันอย่างมาก โดยกรณีนี้ กรมบัญชีกลางได้หารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและได้รับคำตอบว่าต้องใช้สิทธิทางประกันสังคมก่อน ประกอบกับปัจจุบันมีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวที่มีสิทธิในระบบสวัสดิการของทางราชการและสิทธิประกันสังคมซ้ำซ้อนกันจำนวนประมาณ 160,000 คน จึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขเรื่องดังกล่าว
2. ให้ผู้มีสิทธิ และบุคคลในครอบครัวสามารถเข้ารับบริการด้านการส่งเสริมป้องกันโรคได้ เช่น สามารถเบิกค่าวัคซีนป้องกันโรคได้ ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาปัจจุบันจำกัดให้เบิกได้เฉพาะค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น การส่งเสริมป้องกันโรคเบิกไม่ได้ ประมาณการว่าจะต้องใช้งบประมาณเพื่อการนี้จำนวนประมาณ 5,600 ล้านบาท หากผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวไปรับบริการวัคซีนป้องกันโรคกันทุกคน
ทั้งนี้ คาดว่าการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะแล้วเสร็จและมีผลบังคับใช้ในช่วงต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
นายมนัส แจ่มเวหา รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2543 ให้กรมบัญชีกลางปฏิรูประบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กรมบัญชีกลางได้มีการพัฒนาระบบต่างๆ เช่น ระบบการเบิกจ่ายเงิน ระบบฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐ และระบบการตรวจสอบ เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินค่ารักษาเป็นไปด้วยความถูกต้อง เหมาะสม และตรวจสอบได้
โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมา กรมบัญชีกลางได้เริ่มดำเนินโครงการเบิกจ่ายตรงสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ เพื่อให้ผู้มีสิทธิ (ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ) รวมถึงบุคคลในครอบครัว รวมทั้งสิ้นประมาณ 5 ล้านคน สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาล ในสถานพยาบาลของรัฐได้โดยไม่ต้องสำรองจ่ายเงินไปก่อน ซึ่งช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย เพิ่มความสะดวก และการเข้าถึงบริการให้กับผู้มีสิทธิ และบุคคลในครอบครัว โดยนับตั้งแต่เริ่มโครงการ (1 ตุลาคม 2549) จนถึงปัจจุบัน (31 มีนาคม 2551) มีผู้ใช้บริการผ่านโครงการฯ จำนวน 25,643,776 ครั้ง เป็นเงินทั้งสิ้น 46,500 ล้านบาท
นอกจากนี้ ในกลางปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (1 กรกฎาคม 2550) กรมบัญชีกลางได้นำระบบการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) มาใช้ เพื่อให้การรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐประเภทผู้ป่วยในเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สถานพยาบาลใช้ทรัพยากรในการรักษาอย่างคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย เกินความจำเป็น และผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยมาตรฐานที่เท่าเทียมกัน ซึ่งจากการดำเนินการที่ผ่านมาพบว่าสถานพยาบาลปรับปรุงการลงรหัสโรคให้ถูกต้อง และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันกรมบัญชีกลางได้รับข้อมูลการเบิกจ่าย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และจากข้อมูลดังกล่าวพบว่าโรงพยาบาลไม่ได้รับผลกระทบด้านงบประมาณในภาพรวม จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยในช่วงระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2550 — 31 มีนาคม 2551 พบว่ามีการเบิกจ่ายผู้ป่วยในทั้งสิ้น 8,742 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 8
สำนักมาตรฐานค่าตอบแทน และสวัสดิการ กรมบัญชีกลาง
โทร 0-2298-6823
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 26/2551 11 เมษายน 51--
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (ร.ต. หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี) ระบุ ได้มอบนโยบายให้กรมบัญชีกลางในโอกาสไปตรวจเยี่ยมกรมบัญชีกลางเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2551 ให้กรมบัญชีกลางดำเนินการปรับปรุงแก้ไขพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2523 เพื่อแก้ไขปัญหาสิทธิซ้ำซ้อน รวมทั้งเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมและป้องกันให้กับผู้มีสิทธิ และบุคคลในครอบครัว โดยประเด็นหลักในการแก้ไข ประกอบด้วย
1. ให้ผู้มีสิทธิ หรือบุคคลในครอบครัวที่มีสิทธิซ้ำซ้อน เช่น มีสิทธิประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการฯ สามารถเลือกใช้สิทธิใดก็ได้ ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาปัจจุบันกำหนดว่าต้องใช้สิทธิอื่นก่อนเสมอ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีการร้องเรียนกันอย่างมาก โดยกรณีนี้ กรมบัญชีกลางได้หารือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและได้รับคำตอบว่าต้องใช้สิทธิทางประกันสังคมก่อน ประกอบกับปัจจุบันมีผู้มีสิทธิหรือบุคคลในครอบครัวที่มีสิทธิในระบบสวัสดิการของทางราชการและสิทธิประกันสังคมซ้ำซ้อนกันจำนวนประมาณ 160,000 คน จึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขเรื่องดังกล่าว
2. ให้ผู้มีสิทธิ และบุคคลในครอบครัวสามารถเข้ารับบริการด้านการส่งเสริมป้องกันโรคได้ เช่น สามารถเบิกค่าวัคซีนป้องกันโรคได้ ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาปัจจุบันจำกัดให้เบิกได้เฉพาะค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น การส่งเสริมป้องกันโรคเบิกไม่ได้ ประมาณการว่าจะต้องใช้งบประมาณเพื่อการนี้จำนวนประมาณ 5,600 ล้านบาท หากผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวไปรับบริการวัคซีนป้องกันโรคกันทุกคน
ทั้งนี้ คาดว่าการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะแล้วเสร็จและมีผลบังคับใช้ในช่วงต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
นายมนัส แจ่มเวหา รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2543 ให้กรมบัญชีกลางปฏิรูประบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กรมบัญชีกลางได้มีการพัฒนาระบบต่างๆ เช่น ระบบการเบิกจ่ายเงิน ระบบฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐ และระบบการตรวจสอบ เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินค่ารักษาเป็นไปด้วยความถูกต้อง เหมาะสม และตรวจสอบได้
โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมา กรมบัญชีกลางได้เริ่มดำเนินโครงการเบิกจ่ายตรงสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ เพื่อให้ผู้มีสิทธิ (ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ) รวมถึงบุคคลในครอบครัว รวมทั้งสิ้นประมาณ 5 ล้านคน สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาล ในสถานพยาบาลของรัฐได้โดยไม่ต้องสำรองจ่ายเงินไปก่อน ซึ่งช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย เพิ่มความสะดวก และการเข้าถึงบริการให้กับผู้มีสิทธิ และบุคคลในครอบครัว โดยนับตั้งแต่เริ่มโครงการ (1 ตุลาคม 2549) จนถึงปัจจุบัน (31 มีนาคม 2551) มีผู้ใช้บริการผ่านโครงการฯ จำนวน 25,643,776 ครั้ง เป็นเงินทั้งสิ้น 46,500 ล้านบาท
นอกจากนี้ ในกลางปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 (1 กรกฎาคม 2550) กรมบัญชีกลางได้นำระบบการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRGs) มาใช้ เพื่อให้การรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐประเภทผู้ป่วยในเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สถานพยาบาลใช้ทรัพยากรในการรักษาอย่างคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย เกินความจำเป็น และผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยมาตรฐานที่เท่าเทียมกัน ซึ่งจากการดำเนินการที่ผ่านมาพบว่าสถานพยาบาลปรับปรุงการลงรหัสโรคให้ถูกต้อง และให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันกรมบัญชีกลางได้รับข้อมูลการเบิกจ่าย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และจากข้อมูลดังกล่าวพบว่าโรงพยาบาลไม่ได้รับผลกระทบด้านงบประมาณในภาพรวม จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยในช่วงระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2550 — 31 มีนาคม 2551 พบว่ามีการเบิกจ่ายผู้ป่วยในทั้งสิ้น 8,742 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 8
สำนักมาตรฐานค่าตอบแทน และสวัสดิการ กรมบัญชีกลาง
โทร 0-2298-6823
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 26/2551 11 เมษายน 51--